svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

10 กันยายน 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สองชีวิตต่างเผ่าพันธุ์ที่แยกกันไม่ออกว่าเป็น "เพื่อน หรือ ผู้ร่วมงาน " ระหว่างคนกับลิง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะปัตตานีและนราธิวาส ที่มีพื้นที่ติดกับทะเลฝั่งอ่าวไทย ผืนดินเป็นดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การปลูกมะพร้าวเป็นอย่างมาก ทำให้คนที่นี่นอกจากจะประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านชายฝั่งแล้ว ส่วนหนึ่งจะปลูกมะพร้าวซึ่งนอกจากจะเป็นแนวป้องกันลมทะเลและคลื่นยามหน้ามรสุมแล้ว การขายลูกมะพร้าวก็ถือเป็นรายได้หลักอย่างหนึ่ง ที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทั้งปี

แต่จากการที่มะพร้าวมีลำต้นที่สูงชลูด ไม่ต่ำกว่า 10 เมตร การที่จะให้แรงงานคนปีนขึ้นไปเก็บทุกต้นก็คงจะไม่ไหวและฝืนธรรมชาติเกินไป จึงจำเป็นต้องมีตัวช่วยขึ้นมา นั่นคือ " ลิง "
ซึ่งการที่จะได้ลิงที่มีลักษณะเด่นมาเป็นแรงงานปีนเก็บมะพร้าวไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่จะเป็นลิงพันธุ์อะไรก็ได้ที่จะเอามาฝึก จะต้องเป็นลิงกัง หรือลิงหางสั้นเท่านั้น เพราะตัวใหญ่ กล้ามเนื้อเป็นมัดๆ แม้จะมีความดุร้ายเป็นทุนเดิมเพราะเป็นสัตว์ป่า แต่มันก็มีความฉลาดฝึกง่าย ที่สำคัญเขาจะคัดเอาเฉพาะตัวผู้ เพราะมีความแข็งแรงกว่าตัวเมีย

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้


สมัยก่อนคนจังหวัดชายแดนภาคใต้นิยมจับลิงที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี มาฝึก โดยจะทำกรงขนาดใหญ่ไปดักบนเขาใช้กล้วยเป็นเหยื่อล่อ ปัจจุบันก็ยังพอมีการลักลอบดักอยู่บ้างแต่ก็ไม่มาก เพราะทางการกวดขันจับกุม จึงนิยมซื้อลูกลิงจากประเทศเพื่อนบ้านมาฝึก ตัวละประมาณ 3,000 - 5,000 บาท
มีคนเลี้ยงลิงเก็บมะพร้าว เล่าให้ฟังว่า เคยเอาพ่อ-แม่ลิง ที่ตนเลี้ยงอยู่มาผสมพันธุ์กัน แต่พอออกลูก มันไม่ยอมให้ลูกห่างจากตัว ไม่สามารถเอามาฝึกได้ เลยต้องหาลูกลิงที่อื่นมาเลี้ยงอยู่ดี ซึ่งการฝึกลิงต้องฝึกตั้งแต่เล็ก หลายขั้นตอน จนกว่าจะปีนเก็บมะพร้าวได้ ซึ่งลิงที่อยู่ในวัยทำงาน จะอยู่ในวัย 5-10 ปี บางตัวสามารถเก็บมะพร้าวได้ไม่ต่ำกว่า 200-300 ลูกต่อวันเลยทีเดียว

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้


ส่วนอัตราค่าจ้าง และรายได้ของคนเลี้ยงลิงเก็บมะพร้าวมี 2 แบบ คือ รับจ้างนำลิงเก็บมะพร้าวให้เจ้าของสวน และ รับซื้อมะพร้าวไปขายเองโดยใช้ลิง ซึ่งทั้งสองแบบคนรับจ้างจะได้กำไรที่ใกล้เคียงกัน คือ ลูกละประมาณ 3 บาท ปัจจุบันมะพร้าวที่ตลาดรับซื้ออยู่ที่ 10 บาท ดังนั้นการจะได้กำไรในแต่ละวันมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณของมะพร้าว และความขยันของคนกับลิง เป็นสำคัญ

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้


อีกด้านหนึ่งในช่วงพัก หรือเสร็จสิ้นเวลางานในแต่แต่ละวัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับลิง ก็ไม่ต่างจากเพื่อน เจ้าของกินอะไรลิงก็ได้กินอย่างนั้น แต่ไม่นิยมให้มันกินเนื้อเพราะท้องผูกง่าย จึงเปลี่ยนให้กินนนมแทน โดยเฉพาะนมเปรี้ยวลิงจะชอบเป็นพิเศษ
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เจ้าของต้องปฏิบัติต่อลิง คือต้องสางขนให้มัน ฉะนั้นจึงต้องพกหวีตลอดเวลาทำงาน เพราะบางครั้งลิงเก็บมะพร้าวจะเจอต้นที่มีมดแดงเยอะ มันจะถูกกัดจนเสียสมาธิในการเก็บมะพร้าว หรือหากมีเวลาว่างก็อาบน้ำให้ เก็บเห็บ เหา หรือทายาป้องกันเชื้อโรค เพราะปกติตามธรรมชาติ ลิงเป็นสัตว์ทีรักความสะอาด โดยเฉพาะขนของมันจะหมั่นดูแลมันให้วาวอยู่เสมอ

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้


ซึ่งภาพเหล่านี้เราสามารถพบเห็นได้ตลอดในพื้นที่ สุดแล้วแต่มุมใครจะมองว่าจะเป็น คนเลี้ยงลิงหรือลิงเลี้ยงคน แต่นั่นคือวิถีชีวิต เป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของคนชายแดนใต้ที่คงอยู่มานาน แสนนาน
มาสัมผัสด้วยตนเองแล้วคุณจะรักบอกแล้วไงว่า ที่นี่มีอะไร อะไร ที่งดงามนอกเหนือความรุนแรงที่ซ่อนอยู่ในซอกหลืบปลายด้ามขวาน

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

"คน กับ ลิง" ชีวิตผูกพันชายแดนใต้

logoline