svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

บังกลาเทศจลาจล หลังสั่งประหารผู้นำพรรคใหญ่

30 ตุลาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

บังกลาเทศเผชิญจลาจล เมื่อประชาชนที่โกรธแค้น ต่อคำตัดสินให้ประหารชีวิต ผู้นำพรรคการเมืองใหญ่ ออกมาเดินขบวนประท้วง และก่อเหตุรุนแรง ทำให้ตำรวจต้องใช้แก๊สน้ำตา และกระสุนยางเข้าสลายฝูงชน

พรรคจามัต-อี-อิสลามี พรรคใหญ่อันดับ 3 ในบังกลาเทศ ปลุกระดมให้ผู้สนับสนุนร่วมหยุดงานประท้วงทั่วประเทศเพื่อต่อต้านคำตัดสินของศาลพิเศษอาชญากรรมสากลของบังคลาเทศเมื่อวันพุุธที่ให้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ นายโมติอูร์ รัคมาน นิซามีหัวหน้าพรรควัย 71 ปี ในข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในช่วงสงครามเรียกร้องเอกราชจากปากีสถานเมื่อปี 2514 ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
และในวันนี้มีนักเคลื่อนไหวบางส่วนพยายามปิดกั้นทางหลวงสายหนึ่งในเมืองโบกราทำให้ตำรวจต้องยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนยางสลายฝูงชน และผู้ประท้วงบางส่วนตอบโต้ด้วยการขว้างระเบิดมือ และมีรายงานผู้บาดเจ็บ 8 คนจากการปะทะกันนอกจากนี้ยังมีเหตุประท้วงและการปะทะรุนแรงในเมืองอื่นๆด้วย
ธุรกิจร้านค้าและโรงเรียนหลายแห่งปิดทำการในช่วง 6 ชั่วโมงแรกของของการหยุดงานประท้วงที่เริ่มขึ้นใน 6 โมงเช้าวันนี้ตามเวลาท้องถิ่นและกำหนดสิ้นสุดในเช้าวันศุกร์นอกจากนี้ผู้ประท้วงยังนัดหยุดงานอีกในวันอาทิตย์และจันทร์ เนื่องจากวันศุกร์ และเสาร์ถือเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ของประเทศอยู่แล้ว
นายนิซามี ซึ่งเคยเป็นถึงรัฐมนตรีถูกตั้งข้อหา 16 ข้อหา ซึ่งรวมถึงข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฆาตกรรม ทรมาน ข่มขืนและทำลายทรัพย์สิน โดยเขามีบทบาทสั่งการ หรือ ลงมือสังหารประชาชนด้วยตัวเองเกือบ 600 คน
บังคลาเทศอ้างว่า ในช่วง 9 เดือนของการทำสงครามเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากปากีสถาน ทหารปากีสถานอาศัยความร่วมมือจากผู้สมคบคิดในบังคลาเทศ เข่นฆ่าประชาชนชาวบังกลาเทศถึง 3 ล้านคน ข่มขืนผู้หญิง 2 แสนคน และทำให้ประชาชนราว 10 ล้านคน ต้องอพยพหนีภัยสงคราม
อัยการ บอกว่าในช่วงนั้น นายนิซามีเป็นผู้บัญชาการกลุ่มติดอาวุธ ที่ทรมานและสังหารประชาชน ซึ่งรวมถึงครู วิศวกร และผู้สื่อข่าว แต่ทนายจำเลย แย้งว่า ไม่มีหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวหาว่า นายนิซามีลงมือสังหารคน และยืนยันจะอุทธณ์สู้คดี พร้อมทั้งกล่าวหาว่าการดำเนินคดีกับนิซามีเป็นเพียงความพยายามของรัฐบาลที่จะกำจัดศัตรู
ศาลพิเศษอาชญากรรมสากลถูกตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 และมีเพียงผู้นำฝ่ายค้านหลายสิบคนถูกตัดสินในคดีอาชญากรรมสงคราม องค์กรสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่มวิจารณ์การพิจารณาคดีว่าไม่ได้มาตรฐานสากลและไม่มีความยุติธรรม

logoline