svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

ควรรู้! กินอาหารบนภาชนะ "โฟม" เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง

20 พฤษภาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในปัจจุบัน พ่อค้าแม่ขายส่วนใหญ่มักจะนำภาชนะที่เป็นโฟม มารองใส่อาหารแทนที่จะเป็นกระดาษ หรือชามแก้ว เพราะราคาถูกต้นทุนต่ำและสามารถทิ้งได้เลย แต่รู้หรือไม่การนำภาชนะโฟมมาใส่อาหารอาจทำให้สารพิษปะปนไปกับอาหาร ทำให้เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง

ภาชนะโฟมส่วนใหญ่ทำมาจากพลาสติก ที่มีชื่อว่า โพลีสไตรีน โฟม (Polystyrene Foam หรือ PS foam หรือ Styrofoam) ซึ่งเป็นสารโพลิเมอร์ (polymer) จำพวกหนึ่ง ซึ่งเมื่อเจอความร้อน แอลกอฮอล์ หรือกรดในอาหารบางชนิด เช่น กรดจากมะนาว จะทำให้เกิดการละลายหรือแปลสภาพ ทำให้เมื่อนำอาหารมาใส่ อาจเกิดสารปนเปื้อนลงไปในอาหาร เมื่อกินเข้าไปมากๆ อาจเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้ ซึ่งปริมาณของสารสไตรีนที่หลุดออกมาปะปนในอาหาร จะขึ้นกับสามปัจจัยหลักได้แก่ 1.อุณหภูมิของอาหารที่บรรจุ 2.ปริมาณไขมันในอาหาร 3.ระยะเวลาที่ภาชนะโฟมสัมผัสอาหาร
ผู้เชียวชาญด้านเคมีวิทยาได้ออกมาเตือนว่า เมื่อใช้ภาชนะโฟมที่เป็นโพลิเมอร์มาบรรจุอาหารที่มีอุณหภูมิสูง หรือบรรจุอาหารที่มีความมันทิ้งให้อาหารสัมผัสกับภาชนะโฟมเป็นเวลานาน การปลดปล่อยจะทำให้กล่องโฟมนั้นเกิดการสลายตัวให้สารพิษชนิดต่าง ๆ ออกมา เช่น สไตรีน (styrene) และเบนซิน (Benzene) ออกมาสู่อาหาร และไม่ใช่แค่เพียงอาหารเท่านั้นที่ไม่ควรใส่ภาชนะโฟม ส่วนผสมบางอย่างในเครื่องดื่ม เช่นแอลกอฮอล์ หรือกรดในมะนาว ก็มีผลทำให้การละลายของ สารสไตรีนลงสู่อาหารที่บรรจุอยู่ด้วยเช่นกัน
สารสไตรีน (Styrene) เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายทำงานผิดปกติ ส่วนสาร เบนซิน (Benzene) เป็นสารก่อมะเร็งอีกเช่นกัน สารชนิดนี้ละลายได้ดีในน้ำ และมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย หากได้รับเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานาน จะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง
เมื่อรู้กันแบบนี้แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ใช้ภาชนะโฟมให้มากที่สุด เพราะถึงแม้จะสะดวก แต่อาจไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับสุขภาพของร่างกายเรานั่นเอง

logoline