svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

อภิสิทธิ์ เสนอ 3 รูปแบบ อปท.ท้องถิ่นทศวรรษหน้า ระดับใหญ่-ระดับพื้นที่-เมืองพิเศษ

20 กันยายน 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สงขลา - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เสนอ 3 รูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทศวรรษหน้า ระดับใหญ่-ระดับพื้นที่-เมืองพิเศษ แบ่งภาระกิจชัดเจน ยืนยันไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องมากำหนดว่าท้องถิ่นในทุกพื้นที่ต้องมีรูปแบบเดียวกัน

เวลา 09.00 น. วันที่ 20 ก.ย. ณ ห้องตะกั่วป่า โรงแรมหรรษา เจ.บี. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา จัดให้มีการเสวนา "วิสัยทัศน์การปกครองท้องถิ่นในทศวรรษหน้า"  โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน โดยมีการบรรยายพิเศษ "การปกครองท้องถิ่นในทศวรรษหน้า" ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี  ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจ.สงขลาเข้าร่วมประมาณ 1,000 คน
                 นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทิศทางของการกระจายอำนาจ และการพัฒนาท้องถิ่นควรจะเป็นอย่างไร  แน่นอนส่วนหนึ่งคิดว่าเราเคยมีรัฐธรรมนูญ เรามีกฎหมาย เกี่ยวกับแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจ มีการจัดทำแผน มีการกำหนดเป้าหมาย อีก 10 ปีข้างหน้า ทศวรรษหน้า ก็เพียงแค่ผลักดันที่มีอยู่แล้วก็น่าจะพอ ซึ่งคิดแบบไม่ได้ เพราะการต่อสู้ที่ผ่านมาและการต่อสู้ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ถ้ายังคิดอยู่ในกรอบ และสู้ในรูปแบบเดิม เราก็ไม่สามารถที่คาดหวังความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมได้ยาก
เพราะฉะนั้นสิ่งที่แรกที่อยากจะนำเสนอก็คือ ทิศทางสำหรับท้องถิ่นข้างหน้า ประการแรก เราต้องมีหลักการที่ชัดว่าแม้แต่คำว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง ก็ต้องจัดทำใหม่  โดยมี 2 มิติที่อยากเสนอ มิติแรก็คือ ระดับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเราต้องมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน ทำบริการพื้นฐานง่ายๆ ดูแลความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน เช่น สาธารณูปโภคขึ้นพื้นฐานที่ไม่ใช่ขนาดใหญ่ นั่นก็หมายถึง อบต. หรือเทศบาลก็ต้องดำเนินการ
                 และถ้าเราหวังที่จะให้อำนาจจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคมาอยู่กับผู้แทนของประชาชนในท้องถิ่นจริง เราก็ต้องก็ต้องมีท้องถิ่นขนาดใหญ่ ซึ่งง่ายที่สุดก็คือ ระดับจังหวัด ที่ต้องมีอำนาจมากกว่าในปัจจุบันมากพอสมควร และสามารถทำหน้าที่ในการแก้ปัญหาการเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่นในพื้นที่ ผมจึงคิดว่าหลักการณ์นี้ควรจะได้รับการยืนยันจากท้องถิ่น 
                 "มิฉะนั้นแล้วก็จะเกิดความเข้าในว่าท้องถิ่นควรมีท้องถิ่นประเภทเดียว แบ่งเป็นขนาดๆ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง ซึ่งไม่ใช่   เพราะต้องเข้าใจว่าการทำงานของท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ ยังมีงานที่เป็นงานระดับท้องที่ กับมีงานที่เป็นอำนาจของของท้องระดับใหญ่"
                  อีกมิติคือพื้นที่ในประเทศไทยยังมีความหลากหลาย พื้นที่เมืองก็ต้องการรูปแบบตัวแทนและท้องถิ่นแบบหนึ่ง พื้นที่ชนบทก็ต้องการอีกแบบหนึ่ง ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องมากำหนดว่าท้องถิ่นในทุกพื้นที่ต้องมีรูปแบบเดียวกัน  นี่คือหลักการณ์ที่ในอนาคตจะต้องไปดูหลักการณ์ให้ชัดเจน  แต่ถ้า จะใช้หลักการณ์นี้ ผมคิดว่ามันมี 3 ประเด็น
