svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

"เตรียมตัวด้านการเงิน ก่อนมีเจ้าตัวเล็ก"

28 มิถุนายน 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ก่อนจะมีเจ้าตัวเล็ก หลายคนจะรู้สึกดีใจ แต่ก็แอบกังวลว่า เราต้องการเงิน "เพิ่ม" จากเงินที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน จากที่เคยอยู่เป็นครอบครัวเล็กแค่สองคนสามี-ภรรยา แต่ต้องมีเจ้าตัวเล็กมาเพิ่มค่าใช้จ่าย ดังนั้น เราต้องเตรียมตัวด้านการเงิน ก่อนมีเจ้าตัวเล็กกันก่อนดีกว่าครับ ติดตามกันเลย

ประการแรก "จัดการหนี้สินเก่า ๆ เสียก่อน"

      ก่อนจะมีเจ้าตัวเล็กบางทีเราอาจมีหนี้สินเก่าๆ ได้แก่หนี้สินผ่อนรถยนต์ ผ่อนบ้าน ผ่อนหนี้บัตรเครดิต ฯลฯ สำหรับหนี้สินที่เราควรเร่งจัดการให้ด่วนที่สุด ก็คือ หนี้สินผ่อนบัตรเครดิตหนี้สินส่วนบุคคล เพราะดอกเบี้ยสำหรับเงินในส่วนนี้จะเดินค่อนข้างรวดเร็วหากเรามีเงินก้อนควรไปโปะให้เหลือน้อยที่สุด สำหรับหนี้สินส่วนของการผ่อนบ้านผ่อนรถยนต์ นั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้าง "จำเป็น" ถ้าเราไม่โปะให้น้อยลง หรือหมดลงก็ใช้การบริหารจัดการไปก่อนได้ครับ

ประการที่สอง "จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย"

      สำหรับคนที่ไม่เคยจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวอาจจะไม่รู้ตัวว่าเราใช้เงินไปกับอะไรบ้างหากเราเริ่มต้นจดบันทึกจะทำให้เรารู้ว่าเรามีค่าใช้จ่ายในส่วนไหนสูงที่สุดและถ้าเราต้องการมีเงินเหลือเก็บ เราสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นได้หรือไม่? ข้อคิดเล็กๆ ก็คือหากการลดค่าใช้จ่ายนั้นทำให้ "คุณภาพชีวิต" ของเราตกลงมากบางทีเราอาจต้องเลือกตัดค่าใช้จ่ายส่วนอื่นแทนเราไม่จำเป็นต้องลดคุณภาพชีวิตลงมากจนเกินไปครับ


ประการที่สาม "คำนวณสำหรับมีลูกน้อย"

      เมื่อเราลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลงได้แล้วและจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายทำให้เรามองเห็นค่าใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆอย่าง "ชัดเจน" มากขึ้น เราก็ต้องมาวางแผนการเงินสำหรับการมีลูกน้อย ๆ

- ค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กเล็กเริ่มต้นจากค่าฝากครรภ์ที่จะมีค่าใช้จ่ายราว ๆ 2,000 บาทต่อเดือน เวลาทั้งหมด 9 เดือนตกค่าใช้จ่ายเกือบ 2 หมื่นบาทต่อ 9 เดือน นอกจากนั้น ยังมีค่าทำคลอดราว ๆ 30,000 90,000 บาทขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล ผ่าคลอด หรือคลอดธรรมชาติ

- เมื่อคลอดแล้วก็จะมีค่าใช้จ่ายจิปาถะได้แก่ ผ้าอ้อม นมผง เครื่องอุ่นนม เครื่องปั้มน้ำนม เตียงสำหรับเด็ก เสื้อผ้าเด็กเป็นต้น ค่าใช้จ่ายที่จ่ายครั้งเดียวก็พวกเครื่องมือต่าง ๆ ตกราว ๆ 20,000  50,000 บาท นอกจากนั้นจะเป็นค่าใช้จ่ายจิปาถะต่อเดือนพวกผ้าอ้อม นมผง ประมาณ 5,000 10,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู

- เมื่อเด็กโตขึ้นก็ต้องเข้าเรียนจะมีค่าเทอมตั้งแต่อนุบาล ถึงชั้นประถม ตกเฉลี่ยปีละ 50,000 100,000 บาทแล้วแต่เราจะเลือกโรงเรียนให้ลูกน้อยของเราเองครับ

- สรุปว่าตั้งแต่อยู่ในท้องจนเกิด และเรียนจบชั้นประถมศึกษาเราต้องเตรียมเงินไว้ราว ๆ 500,000 - 1 ล้านบาท เลยทีเดียวนับว่าเป็นเงินก้อนใหญ่ที่เราต้องเตรียมตัวเอาไว้ยิ่งเตรียมเร็วเท่าไรก็ยิ่งดีครับ

 ประการสุดท้าย "วางแผนการเงินสำหรับมีลูกน้อย"

       เมื่อเรารู้ค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ของการมีลูกซักคนแล้ว มาถึงขั้นตอนที่เราต้องวางแผนทางการเงินจากสรุปรวมเงินที่เราต้องใช้สมมติทั้งหมด 1ล้านบาทตั้งแต่เกิดจนเรียนจบชั้นประถม ราว ๆ 10 ปี ก็ตกปีละ 1 แสนบาทโดยประมาณ

รู้แบบนี้เราก็ลองคำนวณ"รายรับ" ของครอบครัว อันได้แก่ เงินเดือนประจำของพ่อ- แม่ทั้งปี หักลบด้วยค่าใช้จ่ายประจำบวกด้วยรายได้เสริม

สูตรค่าใช้จ่ายสำหรับลูกน้อย = รายได้ประจำต่อปี ค่าใช้จ่ายประจำต่อปี + รายได้เสริม

สมมติว่าพ่อ-แม่มีรายได้ประจำรวมกัน = 50,000 บาทต่อเดือน= 6 แสนบาทต่อปี

มีค่าใช้จ่ายประจำ+ผ่อนบ้าน+ผ่อนรถยนต์ = 30,000 บาทต่อเดือน = 360,000 บาทต่อปี

มีรายได้เสริม (อาชีพเสริม) เฉลี่ยเดือนละ 10,000บาท = 120,000 บาทต่อปี

เข้าสูตร = 600,000 360,000 + 120,000 = 360,000 บาทต่อปี

หากค่าใช้จ่ายสำหรับลูกเราเฉลี่ย1 แสนบาทต่อปีเท่ากับเรายังสามารถมีเงินเก็บ 2.6 แสนบาทต่อปี

"เตรียมตัวด้านการเงิน ก่อนมีเจ้าตัวเล็ก"



ตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียง "การคำนวณคร่าว ๆ" เพราะในรายละเอียดของแต่ละครอบครัวย่อมไม่เหมือนกัน ลองปรับไปใช้เป็นกรณีศึกษาหรือ สร้างต้นทุนให้แก่พวกเขาเพื่ออนาคตที่ดี นะครับการมีลูกถือเป็นเรื่องวิเศษ บางครั้งลูกของเราเองก็อาจนำสิ่งดี ๆ เข้ามาสู่ชีวิตครอบครัวเราได้อย่างน้อยเราก็มีความสุขกับการได้เห็นลูกน้อยเติบโตได้ชื่นชมลูกของเราที่เติบใหญ่เป็น "คนดีของสังคม" สอนให้เด็กเก่ง และฉลาดแล้วอย่าลืมสอนให้เป็นคนดีด้วยนะครับ

logoline