svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

คุณเช็คยาที่เก็บใว้ในบ้าน ครั้งล่าสุดเมื่อไร?

23 สิงหาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

บทความจากคุณ emagfashion บล็อคเกอร์เวบไซต์โอเคเนชั่น

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า ยา คือสิ่งที่นำมารักษาโรค แต่ถ้าวันหนึ่งเจ้าตัวยาที่จะนำมารักษาเกิดเสื่อมสภาพ ผลเสียที่ตามมาจะไม่เพียงทำยังเจ็บป่วย แต่อาจทำให้โรคร้ายเพิ่มขึ้นทวีคูณ ดังนั้น ก่อนที่จะใช้ยา เรามีดูกันดีกว่าว่ายาที่อยู่ในตู้ของเราเสื่อมสภาพแล้วหรือยัง
รศ.นพ.อดิศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้เผยถึงการสังเกตยาแต่ละชนิดในแบบง่ายๆ ซึ่งเทคนิคนี้คุณก็สามารถดูเองได้
1. ยาเม็ดแคปซูล แคปซูลมักจะบวมโป่ง ภายในแคบซูลจะสังเกตเห็นว่าผงยาเปลี่ยนสี อาจมีเชื้อราขึ้นที่เปลือกแคปซูล จับกันเป็นก้อน แถมมีสีที่เปลี่ยนไป ซึ่งต้องระวังให้มาก เพราะยาหมดอายุบางอย่างหากกินเข้าไปอาจเป็นอันตรายต่อไต เช่น ยาเตตราซัยคลิน ผงยาเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล ให้ทิ้งทันทีเพราะนั่นหมายถึงมันได้เสื่อมสภาพแล้ว
2. ยาเม็ด เมื่อหมดอายุก็มักมีสีเปลี่ยนไป ซีดจางลง แตกกร่อน เป็นผงง่าย เอามือจับรู้สึกเม็ดยานิ่มๆ บีบเบาๆ ก็แตกแล้ว
3. ยาเม็ดเคลือบน้ำตาล (เช่น วิตามินรวม) เม็ดยามักดูเยิ้มเหนียว มีกลิ่นหืนๆ บูดๆ
4. ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาคล้ายแป้งน้ำใช้ทาแก้คัน ยาลดกรด ถ้าเสื่อมก็จะตกตะกอน จับกันเป็นก้อน เกาะติดกันแน่น เขย่ายังไงก็ไม่กระจายตัว ทั้ง กลิ่น สี หรือรสก็เปลี่ยนไปจากเดิม แต่ยาแก้อักเสบบางชนิดที่เป็นผงต้องเติมน้ำและเขย่าก่อนกินนั้น หากเติมน้ำเข้าไปในขวดเลยบางครั้งก็เขย่ายากมาก ไม่ยอมละลาย ก่อนเติมน้ำต้องเขย่าขวดให้ผงยากระจาย ไม่เกาะติดก้นขวดก่อนเติมน้ำและเขย่าอีกครั้ง อย่างนี้ไม่ใช่เสีย แต่อาจจะเขย่าผิดวิธี
5. ยาน้ำเชื่อม จะกลายเป็นสีขุ่นๆ ตกตะกอน เห็นเป็นผงๆ ไม่ละลาย หรือเห็นเป็นน้ำคนละสีลอยปะปนเป็นเส้นๆ อยู่ และอาจมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
6. ยาขี้ผึ้งและครีม ถ้าเสื่อมก็จะพบว่าเนื้อยาแข็ง เนื้อยาแห้งแข็ง หรือสีเปลี่ยนไปจากเดิม
7. ยาหยอดตา หลายๆ ท่านอาจไม่ทราบว่ายาหยอดตามีอายุจำกัด จึงนำมาหยอดตาทั้งๆ ที่เก่าเก็บเป็นปี หรือบางครั้งหลอดเล็กๆ ตัวหนังสือเล็กๆ วันเดือนปีเลือนหายไป การหยอดใกล้ตาอาจเกิดการปนเปื้อนจากขี้ตา หรือจากมือผู้ใช้ได้ง่าย ทางที่ดีอย่าเก็บนาน สัก 1 เดือนในตู้เย็น หากไม่ได้ใช้ก็เคลียร์ทิ้งได้เลย
8. ยาบางอย่างที่ต้องเก็บในตู้เย็น มียาบางอย่างเท่านั้นที่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อกันการเสื่อม เช่น ยาพวกวัคซีนที่ใช้ฉีด พบเห็นคลินิกไหน เอาวัคซีนมาจากตู้ยามาฉีดโดยไม่ได้เก็บไว้ในตู้เย็น ก็ต้องทักท้วงและทวงถามกันหน่อย
9. ยาเม็ดมากมายที่ใส่แผง (กระดาษฟรอยด์) ซึ่งกันทั้งความชื้นและกันการเสื่อมสภาพเร็ว จึงควรจะแกะยาต่อเมื่อถึงเวลาต้องกินแล้วเท่านั้น หากแกะออกมารวมๆ กันในขวดอาจเสื่อม หมดอายุก่อนวันเวลากำหนด
10. ยาที่ได้จากโรงพยาบาลใส่ถุงซิปมาให้ไม่มีวันหมดอายุ ไม่ใช่ว่าจะใช้ได้ 5 ปี แต่วันหมดอายุอยู่ที่กระป๋องยา โรงพยาบาล คลินิกมักจะไม่ได้เขียนไว้ในซองยาให้ ดังนั้น หากเป็นยาเม็ดที่เหลือค้างไว้ที่บ้าน อย่าเก็บไว้เกิน 1 ปีเลยครับ หากเป็นยาน้ำที่ไม่ใช่ยาแก้อักเสบ สัก 3 เดือนก็เคลียร์กันสักครั้งจะดีกว่า
อาหารกระป๋อง นม หมดอายุ
นอกจากยาแล้ว อาหารหลายอย่างโดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูป นม มักมีอายุการเก็บ รวมทั้งวิธีการเก็บที่ถูกต้อง หากเก็บผิดวิธี อาจเสียก่อนหมดอายุ หากกินอาหารหรือนมที่เสียแล้วหรือหมดอายุแล้ว อาจก่อให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษ โดยมีสาเหตุมาจากแบคทีเรียในอาหาร นม รวมทั้งสภาพทางชีวเคมีของอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป
วิธีปฐมพยาบาลเมื่อกินยาหรืออาหารหมดอายุ
หากกินยาหมดอายุไม่ต้องล้วงคอ ไม่ต้องดื่มนม แต่อาจดื่มน้ำตามไปก่อน และเก็บฉลากให้รู้ชนิดยาที่กิน จำนวนที่กินเข้าไป สังเกตลักษณะที่ผิดปกติ เช่น สีที่เปลี่ยน กลิ่นที่ผิดปกติ และโทรถามศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี หมายเลข 0 2201 1083 ซึ่งศูนย์พิษนี้จะเปิด 24 ชั่วโมง มีนักเภสัชวิทยาคอยให้คำแนะนำ บอกวิธีการปฐมพยาบาล และความจำเป็นที่จะต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือไม่
สำหรับอาหารหรือนมที่หมดอายุ ให้สังเกตว่ามีอาการท้องเสีย อาเจียน ปวดท้องหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าว ให้ไปพบแพทย์

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/emaginfo/2014/08/21/entry-5ลิขสิทธิ์บทความของ e-magazine.info

logoline