svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ท่องเที่ยว

Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร

19 พฤศจิกายน 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อยากจะออกไปเที่ยวเบาๆวันหยุด แต่ไม่รู้จะไปไหนดี ไปห้างก็จำเจ ต่างจังหวัดก็ขี้เกียจขับรถไกล...ลองเปลี่ยนบรรยากาศ หยิบกล้องซักตัว หรือสมาร์ทโฟนในมือ ชวนเพื่อนๆ หรือคนรู้ใจ ไปชมเมืองกันดีกว่า #NationLifestyle

บางรักเป็นเขตเศรษฐกิจแห่งแรกของมหานคร ด้วยเป็นชุมชนเก่าแก่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และต่อมาก็กลายเป็นท่าเทียบเรือนานาชาติ จึงเป็นแหล่งชุมชนของชาวต่างชาติและการค้านานาชาติ เป็นศูนย์รวมความทันสมัยและศิลปวิทยาการจากต่างประเทศ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนเป็นแหล่งผสมผสานศาสนา ภาษา และเชื้อชาติ


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


จึงไม่แปลกเลยที่เกือบตลอดทางของเราวันนี้จะเจอร้านขายเครื่องประดับนานาชนิด ทั้งหินสี หรือเครื่องเพชร โดยชาวต่างชาติและคนไทย รวมถึงสถานที่สำคัญทางศาสนา หรือร้านอาหาร ที่มีความหลากหลาย แต่กลมกลืนอยู่บนถนนเส้นเดียวกัน...เจริญกรุง ถนนสายแรกที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโดยใช้เทคนิคการสร้างตามแบบยุโรป...


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


และจุดหมายแรกของเราวันนี้คือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก (พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก) จากรถไฟฟ้าสะพานตากสินมาถึงถนนเจริญกรุง เลี้ยวซ้ายเดินตรงไปเรื่อยๆ 1.8 กม. ประมาณ 20 นาที (หรือจะนั่งรถสองแถว มอเตอร์ไซค์รับจ้างก็ได้ค่ะ) พิพิธภัณฑ์อยู่ในซอยเจริญกรุง 43 เข้าไปประมาณ 100 เมตร จะอยู่ทางขวามือ


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


ข้างในเป็นเรือนไทย 4 หลัง อยู่ในบรรยากาศอันแสนร่มรื่นของต้นไม้นานาชนิด กระรอกวิ่งเล่นหยอกกันไปมา สำหรับผู้รักสุนัข สามารถซื้ออาหารมาให้ เจ้าดอกสร้อย ได้ เพียงพูดคำว่า ขอหน่อย เจ้าดอกสร้อยจะยื่นมือมาให้ อย่างน่าเอ็นดู


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


ภายในเรือนต่างๆ จะจัดวางข้าวของเครื่องใช้ และบรรยากาศทั้งหมด เป็นเรื่องสมัยราวๆ รัชกาลที่ 6-7 ให้เราได้เดินสำรวจกัน ที่ถูกใจที่สุดน่าจะเป็นเรือนหลังที่ 3 เพราะมีเครื่องปรับอากาศเย็นฉ่ำ ให้นั่งพักกันด้วยค่ะ ถ้าใครสนใจบรรยากาศร่มรื่นแบบไทยๆ อย่าลืมมาเที่ยวกันนะค่ะ (เปิดวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา 10:00 - 16:00 น. โทร 02-233-7027)


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


หลังจากนั้น เราก็เดินย้อนกลับมาทางเดิม และข้ามฝั่งถนนไปที่ ไปรษณีย์กลาง บางรัก (อยู่ริมถนน ระหว่างเจริญกรุง ซอย 32 และ 34 จากพิพิธภัณฑ์ เดินมาประมาณ 400 เมตร)


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


ถึงแล้ว...ไปรษณีย์กลาง

จากอาคารเก่าแก่ทรงคลาสสิค หลังจากปรับปรุงแล้วเสร็จเมื่อปี 2556 ก็กลายเป็นอาคารร่วมสมัย ขนาดใหญ่ บริเวณด้านหน้าเป็นลานประดิษฐานพระอนุเสาวรีย์ของพระบิดาแห่งไปรษณีย์ไทย


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


ด้านในตกแต่งค่อนข้างหรูหราอลังการ ทันสมัย โปร่ง สบายตา และกว้างขวางมากๆ ที่โดยรอบตกแต่งด้วยชุดประติมากรรมดวงตราไปรษณียากร ผลงานของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี กับลูกศิษย์ของท่าน


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


น่าเสียดายที่เจ้าหน้าที่อนุญาตให้ถ่ายรูปได้แค่ชั้นหนึ่ง และด้านนอกเท่านั้น อดขึ้นไปดูห้องโล่งสไตล์มินิมอลด้านบน โรงละคร และดาดฟ้าเลย (ก่อนกลับต้องลงชื่อในสมุดกับเจ้าหน้าที่ด้วยนะค่ะ)

เปิดวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 08:30-16:30 น. และวันเสาร์ 09:00-12:00 น. โทร 02-614-7457-9