1.ให้ท้องถิ่นขนาดใหญ่สามารถรับโอนอำนาจมาจาก ส่วนภูมิภาค และส่วนกลาง ถ้าไปไกลสุดทางกลุ่มนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือถ้าจะคิดไกลไปกว่านั้นก็ถึงขั้นไม่มีราชการส่วนภูมิภาค แต่ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องไปติดยึดกับคำว่าเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมี หรือไม่มีราชการส่วนภูมิภาค  เพราะจะมีการถกเถียงแล้วเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้น
สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ได้เป็นรูปธรรมมากที่สุด ง่าย และก็ทำได้มากที่สุดก็คือ ถือว่าท้องถิ่นขนาดใหญ่ยึดแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อปจ.) แล้วค่อยๆโอนอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบัน หรืออำนาจราชการในส่วนกลางมาให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และถามว่าการทำอย่างนี้จะมีเรื่องความยุ่งยากซับซ้อน และต้องเขียนกฎหมายกันอย่างไร
บอกได้เลยว่าวันนี้ เรื่องเหล่านี้มันมีอยู่แล้ว แนวคิดที่มาจากคณะกรรมการปฏิรูปในอดีตที่ใช่คำว่า จังหวัดจัดการตนเอง ปกครองตนเอง มันถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นภาพของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เช่น งบประมาณจะแบ่งกันอย่างไร ภาระกิจจะแบ่งกันอย่างไร ที่มาของผู้บริหารสูงสุดจะมาอย่างไร สภามีรูปแบบหน้าตาเป็นอย่างไร กระบวนการตรวจสอบเป็นอย่างไร   ฉะนั้นคิดว่าเพียงแต่หยิบเอาร่างกฎหมายในอดีตขึ้นมา มาทำให้สมบูรณ์ การผลักดันให้เกิดท้องถิ่นในระดับใหญ่ คือระดับจังหวัดที่มีความสมบูรณ์แบบเกิดขึ้นได้            2.ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของท้องถิ่นในระดับพื้นที่ เช่น งบประมาณขาดประสิทธภาพ เพรระว่าโครงสร้างงบประมาณประจำกลายเป็นสัดส่วนที่สูง 80-90 เปอร์เซ็นต์  ปัญหาหาว่าโดยธรรมชาติหลายพื้นที่มีการพัฒนามีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จาดสภาพชนบทมาเป็นสภาพเมือง ที่เราคาดหมายในอนาคตคือสัดส่วนประชากรที่จะอยู่ในชุมชนเมือง สังคมเมือง จะเพิ่มขึ้น  โจทย์ที่สำคัญคือ เราต้องมีกระบวนการที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของท้องถิ่นในระดับพื้นที่ การควบรวมหรือ การเปลี่ยนแปลงเขตขององค์กรปกครองท้องถิ่น ทำอย่างไรที่จะทำให้ง่ายขึ้น
                   เช่น เทศบาลควรจะขยายพื้นที่มั๊ย ควรจะรวมอบต.กับเทศบาลมั๊ย มันจะเกิดขึ้นโดยมีกระบวนการทางการเมืองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องออกแบบอยู่ในกฎหมายแบบแข็งตัว  และค่อยมาปรับแก้อยู่ตลอดเวลา
                  3.ถึงเวลาที่เราจะต้องใช้ท้องถิ่นรูปแบบ และเงื่อนไขพิเศษมากขึ้น  ปัจจุบันเรามีกรุงเทพฯ มีพัทยา ซึ่งพูดตามตรงระยะหลังผมดู ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากเทศบาลมากนัก  แต่พื้นที่พิเศษที่มีอยู่ ยกตัวอย่าง เช่นพื้นที่ที่ควรจะมารับผิดชอบการค้าชขายแดน ที่จะมาบริหารการค้าชายแดน เขตเศรษฐกิจพิเศษ ต้องทำ และยืนยันว่า แนวคิดเรื่องนี้มีต้นแบบ คือ ร่างกฎหมายซึ่งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ได้เคยเสนอไว้ คือ พื้นที่แม่สอด
ที่จะควบรวมเทศบาลแม่สอดและมีการเขียนกฎหมายในรูปแบบใหม่  เพียงแค่รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกา โดยไม่ต้องไปแก้กฎหมายเดิมของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ก็สามารถโอนอำนาจมาให้กับท้องถิ่นพิเศษได้  เราอาจจะมีรูปแบบนี้สำหรับท้องถิ่นที่บริหารงานการค้า และเศรษฐกิจชายแดน  หรือเราอาจจะมีอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับเมืองท่องเที่ยว  เราอาจจะมีอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับมหานคร หรือเมืองที่มีความแออัดสูง เราอาจจะมีอีกรูปแบบที่ประชากรแฝงจำนวนมาก
