svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

อึ้ง! "รอยยิ้มแห่งกาแล็กซี่" คล้ายกับรูป "อิโมจิยิ้ม"

26 พฤศจิกายน 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ก่อนหน้านี้ไม่นานเราคงเคยเห็นปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม ที่เกิดขึ้นแบบประจวบเหมาะ ของพระจันทร์เสี้ยวที่เคลื่อนตัวมาเจอกับดาว 2 ดวง จนทำให้เห็นเป็นรูปพระจันทร์ยิ้ม แต่เมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์ก็เกิดความประหลาดใจเมื่อพวกเขาเห็น ใบหน้ากลม คล้ายกับรูป "อิโมจิยิ้ม" หันมาทางโลก ใบหน้านั้นอยู่ในกลุ่มของกาแล็กซี่ ซึ่งเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ของดวงดาว

กลุ่มดาวนี้มีชื่อว่า SDSS J1038+4849 เป็นชื่อที่ใช้เรียกเพื่อง่ายต่อการจดจำมากยิ่งขึ้น
ซึ่งดวงดาวที่เหมือนดวงตา ที่มีแสงสีส้มที่ลอยอยู่เหนือจมูก ที่เป็นแสงสีขาว ถือว่าเป็นกาแล็กซี่ที่สว่างมากๆ ซึ่งอยู่ไกลออกไปประมาณ 4.6 พันล้านปีแสง ส่วนของที่ดูเหมือนรอยยิ้มและขอบของใบหน้านั้นไม่มีอยู่จริง เส้นแสงที่เกิดขึ้นเหล่านั้นเป็นแสงที่เกิดจากการบิดเบี้ยวซึ่งมาจากผลกระทบที่เราเรียกกันว่า gravitational lensing

อึ้ง! "รอยยิ้มแห่งกาแล็กซี่" คล้ายกับรูป "อิโมจิยิ้ม"


ในภาพนี้ ภาพของแสงที่บิดโค้งได้ถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนโค้งของรอยยิ้มและรูปโครงหน้า โดยดวงตานั้นทำให้เกิดเลนส์ขึ้นซึ่งทำให้เกิดรอยยิ้มเช่นนี้ แสงของมันมาจากแสงที่อยู่ด้านหลังของดวงตาซึ่งไกลกว่า 3 พันล้านปีแสง

logoline