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


เราก็เดินทางต่อมาที่เจริญกรุง ซอย 36 จากไปรษณีย์กลางมาประมาณ 500 เมตร เดินเข้าไปสุดซอย ผ่านสถานฑูตฝรั่งเศส เราก็ได้เจอกับอาคารสไตล์โรมันคลาสสิคเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แปะป้ายว่า ศุลกสถาน หรือโรงภาษีร้อยชักสาม ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ สถานีดับเพลิงบางรัก และเป็นสมบัติของกรมธนารักษ์เป็นที่เรียบร้อย ที่นี่ยังเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงด้วยค่ะ


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


เสียดาย วันนี้แสงน้อย ถ้าใครชอบถ่ายรูปคอนทราสจัดๆ แนะนำช่วงเวลาประมาณ 14:00-16:00 น. แสงจะลอดเข้ามาทางหน้าต่างแต่ละบาน สวยมากๆ จึงไม่แปลกใจเลยที่หลายๆคนนิยมมาถ่ายรูปที่นี่ ความเก่า ผสานด้วยกลิ่นของศิลปะโบราณ ความทรุดโทรมจึงกลายเป็นเสน่ห์ และความสวยงามไปโดยปริยาย


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


และเราก็เดินทางต่อไปยังอาสนวิหารอัสสัมชัญ โดยเลี้ยวขวาหน้าสถานฑูต และเดินตรงไปเรื่อยๆ สุดทางเลี้ยวขวาเข้าสู่เจริญกรุงซอย 40 จนเห็นอาคารมิสซังโรมันคาทอลิคซ้ายมือ เดินตรงไปอีกนิดก็จะเจอโรงเรียนอัสสัมชัญ วิหารนี้ตั้งอยู่ด้านใน ถือได้ว่าเป็นโบสถ์คริสต์ที่สร้างด้วยศิลปะสไตล์โกธิคที่งดงามที่สุดในประเทศไทย


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


ช่วงนี้มีการปรับปรุงซ่อมแซมวิหาร และลานด้านหน้าอยู่ จึงเก็บภาพโดยรวมมาได้เพียงเท่านี้ ถ้าเสร็จแล้วรับรองว่าต้องสวยงามมากๆ


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


เดินมาหลายที่แล้ว อยากจะพักหาที่นั่งกันสักหน่อย ระหว่างทางกลับไปรถไฟฟ้า เราก็เจอกับร้านเล็กๆน่ารักร้านนี้เข้า Hobbyist Cafe อยู่ติดกับโรงเรียนอัสสัมชัญเลยค่ะ


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


ภายในร้านตกแต่งด้วยไม้สีอ่อน เล่นระดับ ดูอบอุ่นมากๆ เราลองสั่ง Hezelnut Milk และน้ำแตงโมปั่น สดชื่นมากๆ นอกจากนี้ยังมีเมนูอาหารและเบเกอรี่อีกมากมายด้วยค่ะ


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


อ่านเรื่องราวของ Hobbyist Cafe เพิ่มเติมได้ที่ www.nationtv.tv/main/content/lifestyle/378486422/


บนถนนเส้นนี้ ไม่ต้องห่วงเรื่องของกินเลย มีให้เราเลือกแทบตลอดเส้น โดยเฉพาะบริเวณใกล้ๆโรบินสัน ไม่ว่าจะเป็น ทิพหอยทอดภูเขาไฟ ทอดมันกวางตุ้งบางรัก ประจักษ์เป็ดย่าง โจ๊กปริ๊นซ์บางรัก เจ๊หลีลูกชิ้นปลาบางรัก เอ๋กระเพาะปลา ข้าวขาหมูตรอกซุง ปั้นลี่เบเกอรี่


มาปิดท้ายวันนี้กันที่เอเชียทีค เราสามารถขึ้นเรือฟรีได้ที่ท่าเรือสาทร(ท่าเรือบริเวณรถไฟฟ้าสะพานตากสิน) มีบริการตั้งแต่ 16:00-23:30 น. แต่วันนี้เรามาเร็วไปหน่อย เลยตัดสินใจลองเดินไปดีกว่า


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


ระหว่างทางก็ถ่ายรูปดูบรรยากาศไปด้วย ถนนเจริญกรุงฟากนี้จะแตกต่างตรงที่มีความเป็นชุมชนเก่าสอดแทรกอยู่มากกว่า ในขณะที่อีกฝั่ง ค่อนข้างคึกคักในมุมของร้านค้านานาชาติ และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากมาย


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


เดินประมาณสองกิโลเมตรกว่าๆ ก็มาถึงแล้วเอเชียทีค เวลาเย็นกำลังดี เหมาะกับการถ่ายบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา และบริเวณโดยรอบ


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


หมดไปแล้วอีกหนึ่งวัน กับความทรงจำดีๆ หวังว่าเพื่อนๆจะสนุกกับทริปง่ายๆแบบนี้เหมือนกันนะค่ะ


Gotography : บางรัก เสน่ห์เมืองเก่าในมหานคร


ขอบคุณข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก

logoline