"ถ้าเรามองโครงสร้างของท้องถิ่นแบบนี้ คือ มีท้องถิ่นขนาดใหญ่ มีท้องถิ่นระดับพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่น ปรับเข้ากับสถานการณ์ และ 3 เรามีท้องถิ่นพิเศษ เราจะมีภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครอบคลุมสมบูรณ์แบบ แล้วพร้อมจะรองรับการโอนงานจากราชการส่วนภูมิภาค และส่วนกลางได้ เชื่อว่าร่างกฎหมายและแนวคิดอย่างนี้มีอยู่แล้ว ปัญหาที่มีอยู่วันนี้คือเจตนารมย์ทางการเมืองว่าจะทำหรือไม่ทำ"
ซึ่งเป็นหน้าที่ของท้องถิ่นที่จะสะท้อนความต้องการนี้ไปยังกระบวนการปฏิรูป ก็คือ สภาปฏิรูป สนช.และคณะรัฐมนตรี หรือแม้แต่ คสช. รวมทั้งพรรคการเมืองต่างๆที่จะต้องเข้ามามีบทบาท เพราะมีโครงสร้าง วิสัยทัศนที่ชัดเจน  ส่วนข้อห่วงใยที่สังคมมีต่อปัญหาการทำงานของท้องถิ่น เช่น ปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น หรือการใช้อำนาจ ไปในทางที่ไม่ชอบที่เกิดขึ้น  ผมก็มีข้อเสนอในประเด็นนี้เช่นเดียวกัน      คือการกำกับและดูแลท้องถิ่นในปัจจุบันที่มองไปที่ กรม ไปที่มหาดไทย ไปที่องค์กรอิสระ ไปที่สตง. มันไม่น่าจะเป็นรูปแบบที่ดีที่สุด ในแง่ของสร้างธรรมมาภิบาล  สิ่งที่เราต้องเชื่อว่า คนที่จะตรวจสอบท้องถิ่นได้ดีที่สุด ไม่ใช่ราชการ แต่เป็นประชาชน เพราะฉะนั้นสิ่งที่สนับสนุน คือ เราควรจะมีตรากฎหมายเกี่ยวกับการทำงานของท้องถิ่น ให้เกิดการตรวจสอบ ถ่วงดุลย์ มาตรฐานความโปร่งใส  มาตรฐานของธรรมาภิบาลที่ชัดเจน  "สถาพระปกเกล้าเคยยกร่างกฎหมายลัษณะนี้ แต่ผมจำชื่อพรบ.ไม่ได้ เนื่องจากตอนหลังมีการปรับเปลี่ยน  ผมอยากให้มีกฎหมายที่มีเฉพาะส่วนท้องถิ่น ที่จะต้องกำหนดไปเลยว่า ที่เรากระจายอำนาจและมีท้องถิ่นกว่า 10,000 หน่วย เราไม่ต้องการจะสร้างระบบราชการขึ้นมาใหม่ แต่เราต้องการให้ท้องถิ่นทำงานร่วมกับประชาชน เพราะฉะน้ันกติกา ความโปร่งใส เกี่ยวกับการอนุมัติ อนุญาต กติตา เกี่ยวกับการเปิดเผยการใช้เงินงบประมาณในโครงการพัฒนาต่างๆ จะกระจายอย่างไร  กติกาเกี่ยวการผลักดันโครงการต่างๆว่าจะต้องรับฟังความคิดเห็นเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม แสดงความเห็นอย่างไร ทำเป็นเป็นกฎหมายขึ้นมา"  เพื่อให้ฝ่ายที่กังวลว่า กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นแล้ว จะมั่นใจได้อย่างไรว่า ท้องถิ่นจะบริหารงานอย่างซื่อสัตย์ และตอบสนองความต้องการของประชาชน กฎหมายฉบับนี้จะเป็นตัวกำหนดให้เกิดมาตรฐานที่จะทำให้เกิดความชัดเจน ผมยังเสนออีกว่ามีกลไก นอกเหนือจากสภาท้องถิ่นมาช่วยติดตามการทำงานของท้องถิ่น จะเรียกว่าสภาพลเมือง สภาประชาชน หรืออะไรก็ได้  เพียงแต่มีเงื่อนไขว่า ใครที่จะมาอยู่ในสภาเหล่านี้ห้ามมาเป็นนักการเมือง  ผมว่าถ้าเราทำกฎหมายฉบับนี้ได้เราจะสร้างความมั่นใจให้กับท้องถิ่นได้                   นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แต่ลำพังเพียงกฎหมายก็ไม่พอ แต่ท้องถิ่นในการจะก้าวเข้าสู่การปรับปรุง หรือการปฏิรูปในทศวรรษหน้า ต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน และวัฒนธรรมในการทำงาน 1.การเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด 2.ต้องยอมรับว่าการทำงานของท้องถิ่นในภาพรวมมันจะต้องมีการทำงานลักษณะของความร่วมมือกับท้องถิ่นอื่นบ้าง กับกระทรวง ทบวงกรม บ้าง หรือแม้กระทั่ง ความร่วมมือในทางการเมืองด้วย  ซึ่งตรงนี้ต้องสร้างให้เป็นวัฒนธรรม  

logoline