svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ท่องเที่ยว

พบ "เลียงผา" ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หนาวนี้ที่จังหวัดเลย

07 ธันวาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พบเลียงผาซึ่งเป็นสัตว์ที่พบเจอยาก เพราะเป็นสัตว์ที่ขี้ระแวง ระวังตัวสูง บริเวณ ผาเตลิ่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย

เมื่อวันที่ 4 ธค นี้ ทางททท. ส่วนกลางได้นำสื่อมวลชน แนะนำการท่องเที่ยวจังหวัดเลย ให้กับสื่อมวลชนหลากหลายสื่อ โดยหนึ่งในสถานที่ที่แนะนำนั้นมี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงอยู่ในกำหนดการด้วย

พบ "เลียงผา" ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หนาวนี้ที่จังหวัดเลย


ขณะที่คณะเดินทางโดยมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้เป็นผู้นำทางเพื่อชมพืชพันธุ์เฉพาะถิ่นและสัตว์ป่า ได้เดินทางมาถึงผาเตลิ่นโดยเดินเท้าจากศูนย์รักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ประมาณ 4 กิโล ขณะที่ชมวิวทิวทัศน์อันสวยงามของผืนป่าภูหลวง พร้อมฟังบรรยายจากเจ้าหน้าที่ ก็ได้พบกับ "เลียงผา" ซึ่งเจ้าหน้าที่และสื่อที่มีประสบการณ์ต่างบอกว่า เลียงผา เป็นสัตว์ที่พบเห็นค่อนข้างยาก เพราะเป็นสัตว์ที่มีความระแวงระวังสูงมาก รวมถึงมีความว่องไวและมีขนาดเล็ก หลบหลีกไวมาก ครั้งนี้เป็นครั้งพิเศษที่พบเจอในระยะที่ค่อนข้างใกล้ และออกมาหากินให้เห็นตัวเป็นเวลานาน จึงสามารถเก็บภาพกันได้


เลียงผามีลักษณะคล้ายกับกวางผา ซึ่งเดิมก็เคยถูกจัดให้อยู่สกุลเดียวกันมา (ซึ่งบางข้อมูลยังจัดให้อยู่สกุลเดียวกัน) แต่เลียงผามีขนาดใหญ่กว่า มีลักษณะคล้ายแพะแต่มีรูปหน้ายาวกว่า มีลำตัวสั้นแต่ขายาว ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขางอกยาวต่อเนื่องทุกปี ลักษณะของกะโหลกเมื่อเปรียบเทียบกับกวางผาที่มีกะโหลกโค้งเว้าแล้ว เลียงผามีกะโหลกแบน ขนตามลำตัวจะแปรเปลี่ยนไปตามอายุ, สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และชนิดพันธุ์ มีขนหยาบและไม่เป็น 2 ชั้นเหมือนกวางผา ใต้ตามีต่อมน้ำมันใช้สำหรับถูตามต้นไม้หรือโขดหินเพื่อประกาศอาณาเขต พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินโดนีเซีย จนถึงเอเชียตะวันออก เช่น จีน, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น โดยมักอยู่ตามหน้าผาหรือภูเขาสูง หรือตามเกาะต่าง ๆ กลางทะเล มีความสามารถในการปีนป่ายที่สูงชันได้อย่างคล่องแคล่ว โดยสามารถทำความเร็วในการขึ้นที่สูงได้ถึง 1,000 เมตร ด้วยเวลาเพียง 15 นาที


เลียงผา ถือเป็นสัตว์ที่มีความเก่าแก่ที่สุดในวงศ์ย่อยนี้ โดยปรากฏมาตั้งแต่ยุคไพลโอซีนราว 2-7 ล้านปีมาแล้ว

เลียงผาเป็นสัตว์ชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากปัญหาการโดนล่า ทั้งเพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร นำเขาหรือกระดูกมาตกแต่งบ้านหรือนำมาเป็นยา หรือจะเป็นความเชื่อเรื่องน้ำมันเลียงผา สามารถใช้รักษาแผลจากการพลัดตกเขา อาการกระดูกหัก หรือฟกช้ำ ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย


พบ "เลียงผา" ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หนาวนี้ที่จังหวัดเลย

พบ "เลียงผา" ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หนาวนี้ที่จังหวัดเลย

พบ "เลียงผา" ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หนาวนี้ที่จังหวัดเลย


พบ "เลียงผา" ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หนาวนี้ที่จังหวัดเลย


พบ "เลียงผา" ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หนาวนี้ที่จังหวัดเลย


ในส่วนของสัตว์ป่าหายากนั้น ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงยังมีสัตว์หายากอื่นๆอีกมากเช่น ช้างป่า เก้ง กวาง อีเห็น หมี ค่าง ชะนี ลิง ซึ่งถือว่าเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่อุดมสมบูรณ์กับนานาชนิดสัตว์ทีหนึ่งในประเทศไทย


การเดินป่าในครั้งนี้ยังได้พบกับดอกไม้ กล้วยไม้ พันธุ์ไม้ต่างๆที่หายาก และพบเจอได้ในเฉพาะพื้นที่ ในช่วงหน้าหนาวเท่านั้น เช่น เทียนภูหลวง เอื้องน้ำต้น รวมถึงรอยเท้าไดโนเสาร์


พบ "เลียงผา" ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หนาวนี้ที่จังหวัดเลย



พบ "เลียงผา" ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หนาวนี้ที่จังหวัดเลย


พบ "เลียงผา" ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หนาวนี้ที่จังหวัดเลย


พบ "เลียงผา" ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หนาวนี้ที่จังหวัดเลย


พบ "เลียงผา" ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หนาวนี้ที่จังหวัดเลย



พร้อมทั้งสัมผัสอากาศเย็นบริสุทธ์ ในช่วงหน้าหนาวนี้ได้ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย

พบ "เลียงผา" ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ชูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หนาวนี้ที่จังหวัดเลย

โดยว่าที่ร้อยตรี (ร.ต.) สุรพล ประสมทรัพย์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ได้ชูประเด็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยให้มองถึงการใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ ให้นักท่องเที่ยว เข้ามาท่องเที่ยวอย่างเข้าใจ รู้จัก รักและหวงแหน ผืนป่าภูหลวงนี้ เมื่อมีความเข้าใจ งานอนุรักษ์จากผู้คนและชุมชุนด้านนอกจะได้ช่วยกันดูแลอย่างถูกต้องถูกวิธี โดยการอนุรักษ์ ไม่ใช่การแช่แข็งสิ่งที่มีอยู่ แต่เป็นการนำไปใช้อย่างเข้าใจ และให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับทุกคนในสังคมมากกว่า

logoline