svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

กินอย่างไร ท้องไม่ผูกในผู้สูงอายุ

22 ธันวาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หากถามผู้ดูแลผู้สูงอายุ ว่าอะไรเป็นปัญหากวนใจเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุ รับรองได้ว่า "ท้องผูก" จะเป็นคำตอบอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายที่ต้องจัดการกันในแต่ละวัน รู้หรือไม่ ยิ่งอายุมากขึ้นโอกาสท้องผูกก็ยิ่งมากขึ้น และผู้หญิงมักมีปัญหานี้มากกว่าผู้ชาย ยิ่งถ้าเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานดูแลผู้สูงอายุ พบว่ามีภาวะท้องผูกสูงถึง 80%

อย่างไรจึงเรียกว่าท้องผูก

หากมีอาการอย่างน้อยสองในสามข้อถือว่ามีอาการท้องผูก ต้องหาทางแก้ไข

1. ขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า3 ครั้งใน 1 สัปดาห์
2. อุจจาระแข็ง หรือจับเป็นก้อน
3. ขับถ่ายยาก หรือขับถ่ายเองไม่ได้ต้องให้ช่วยบ่อยๆ เป็นเวลากว่า 6 เดือน


วิธีแก้ไขการท้องผูกเบื้องต้น

การท้องผูกก็เหมือนการที่มีเศษอาหารเกาะกันแน่น ค่อนข้างแห้ง ในท่อน้ำทิ้งของอ่างล้างจานจึงอุดตัน หากไม่รุนแรงมากนักเราสามารถที่จะพยายามช่วยให้เศษอาหารเคลื่อนเหล่านี้เคลื่อนไปได้ด้วยการทำให้เศษอาหารเหล่านี้ชุ่มน้ำ และ ช่วยให้ท่อขยับบีบตัวเศษอาหารที่อุดตัน ก็จะค่อยๆออกมา การแก้ไขการท้องผูกเบื้องต้นทำได้โดยการปรับเรื่องน้ำ ใยอาหาร และการเคลื่อนไหวร่างกายดังนี้

1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ:

ผู้สูงอายุมักเลี่ยงไม่ค่อยดื่มน้ำอาจเพราะเข้าห้องน้ำเองไม่สะดวก จึงคิดเอาเองว่ากินน้ำให้น้อยลงซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อร่างกาย การถ่ายยากหรือท้องผูก เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ

ข้อแนะนำ :

โดยทั่วไปผู้สูงอายุควรดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน หรือ 1.5-2 ลิตร(ยกเว้นผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว หรือไตวายที่ต้องจำกัดน้ำ)ควรมีขวดใส่น้ำที่บอกปริมาตรไว้ประจำตัว เพื่อที่จะได้รู้ว่าในแต่ละวันดื่มน้ำเพียงพอหรือไม่ และควรเตรียมความสะดวกในการปัสสาวะ ไม่ให้เดินไกลเกินไปหรืออาจใส่กางเกงอนามัย เพื่อลดปัญหาการไม่ชอบเข้าห้องน้ำ

กินอย่างไร ท้องไม่ผูกในผู้สูงอายุ

2. กิน"ใยอาหาร" ให้เพียงพอ :

ใยอาหารมีหลากหลายแต่ใยอาหารชนิดละลายน้ำเป็นชนิดที่ช่วยให้ขับถ่ายได้ดีเพราะอุ้มน้ำทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม เคลื่อนตัวได้ง่าย เช่น ใยอาหารจากผลไม้เช่นลูกพรุน แอบเปิ้ล กล้วย ส้ม ข้าวโอ๊ต ถั่ว เป็นต้น

รู้จักใยอาหารชนิดพิเศษที่ช่วยเรื่องการขับถ่าย

ใยอาหารที่มีชื่อเฉพาะว่า "พรีไบโอติกส์" (Pre-biotics) ได้แก่ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์(สายสั้น) และ อินนูลิน(สายยาว) เป็นใยอาหารละลายน้ำที่มีคุณสมบัติพิเศษคือช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ (จุลินทรีย์สุขภาพคือจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ ที่ช่วยกำจัดจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีที่ก่อให้เกิดโรค)ทำให้ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายและเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายไปพร้อมๆกัน

3. กินอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพหรือที่เรียกว่า "โพรไบโอติกส์" :

