svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

4 ปัจจัยเร่ง "บิ๊กเขมร" เยือนไทย คสช.ขอถกปม "จารุพงศ์-จักรภพ"

29 กรกฎาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สปอตไลต์ทุกดวงโฟกัสการเยือนไทยของบิ๊กๆ ทหารในกองทัพกัมพูชา นำโดย พล.อ.เตีย บันห์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา พล.อ.เนียง พาด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา พล.อ.เมี๊ยะ โซะเพย รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบกกัมพูชา พล.ร.อ.เตีย วิญ ผู้บัญชาการทหารเรือกัมพูชา พล.อ.อ.เซิง ซอมนาง ผู้บัญชาการทหารอากาศกัมพูชา และพล.ท.ฮุน มาเน็ต รองผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสากล กระทรวงกลาโหมกัมพูชา ที่ยกคณะมาพบกับ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรองหัวหน้าคสช. และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคสช.พล.อ.เตีย บันห์ ให้สัมภาษณ์ว่า กัมพูชาได้มีการติดตามสถานการณ์ในประเทศไทยอย่างตลอดเวลา และได้รับทราบข้อมูลข่าวสารทุกอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางด้านการเมือง หรือทางด้านการเมือง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านอื่น ๆ ซึ่งทุกอย่างก็ดำเนินการแก้ไขไปด้วยดี ต้องยอมรับว่า คสช.แก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจนในทุกเรื่อง จนทำให้ปัญหาลุล่วงไปได้ด้วยดี ต้องขอชมเชย และมีความยินดีมากที่สุด ที่คสช. และกระทรวงกลาโหม ได้เชิญให้คณะรัฐบาลของกัมพูชาเดินทางมาเยือนประเทศไทย นายทหารระดับสูงในกองทัพเผยถึง "เบื้องหลัง" ที่ทำให้นายทหารระดับสูงทั้งกองทัพกัมพูชายกคณะมาเยือนไทยในครั้งนี้ว่า มาจากเหตุผลหลัก 4 ประการ คือ 1. รัฐบาลกัมพูชาเกรงว่า เหตุการณ์ในประเทศจะมีความวุ่นวายจนทหารต้องเข้ามาควบคุมสถานการณ์เหมือนที่คสช.เข้ามายึดอำนาจรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยเฉพาะแรงกระเพื่อมที่มี "แรงงานกัมพูชา" อพยพกลับประเทศร่วม 2 แสนคนในช่วงที่คสช.เข้ามา ทำให้ นายสม รังสี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านใช้เป็นเงื่อนไขโจมตี สมเด็จ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาอย่างรุนแรงรัฐบาลกัมพูชาจึงต้องการกระชับสัมพันธ์กับไทย เพื่อสยบแรงกระเพื่อมจากภายนอกประเทศ ขณะที่ในประเทศก็ใช้แนวทาง "ปรองดอง" กับ นายสม รังสี จนประสบผลสำเร็จมาแล้วสมเด็จ ฮุน เซน ยังต้องการให้ลูกชาย คือ  พล.ท.ฮุน มาเน็ต รองผบ.ทบ. และผบ.หน่วยองครักษ์ประจำตัวนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นทายาททางการเมืองได้มาเรียนรู้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศ โดยให้ พล.อ.เตีย บันห์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ซึ่งมีสายสัมพันธ์อันดีกับกองทัพไทยเป็น "พี่เลี้ยง" ให้ โดย พล.ท.ฮุน มาเน็ต ให้สัมภาษณ์เพียงสั้นๆ ว่าการเดินทางมาเยือนไทยในครั้งนี้ สมเด็จฮุน เซน มอบหมายให้ พล.อ.เตีย บันห์ เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลกัมพูชาเดินทางมาเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของไทยเท่านั้น แต่ สมเด็จฮุน เซน ได้ฝากความห่วงใยมาถึงประเทศไทย และอยากให้เดินหน้าแก้ไขปัญหาให้สำเร็จตามนโยบายของคสช.ต่อไป 2. รัฐบาลกัมพูชาต้องการเข้ามาหารือเรื่อง "เขาพระวิหาร" หลังจากที่มีคำตัดสินของศาลโลกออกมา ซึ่งกัมพูชาก็ไม่ให้เกิดการปะทะกัน และนำไปขยายผลไปสู่การเมืองภายในประเทศที่สำคัญ กัมพูชาต้องการใช้ความเป็น "ทหาร" ที่พูดจา "ภาษาเดียวกัน" แก้ปัญหา โดยจะเห็นได้ว่า การเดินทางมาครั้งนี้ได้นำผู้นำกองทัพเดินทางมาร่วมคณะทั้งหมด ทั้งรมว.กลาโหม ,รมช.กลาโหม ,ผบ.สส. และผบ.ทบ. ,ผบ.ทร. และผบ.ทร. รวมทั้งรองผบ.ทบ. ซึ่งเป็นบุตรชายของผู้นำกัมพูชา3. ทางไทยต้องการพูดคุยเรื่องการเคลื่อนไหวของ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายจักรภพ เพ็ญแข ที่มีข่าวว่า ใช้ "โรงแรม" ในฝั่งเพื่อนบ้านเคลื่อนไหวโจมตีการบริหารงานของคสช. และยังใช้ "พาสปอร์ต" ของประเทศเพื่อนบ้านเดินทางไปต่างประเทศด้วยนอกจากนี้ ยังเป็นการรื้อฟื้นความสัมพันธ์หลังจากที่กัมพูชาปล่อยตัว นายวีระ สมความคิด แลกกับ 14 แรงงานชาวกัมพูชาที่ถูกหลอกมาทำงานในไทย 4. รัฐบาลกัมพูชาไม่ต้องการ "ตกขบวน" ในการสร้างสัมพันธ์กับไทย เนื่องจากมหาอำนาจในเอเชีย โดยเฉพาะ "จีน" ที่มีบทบาทอย่างสูงกับกัมพูชากระตือรือร้นที่จะสานสัมพันธ์กับไทย รวมทั้งชาติอย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และชาติพันธมิตรในอาเซียนก็ให้การสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในเวทีต่างประเทศของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. จากเหตุผลทั้ง 4 ประการข้างต้นแสดงให้เห็นว่า หลังจากนี้ความสัมพันธ์ไทย - กัมพูชา น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ลุ่มๆ ดอนๆ มาตลอดในรอบหลายปีที่ผ่านมา

logoline