svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

Lifestyle 2 Lifester : พัฒนาการ กล้อง คน และไอที

03 ตุลาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในยุคดิจิตอล และการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วขึ้น ในวงการถ่ายภาพก็เช่นกัน จากกล้องฟิล์ม มาถึงกล้องดิจิตอล ช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น เห็นภาพ แก้ตัวได้ทัน ทั้งหมดนี้ก็มาพร้อมๆ กับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปเรื่อยๆ

ในยุคดิจิตอล และการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วขึ้น ผ่าน Social Networking ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนในสังคมบางคนอาจจะบอกว่าเป็นสังคมก้มหน้า บางคนบอกว่าช่วยให้ติดต่อกับเพื่อนเก่าที่ห่างหายกันไปนานได้อย่างเหลือเชื่อ บ้างก็บอกว่าช่วยให้กระจายข่าวสารการขอความช่วยเหลือต่างๆ ได้ง่ายขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็กลายเป็นแหล่งปล่อยข่าวลือได้เหมือนกันแต่ทั้งหมดนี้อยู่ที่เราจะเลือกหยิบเอาด้านไหนมาใช้

ในวงการถ่ายภาพก็เช่นกันช่วยให้การเปลี่ยนผ่านจากยุคกล้องฟิล์ม ที่ต้องวนเข้าๆ ออกๆ ร้านถ่ายรูปต้องคอยลุ้นว่ารูปที่ถ่ายออกมานั้นใช้ได้หรือไม่ได้ ก็ต่อเมื่อล้างฟิล์มออกมาแล้วมาถึงวันนี้กล้องดิจิตอล ช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น เห็นภาพ แก้ตัวได้ทัน มากไปกว่านั้น คนทั่วๆไปแม้ไม่ใช่ช่างภาพมือฉมังก็ยังถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น และทั้งหมดนี้ก็มาพร้อมๆกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปเรื่อยๆ

Lifester ของเราวันนี้เป็นหนึ่งในผู้ที่อยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านที่ว่านี้

Lifestyle 2  Lifester :  พัฒนาการ กล้อง คน และไอที


อ.นพดล อาชาสันติสุข ผู้อาวุโสที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการกล้องและการถ่ายภาพมาเป็นเวลานาน และแม้วันนี้จะเลยวัยเกษียณไปแล้ว แต่นั่นเป็นเพียงตัวเลข เพราะเจ้าตัวบอกว่ายังสนุกกับงานที่ทำ โดยปัจจุบัน เป็น บก.นิตยสารคาเมราต (Camerart) และยังเป็นรองประธานมูลนิธิภาพถ่ายแห่งประเทศไทย แถมมีรับงานถ่ายภาพบ้างบางงานและยังท่องเที่ยวไปเรื่อย

ด้วยประสบการณ์ที่แก่กล้าทำให้กลายเป็นที่ปรึกษาให้กับช่างภาพรุ่นน้องๆ ทำนองว่า ใครมีอะไรหรือจะทำอะไรก็มักมาขอคำปรึกษา และเราก็เหมือนกัน ถือโอกาสมาปรึกษาถึงความเป็นไปเปลี่ยนไป เกี่ยวกับโลกของการถ่ายภาพยุคใหม่ที่ดูเหมือนจะมีช่องว่างและตัวแบบน้อยลงไป เพราะใครๆ ก็ถ่ายภาพได้แม้กระทั่งตัวคนที่เป็นแบบเอง จนเกิดเป็นกระแสนิยมของการเซลฟี่

ผมไม่ได้เรียนจบมาทางด้านโฟโต้ แต่จบคณะวิทยาศาสตร์ สาขาพฤกษศาสตร์ มาเป็นครูสอนหนังสืออยู่พักหนึ่ง สอบบรรจุเป็นตำรวจได้ก็ไม่เอาจนมาทำงานเอกชนอยู่ได้ 2 ปีก็ออกมา ตามความฝันของตัวเอง

Lifestyle 2  Lifester :  พัฒนาการ กล้อง คน และไอที

Lifestyle 2  Lifester :  พัฒนาการ กล้อง คน และไอที

จากที่เคยจับกล้องถ่ายภาพสมัยเรียนวิทยาศาสตร์ต้องถ่ายรูปพืช ประกอบการเรียน ต้องหันมาศึกษาอย่างจริงจัง ด้วยคติที่ว่า อยากทำอะไรต้องรู้ให้จริง อ.นพดลเริ่มจากการขวนหวายหาหนังสือเกี่ยวกับกล้องและการถ่ายภาพ มาอ่านซึ่งสมัยก่อนเป็นภาษาอังกฤษเสียส่วนใหญ่อาศัยว่าเรียนด้านวิทยาศาตร์ที่มีตำราเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้วจึงไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป บวกกับการลองผิดลองถูก รวมถึงการไปเป็นลูกมือเพื่อนที่เรียนจบด้านการถายภาพมาจากอเมริกาอยู่ปีกว่า ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพ การวัดแสงอะไรต่ออะไรอีกมาก