ระบบทางเดินอาหาร(ลำไส้เล็ก-ลำไส้ใหญ่) นอกจากจะเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการย่อย-ดูดซึม-ขับถ่ายแล้วยังเป็นอวัยวะภูมิคุ้มกันขนาดใหญ่ของร่างกายอีกด้วยเพราะคนเราจะติดเชื้อโรคได้หลักๆ อยู่ไม่กี่ทาง เช่น การหายใจเอาเชื้อโรคเข้าไปและการกินอาหารแล้วมีเชื้อโรคแฝงเข้าไปด้วย และการติดเชื้อจากอาหารนี่แหละที่ทำให้ระบบขับถ่ายเรามีปัญหา ซึ่งการได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (โพรไบโอติกส์ ; Pro-biotics) จะช่วยให้สุขภาพลำไส้ดีขึ้นได้

แล้วจุลินทรีย์สุขภาพช่วยเรื่องขับถ่ายและระบบภูมิคุ้มกันได้อย่างไร

จุลินทรีย์สุขภาพ(โพรไบโอติกส์) จะส่งเสริมสุขภาพและการทำงานของลำไส้ใหญ่โดยการกินใยอาหารชนิดพิเศษในข้อ 2 ที่เรียกว่า พรีไบโอติกส์ เป็นอาหารแล้วผลิตสารให้พลังงานแก่เซลล์ลำไส้ขึ้นมาเมื่อเซลล์ลำไส้ได้พลังงานเพิ่มเติมจึงทำหน้าที่ขับถ่ายและป้องกันเชื้อโรคได้ดีกระบวนการนี้จะช่วยปรับสมดุลในลำไส้ ช่วยกำจัดจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีที่ก่อให้เกิดโรคให้ลดลงได้อีกด้วย

แต่พอสูงอายุจำนวนจุลินทรีย์สุขภาพจะลดลงไปอย่างมากทำให้ลำไส้ไม่แข็งแรง

เมื่อสูงอายุเราควรเสริมจุลินทรีย์สุขภาพ เนื่องจากมีรายงานวิจัยพบว่า จุลินทรีย์ชนิดแล็คโทบาซิลลัส พาราคาเซอิ มีส่วนช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรงโดยผู้สูงอายุที่ได้รับอาหารที่มีทั้งจุลินทรีย์สุขภาพ แล็คโทบาซิลลัส พาราคาเซอิและใยอาหารชนิดพิเศษที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดนี้มีสุขภาพที่แข็งแรงและพบการติดเชื้อน้อยกว่า ดังนั้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีการขับถ่ายและภูมิคุ้มกันที่ดีจึงควรเสริมด้วยอาหารที่มีทั้งจุลินทรีย์สุขภาพ (โพรไบโอติกส์ ; Pro-Biotics) และใยอาหารชนิดพิเศษ พรีไบโอติกส์ (Pre-biotics) คู่กัน

4. จัดตารางเวลาเข้าห้องน้ำและออกกำลัง:

นอกจากเรื่องอาหารแล้วพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการเคลื่อนไหว เป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อการแก้ไขท้องผูก

ข้อแนะนำ :

ควรจัดตารางเวลาเข้าห้องน้ำและออกกำลังให้เป็นกิจวัตรประจำวันยกตัวอย่างเช่น จัดเวลาเข้าห้องน้ำเวลาเดิมเป็นประจำทุกเช้าและเย็น (แม้ว่าไม่ปวด) ในระหว่างวัน ให้เดินหรือออกกำลังกายเบาๆ (เช่น โยคะ ไทชิ) ประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนมื้อว่าง ที่ประกอบด้วยเครื่องดื่มร้อน(ไม่มีคาเฟอีน)และของว่างพวกผลไม้หรือธัญพืชนิ่มๆ ก่อนนอนให้ดื่มอาหารเสริมที่มีใยอาหารเป็นต้น

5. ดูแลอาหารให้เหมาะสมและเพียงพอ:

ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่ได้มีปัญหาท้องผูกเพียงอย่างเดียวแต่ปัญหาอื่นๆร่วมด้วย เช่นมีปัญหาการเคี้ยว ไม่สามารถกินผักผลไม้ปกติได้ต้องควบคุมน้ำตาล/ไขมัน มีภาวะน้ำหนักลดหรือกล้ามเนื้อลีบร่วมด้วยควรพิจารณาอาหารเสริมที่มีสารอาหารเหมาะสมกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ที่เรียกว่า "อาหารสูตรครบถ้วน"ที่มีโปรตีนสูง เป็นโปรตีนคุณภาพดี น้ำตาลไม่สูง มีไขมันที่ดีพร้อมกับใยอาหารและพรีไบโอติกส์ก็จะช่วยตอบโจทย์สุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างครบถ้วน

อาหารสูตรครบถ้วนคืออะไร?

