svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

แม่น้ำสายที่ 4 กมธ.ยกร่าง รธน.

21 ตุลาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หัวใจสำคัญของการปฏิรูปประเทศ ภายใต้การนำของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังเดินหน้าตามโรดแมป เข้าสู่แม่น้ำสายที่ 4 คือ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดว่าในอนาคตประเทศไทย จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหรือไม่ จากโฉมหน้าของบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่ ติดตามได้จากรายงานชิ้นนี้

หลังจากสภาปฏิรููปแห่งชาติ ได้ประธาน และรองประธาน เป็นที่เรียร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือแม่น้ำสายที่ 4 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรนูญ 36 คน ที่มาจากสภาปฏิรูป 20 คน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครม.และ คสช.ฝ่ายละ 5 คน บวกประธานกรรมาธิการยกร่างอีก 1 คนที่ถูกเสนอชื่อโดย คสช.
ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 กำหนดหลักเกณฑ์ในการเฟ้นหากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเปิดประชุมสปช.ครั้งแรก 21 ตุลาคม ซึ่งจะไปสิ้นสุดในวันที่ 4 พ.ย.นี้ ด้วยเวลาที่จำกัดจึงทำให้ส่วนต่างๆ ต้องเร่งเสนอรายชื่อผู้เหมาะสมเข้ามาทำหน้าที่ และมีรายชื่อบุคคลที่ถูกคาดหมายเรียบร้อยแล้ว
เริ่มจากโควต้าของ คสช.ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการเสนอชื่อประธานกรรมาธิการยกร่างล่าสุดได้ทาบทาม บวรศักดิ์ อุวรรณโณ สปช.ด้านการเมือง เข้ามาทำหน้าที่ โดยมีแกนนำในสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นคนกลางในการเจรจา และได้รับคำตอบรับจาก บวรศักดิ์เรียบร้อยแล้วว่า พร้อมจะนั่งเป็นประธาน กมธ.ยกร่าง เพราะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งใน สปช. ที่จับเรื่องปฏิรูปมาตลอด จึงถูกวางตัวให้เข้ามาทำงานนี้ส่วนกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในโควตาคณะรัฐมนตรี และ คสช. ขณะนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ทาบทามบุคคลและมีรายชื่อในใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ที่น่าสนใจมีชื่อของ สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีธรรมศาสตร์ กับ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการสรรหา สปช.ด้านการเมือง รวมถึง บรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ นิด้า ที่หลุดโผ สปช.ในโค้งสุดท้าย จะถูกเสนอชื่อเข้ามายกร่างรัฐธรรมนูญ
สำหรับโควตา สปช. 20 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนมากที่สุด มีการทาบทาบและถูกคาดหมายว่าจะได้รับการเสนอชื่อ อย่าง นันทวัฒน์ บรมานันท์ อ.คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / จรัส สุวรรณมาลา อ.คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ / เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต ส.ว / ถวิลวดี บุรีกุล -วุฒิสาร ตันไชย จากสถาบันพระปกเกล้า / เสรี สุวรรณภานนท์ อดีตส.ส.ร.ปี 40 / ชาติชาย ณ เชียงใหม่ อ.คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จาก นิด้า และที่น่าจับจา กลุ่ม 40 ส.ว. เตรีมเสนอชื่อ คำนูณ สิทธิสมาน กับ ไพบูลย์ นิติตะวัน ที่ทั้งคู่ลังตัดสินใจ เพราะหากรับเป็นกรรมาธิการยกร่าง จะทำให้ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตามที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนด
หัวใจสำคัญของกรรมาธิการชุดนี้ คือการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ ก่อนเสนอให้ สปช.และ สนช.ให้ความเห็นชอบ และยังปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไป ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะประกาศใช้ในปี 2558 ก่อนจะนำไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่ จึงน่าสนใจว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะตอบโทจย์ความเป็นประชาธิปไตยในยุุคปฏิรูประเทศ หรือ จะถอยหลังเข้าคลอง

logoline