"ผมรับงานแรกเป็นงานแต่งงานเพื่อน เราก็บอกว่าอาจจะต้องแต่งใหม่หรือเปล่าเพราะดูก็ไม่ได้ สมัยนั้นยังเป็นกล้องฟิล์มอยู่ แต่โชคดีว่า พอล้างออกมาภาพใช้ได้เลยไม่ต้องลำบากเพื่อนให้แต่งใหม่อีกรอบ (ฮา)"

อ.นพดล บอกว่าการถ่ายภาพเป็นเรื่องของหลักการและเหตุผล ซึ่งประยุกต์จากที่เรียนมาใช้ได้บ้างอย่างที่เรียนฟิสิกซ์ทำให้รู้เรื่องแสง มีการอ่านตำราเพิ่มมีการทดลองทำงานอย่างมีหลักการ เพราะการถ่ายรูปนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่นอกจากจะต้องเรียนรู้เรื่องกล้องฟังก์ชั่นต่างๆ รูรับแสง การวัดแสง ฯลฯ แล้วยังต้องถ่ายออกมาอย่างมีศิลปะ

Lifestyle 2  Lifester :  พัฒนาการ กล้อง คน และไอที


Lifestyle 2  Lifester :  พัฒนาการ กล้อง คน และไอที

โดยส่วนตัวแล้วจากประสบการณ์ที่เก็บเกี่ยวมาหลายสิบปี อ.นพดลบอกว่า กลายเป็นชอบถ่ายรูปแบบบันทึกเรื่องราวดูการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและบุคคล อย่างเช่นราชประสงค์ที่เคยถ่ายภาพเก็บไว้ตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีรถไฟฟ้าบีทีเอสโดยขึ้นไปถ่ายจากตึกกองบัญชาการตำรวจแห่งชาติพอมีรถไฟฟ้าก็ไปถ่ายอีกที่มุมเดียวกัน ทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง

หรือกรณีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เริ่มเปิดตัวในปี 2509 เป็นศูนย์แสดงสินค้านานาชาติแห่งเอเชียครั้งที่ 1ที่สร้างเป็นอาคารต่างๆ ขึ้นมา(ที่ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียน) คนไปชมงาน ก็ใช้วิธีนั่งรถรางหลังจบงานก็ถูกทิ้งร้างไป จนพอจะเปิดเป็นตลาดวิชาก็เลยรื้อฟื้นปรับปรุงพื้นที่นี้มาใช้ ถ้าได้ศึกษาลึกลงไปก็จะรู้ตั้งแต่ต้นต่อที่มาของที่ดินกระทั่งวัตถุประสงค์ของคนบริจาค ทั้งหมดนี้ อ.นพดลบอกว่าถ่ายรูปเก็บสะสมสิ่งเหล่านี้ ก็เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง

"เดี๋ยวนี้ไปงานมีตติ้งเพื่อนๆผมกลายเป็นตากล้องประจำกลุ่มไปแล้ว เราก็มีรูปสะสมไว้เยอะ หรือใครมีรูปเก่าๆ ลองไปค้นดูรูปเก่าๆเอามาสแกนใหม่รวมรวบเอามาฉายดูด้วยกันกับเพื่อนๆ รับรองได้ว่าฮาเพราะหลายคนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเยอะ"

Lifestyle 2  Lifester :  พัฒนาการ กล้อง คน และไอที


Lifestyle 2  Lifester :  พัฒนาการ กล้อง คน และไอที


จากกระแสการแชร์ภาพ ผ่านโซเชียลมีเดีย รวมถึงการโพสต์ภาพถ่ายประเทศไทยเช่นกรณี #ThailandStandupChallenge และ #StrongerTogether ในเฟสบุ๊ค นั้น อ.นพดลมองว่า การแชร์ภาพแบบนี้มี 2 แบบ คือ โดยทั่วไป จะใช้วิธีถ่ายภาพด้วยโทรศัพท์มือถือ เพราะรวดเร็วโพสต์ได้ทันใจ ยิ่งสมัยนี้ มือถือมีสเปคสูงขึ้น ทำให้สะดวกขึ้นและอีกแบบคือการใช้กล้องถ่ายภาพโดยตรง ซึ่งก็มีทั้งกล้องคอมแพ็ค และ DSLR ปัจจุบันสามารถเลือกแบบที่มี WIFI ทำให้ลิงค์เข้าระบบโซเชียลเน็คเวิร์คกิ้งต่างๆ ได้สะดวกนับเป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่มาเปลี่ยนกล้อง ให้มีความเป็นดิจิตอล และเชื่อมต่อการทำงานต่างๆ ได้ แตกต่างจากยุคที่เป็นกล้องเดี่ยวๆ

อ.นพดล มองว่า เป็นเรื่องพัฒนาการของทั้งระบบทั้งกล้องและเทคโนโลยี ที่ต้องเชื่อมโยงกัน ขณะเดียวกันคนที่ถ่ายรูปก็ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีมากขึ้น มันเป็นความสัมพันธ์กันหมด