อาหารสูตรครบถ้วนคือ การนำอาหารทั้ง 5 หมู่ มาทำในรูปแบบผง ชงทานง่ายมีการคำนวณปริมาณสารอาหารให้สมดุลตามหลักทางการแพทย์ ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรตไขมันที่ดี วิตามินเกลือแร่ ที่จำเป็นและเพียงพอต่อร่างกาย ผสมเข้ามาไว้ด้วยกันผู้สูงอายุทั่วไปสามารถชงดื่มเสริมมื้ออาหารปกติได้เมื่อทานอาหารได้น้อยและไม่เพียงพอหรือแม้กระทั่งชงดื่มทดแทนอาหารมื้อที่ขาดหายไปได้

เลือกอาหารสูตรครบถ้วนอย่างไร?

อาหารสูตรครบถ้วนที่ดีนอกจากจะมีปริมาณสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุแล้วคุณภาพของสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบก็เป็นปัจจัยที่ควรคำนึงถึงเช่นกัน เนสท์เล่ โดย Nestle Health Science เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่ศึกษาอาหารทางการแพทย์ที่ถูกหลักโภชนาการออกมาให้ผู้สูงอายุทั่วไปรับประทานรสชาติอร่อย ทานง่าย ชงง่าย ดูดซึมง่าย

สูตรเฉพาะของเนสท์เล่คัดสรรวัตถุดิบที่ดีให้กับผู้บริโภค*เช่น เลือกใช้เวย์โปรตีนโปรตีนคุณภาพสูง, เพิ่มทั้งจุลินทรีย์สุขภาพโพรไบโอติกส์ และ ใยอาหารชนิดพิเศษ พรีไบโอติกส์, มีวิตามินอีสูง และมีวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญอื่นๆ รสชาติอร่อย จึงไม่เพียงแต่มีสารอาหารครบถ้วน 5 หมู่ และเพียงพอต่อความต้องการ แต่มีส่วนประกอบที่โดดเด่นเพิ่มเติมสามารถดื่มเสริมวันละ 1-2 แก้วระหว่างอาหารปกติมื้อหลักได้ง่ายๆได้รับการยอมรับและใช้จริงจากแพทย์ในโรงพยาบาลชั้นนำทั้งในและต่างประเทศผลิตจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ให้คุณมั่นใจได้ด้วยสินค้าคุณภาพจากเนสท์เล่

สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมคลิกที่นี่ >> https://goo.gl/DyWW9y <<

หรือติดต่อบริษัทเนสท์เล่ในวันและเวลาทำการปกติที่เบอร์โทรศัพท์ 02-657-8582
(โทรติดต่อเพื่อสั่งซื้อสอบถามถามข้อมูล หรือขอตัวอย่างสินค้า)


*ขึ้นกับแต่ละสูตร

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1. Brenda G. Schuster, Lynette Kosar, RejinaKamrul Constipation in older adults Stepwise approach to keep things moving.Can Fam Physician. 2015 Feb; 61(2): 152158.
2. Daniel Bunout et. al. Effects of anutritional supplement on the immune response and cytokine production infree-living Chilean elderly. Journal of Parenteral and Enteral Nutrition.2004;28(5):348-354
3. Glenn R. Gibson, Emily R. Beatty, Xin Wangand John H. Cummings. Selective stimulation of bifidobacterial in the humancolon by oligofructose and inulin. Gastroenterology. 1995;108:975-982
4. ชนิพรรณ บุตรยี่. การเพิ่มการบริโภคพืช ผัก ผลไม้. ฉบับปรับปรุง กุมภาพันธ์ 2557. โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
5.
Designed by Freepik http://www.freepik.com/free-photo/close-up-of-glass-of-water_945051.htm
6.
Designed byFreepik http://www.freepik.com/free-photo/senior-couple-joking-and-laughing_857946.htm

logoline