svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

คณะกลองยาวไทย คว้าชมเชยอันดับ 4 ของโลก

15 ตุลาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คณะกลองยาวไทยสร้างชื่อคว้าชมเชยอันดับ 4 ของโลกและรางวัลที่ 2 เหรียญเงิน จากเวทีแสดงกลองพื้นบ้านที่สาธารณรัฐเกาหลี ด้านหัวหน้าคณะเผยเน้นการแสดงที่โดดเด่น คือการเผยแพร่วัฒนธรรมราชสำนัก กับ ชาวบ้าน สามารถนำการตีกลอง มวยไทย โขน มาผสมผสานกันได้อย่างสวยงาม

เมื่อวันที่ 15 ต.ค. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ตนได้รับทราบข่าวดีของวงการศิลปวัฒนธรรมไทยจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สบศ.) ว่า เมื่อเร็วๆนี้ คณะเอกทันต์ ศูนย์รวมของข้าราชการ ศิลปิน ครู-อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่าจากวิทยาลัยนาฏศิลป สบศ. ที่ประดิษฐ์รูปแบบศิลปะการแสดงกลองยาวทั้งในเชิงอนุรักษ์และสร้างสรรค์ บนพื้นฐานตามจารีตอันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งพัฒนาให้เข้าสู่ระดับสากล โดยมีนายเกษม ทองอร่าม เป็นผู้ฝึกซ้อม และผู้ก่อตั้งคณะ ได้เดินทางเข้าร่วมการแข่งขันเวที Akekatan Drum Dance Troupe CHEONAN INTERNATIONAL FOLK DANCE COMPETITION 2014 "Cheonan World Dance Festival 2014" ที่สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประกวดกว่า 20 ประเทศ อาทิ บัลกาเรีย เชค ฟินแลนด์ กรีซ อินเดีย อินโดนีเซีย คาซัคสถานลัตเวีย เม็กซิโก โปแลนด์ รัสเซีย ไต้หวัน ตรุกี จีน และญี่ปุ่น ผลปรากฎว่าคณะเอกทันต์ได้รับรางวัลใหญ่มาถึง 2 รางวัล ได้แก่ 1.รางวัลชมเชย (Encouragement Prize) อันดับที่ 4 ของโลก โดยรางวัลชมเชยอันดับที่ 1-3 ได้แก่ ประเทศตุรกี สโลวาเกีย และเม็กซิโก 2. รางวัลที่ 2 เหรียญเงิน (SecondPrize Comic dancer Contest) ในการแข่งขันประเภทการแสดงที่สร้างอารมณ์ขัน โดยมีสาธารณรัฐเกาหลีคว้ารางวัลที่ 1 ไปครอง 
อย่างไรก็ตาม การที่คณะเอกทันต์ ได้รับทั้ง 2 รางวัล นับเป็นความสำเร็จของคนไทยที่ได้นำศิลปวัฒนธรรมไปแสดงให้เป็นรู้จักทั่วโลก

คณะกลองยาวไทย คว้าชมเชยอันดับ 4 ของโลก

ด้านนายเกษม ทองอร่าม หัวหน้าคณะเอกทันต์ และครูของ วิทยาลัยนาฏศิลป์ สบศ. กล่าว รูปแบบการแสดงคณะเอกทันต์ในการประกวดครั้งนี้ได้นำเสนอศิลปะการแสดงด้วยการเล่าเรื่อง เรื่องราวของประเทศไทยเริ่มจากการบูชาพระเอกทันต์ เทพเจ้าแห่งศิลปศาสตร์ ทั้งในราชสำนักและพื้นบ้านผ่านการท่องเที่ยว ศิลปะทางภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง โดยใช้สำเนียงกลองยาวเป็นสื่อในการเล่าเรื่องราว แสดงให้เห็นจารีต ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมไทย นับเป็นศิลปะการแสดงที่มี การพัฒนาและรังสรรค์ขึ้นให้เท่าเทียมกับศิลปวัฒนธรรมโลกในปัจจุบัน
"การแข่งขันทางศิลปวัฒนธรรมนั้นทางคณะกรรมการฯไม่ได้บอกรูปแบบการแสดงเพราะวัฒนธรรมแต่ละประเทศไม่เหมือนกันแต่คิดว่าสิ่งที่ทำให้ทางคณะกรรมการฯ ตัดสินใจให้รางวัลชนะเลิศแก่คณะเอกทันต์ เป็นเพราะเราได้เสนอเรื่องราวความยิ่งใหญ่สวยงามของศิลปวัฒนธรรมไทยผ่านศิลปะการตีกลองได้อย่างสมบูรณ์ เข้าใจง่าย โดยได้ทำสูจิบัตรบอกรายละเอียดการแสดงแต่ละชุดแต่ละช่วงให้คณะกรรมการฯ ได้ทราบ เล่าเรื่องราวประเทศไทย เรื่องราวของแต่ละภูมิภาค เหนือ อีสาน กลาง ใต้ให้ต่างชาติรับรู้ โดยใช้กลองยาวเป็นสื่อนำและมีการแสดงที่โดดเด่นคือการเผยแพร่วัฒนธรรมราชสำนัก กับ ชาวบ้านได้อย่างสวยงาม สามารถนำการตีกลอง มวยไทย โขน มาผสมผสานกันได้อย่างสวยงาม"นายเกษม กล่าว

logoline