"ถ้าสมมติว่า คนถ่ายรูปยุคกล้องฟิล์มไม่ยอมพัฒนามาถ่ายกล้องดิจิตอลเลยก็จบหรือคนที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล แต่ไม่เรียนรู้เทคโนโลยีเลย ก็จบเหมือนกันเหมือนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ถ้าไม่เรียนรู้ฟังก์ชั่นต่างๆ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร"

Lifestyle 2  Lifester :  พัฒนาการ กล้อง คน และไอที


จากการเปิดตัวสตูดิโอถ่ายภาพใต้น้ำ วานาดิโอ (Vanadio) ที่ฮือฮากันไปเมื่อเร็วๆ นี้ อ.นพดลบอกว่า ในอดีตเคยมีคนทำมาแล้วแต่เป็นเรื่องยุ่งยาก ที่เห็นกันบ่อยๆ ก็เป็นพวกถ่ายภาพกีฬาทางน้ำที่คนถ่ายไม่ต้องลงไปอยู่ในน้ำ แต่มีช่องกระจกที่มองเห็นใต้น้ำและถ่ายภาพได้ หรือ การถ่ายรูปปลาในอควอเลี่ยม ก็นำมาพัฒนาให้ง่ายและสะดวกต่อการทำงานมากขึ้นคือให้ตากล้องอยู่ด้านนอก ขณะเดียวกันตัวแบบ ก็พลิ้วไหวอยู่ในสายน้ำ

"เมื่อ
20 ปีมีการถ่ายแฟชั่นฝรั่งเศสใต้น้ำ แต่เขาเป็นมืออาชีพ ทั้งช่างภาพและนางแบบ ทั้งหมดจะอยู่ในน้ำด้วยกันมีอุปกรณ์ ถังอ็อกซิเจนพร้อม กล้องก็มีเฮ้าส์ซิ่ง กันน้ำ แต่นาวาดิโอถือเป็นการพัฒนาที่เราใช้เทคโนโลยีมาปรับเพื่อให้ใช้ได้กับทุกคนโดยที่คนถ่ายภาพและอุปกรณ์ไม่ต้องลงไปในน้ำ ทำให้การจัดการต่างๆ มีอิสระมากขึ้น"

อ.นพดลมองว่า การทำสตูดิโอใต้น้ำต้องใช้ช่างภาพที่มีฝีมืออยู่ในเกณฑ์ดี เพราะต้องทำงานแข่งกันเวลาที่สำคัญคือการจัดแสง ที่จะทำอย่างไรให้ออกมามีมติ และเป็นธรรมชาติ ซึ่งตอนแรกๆที่ทำ มีทีมงานมาปรึกษา ก็ได้ให้คำแนะนำเรื่องระบบไฟไปเพราะต้องคำนึงถึงการใช้งานต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ นอกจากนี้เรื่องที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดอีกเรื่องคือความปลอดภัย

"คนที่จะเป็นแบบควรต้องว่ายน้ำเป็น ไม่ใช่ลงไปแล้ว ดิ้นกระแด่ว รูปก็ไม่สวย อันตรายด้วยทั้งหมดต้องสัมพันธ์กัน ทั้งช่างภาพที่ถ่ายรูปเป็น ตัวแบบทำงานได้ และอีกเงื่อนไขคือทำอย่างไรให้รูปสวยแต่เด็กรุ่นใหม่ ว่ายน้ำเป็นจะกล้าเล่น ดูได้จากสีหน้า ซึ่งช่างภาพจะต้องจับภาพออกมาให้ได้"

Lifestyle 2  Lifester :  พัฒนาการ กล้อง คน และไอที

อ.นพดล ยังฝากข้อคิดถึงเด็กรุ่นใหม่ หรือคนที่หันมาจับกล้องถ่ายภาพ ด้วยว่าควรเรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพอย่างรู้จริงเมื่อเมื่อนั้นเราก็สามารถถ่ายภาพอย่างที่เราชอบได้ ซึ่งแต่ละคนไม่ได้ชอบเหมือนกันบางคนอาจจะชอบถ่ายภาพท่องเที่ยว บางคนชอบถ่ายภาพบุคคล หรือ เหตุการณ์ ก็ขอให้ถ่ายภาพอย่างที่ชอบ แต่สำหรับ อ.นพดลเองแล้วความเป็น Lifester ของเขาอยู่ที่มุมมองเป็นวิถีชีวิตของคนทั่วไป ที่ต้องมีอยู่ในภาพถ่าย ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อน กินเที่ยว วิถีชีวิต

งานถ่ายภาพไม่ต้องไปเรียนแบบใครแต่ขอให้เรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพอย่างคนรู้จริง ส่วนจะใช้กล้องอะไรก็ตามขอให้เป็นกล้องที่ใช้งานถนัดมือ ถูกใจ และมองด้วยว่าเราถือเลนส์อะไรเยอะเท่านี้ก็ออกไปถ่ายภาพได้สนุกแล้วน็น


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ร่วมเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์การถ่ายภาพ กับพวกเรา "ชุมชนคนรักการถ่ายภาพ" ได้ที่นี่  https://life.canon.co.th/

logoline