svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

"พิษรักพิษณุโลก"..เพลงดังที่สุดของ"สีหนุ่ม เชิญยิ้ม"

01 ธันวาคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลายคนได้ยินเสียงเพลงนี้แล้วขนลุก..เพลงเพราะ แต่หลายคนจะขนลุกมากขึ้น เมื่อทราบว่าเพลงนี้ขับร้องโดย"สีหนุ่ม เชิญยิ้ม" ตลกรุ่นเก่าที่ลาโลกในวันที่ 1 ธันวาคม ..วันเดียวกับวันที่เขาลืมตาดูโลกเมื่อ 61 ปีก่อน


สีหนุ่มร้องเพลงนี้เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง"คนปีมะ" ของ โน๊ต เชิญยิ้มเหมือนเพลงทั่วๆไปของเมืองไทย นั่นคือรู้จักชื่อเพลง รู้จักนักร้อง แต่มักจะไม่รู้ว่าใครแต่ง โดยเฉพาะหากไม่ใช่นักแต่งเพลงอาชีพเช่นเดียวกับหลายเพลง "พิษรักพิษณุโลก" ที่ไม่มีคนรู้จักคนแต่ง เพราะถือเป็น"คนโนเนม"ในวงการ แถมบอกชื่อออกไป ก็ยังไม่มีใครรู้จัก"อุดม ทรงแสง" คือคนแต่งเพลงนี้ 
อุดม ทรงแสง หรือ อุดม ชวนชื่น เป็นชาวบ้านโป่ง ราชบุรี เกิดในครอบครัวชาวลิเก อุดมจึงรู้จักและเข้าถึงศิลปะแขนงนี้มาตั้งแต่เด็กอุดมเป็นคนที่ชอบเรื่องดนตรี และสามารถเล่นเครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงลิเกได้ทุกชิ้น แต่ลึกๆ เขาอยากเป็นนักดนตรีสากล เพราะเห็นว่าเท่กว่าเล่นลิเก อุดมจึงไม่ค่อยมีความสุขมากนักที่ต้องมาหัดร้องรำลิเก และมักจะหลบหนีการฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำ  อุดม ชวนชื่นชอบเรื่องดนตรี จึงสามารถเล่นเครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงลิเกได้ทุกชิ้น แต่ใจจริงเขาอยากเป็นนักดนตรีสากลมากกว่า เพราะเห็นว่าเท่ดี เขาจึงไม่ค่อยชอบเมื่อต้องถูกนำมาหัดร้องรำลิเก และก็มักจะหลบหนีการฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำ แต่อุดมก็"หนี"ลิเกไม่ได้ แถมต้องกลายเป็น"พระเอกลิเก" เมื่อพระเอกลิเกในคณะไม่มี เขาจึงถูกเข็นขึ้นเวทีในบทพระเอกขัดตาทัพ แต่ด้วยไหวพริบ การรู้เรื่องจังหวะดนตรี และปฏิภาณที่มีมากมาย ทำให้เขาเล่นได้ดีจนยึดเป็นอาชีพ และกลายเป็น"พระเอกลิเก"ของคณะ"ศิลป์ส่งเสริม" และประสบความสำเร็จถึงขั้นแยกมาตั้งคณะลิเก"อุดมศิลป์" พร้อมขยายออกแสดงลิเกทางวิทยุในนามคณะอุดม - แววดาว น้องสาวของเขา และประสบความสำเร็จมากมาย เพราะเป็นคณะแรกที่นำดนตรีสากลมาเล่นร่วมกับดนตรีไทยำพวหกระนาดในการแสดงลิเก ที่คณะลิเก"อุดมศิลป์" มีเครื่องดนตรีสากลทั้ง แอ็คคอร์เดี้ยน กีต้าร์ เบสและกลองชุด มาเล่นรวมกับเครื่องดนตรีลิเกไทย
อุดม ชวนชื่น ลงจากเวทีลิเกเพราะอายุมากเกินที่จะเล่นเป็นพระเอก และตัดสินใจเดินทางไปแสวงโชคในกรุงเทพฯ โดยไปสมัครเป็นนักดนตรีในวงดนตรีลูกทุ่งหลายคณะ แต่ไม่มีที่ไหนรับ เพราะอุดมไม่รู้เรื่องตัวโน๊ต แต่เพราะใจรัก อุดมจึงใช้เวลา 2 ปีโดยซื้อตำรามาอ่านจนรู้เรื่องโน๊ตดนตรี และได้งานในวงดนตรีคณะ"เพลิน พรหมแดน"ในวงดนตรีมีตลก และ 7 - 8 ปีต่อมา เทพ โพธิ์งามกับเพชร ดาราฉาย ก็ลาออกจากวงเพื่อไปตลกคาเฟ่ ชีวิตของอุดมเปลี่ยนไป เมื่อ"เพลิน พรหมแดน" บอกให้อุดมไปแสดงตลกที่หน้าเวทีดู และประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะหัวหน้าวงอย่างเพลิน พรหมแดน ที่แอบดูอยู่ถึงกับขำกลิ้งอยู่หลังเวที และอุดมก็รามือจากการเป็นนักดนตรีหันมาเล่นตลกอย่างเดียว โดยได้ค่าตัวถึงคืนละ 500 บาทอุดมเล่นตลกอยู่ประมาณ 1 ปี เขาก็นำตัว จิ้ม ชวนชื่น ลูกชายซึ่งเล่นลิเกอยู่มาร่วมวงด้วยในฐานนะนักแสดงตลก ได้ค่าตัว 150 บาท และเพลิน พรหมแดน เพิ่มให้เป็น 300 บาทเหตุเพราะร้องเพลงเพราะ แถม"จิ้ม ชวนชื่น" มีอักสถานะเป็นลูกคู่ของเพลิน พรหมแดน  ไม่นานนัก เพลิน พรหมแดน ก็ยุบวง อุดมก็ตกงาน เขาจึงหยิบเครื่องดนตรีไปสมัครเป็นนักดนตรีวงสายัณห์ สัญญา แต่ก็ถูกปฏิเสธเหตุอายุมาก แต่ก็ได้งานกับวงสังข์ทอง สีใส ที่ให้ค่าตัวคืนละ 200 บาท แต่ไม่เคยได้ขึ้นเล่นดนตรี อุดมรู้สึกเกรงใจ จึงหลบออกมาไปสมัครอยู่กับวงหงษ์ทอง ดาวอุดร แต่อยู่ได้ไม่นานก็ตัดสินใจรวบรวมสมัครพรรคพวกและลูกชายคือ จิ้ม ชวนชื่น ตั้งคณะตลกชื่อ "ชวนชม"
จากอุดม ทรงแสง เขาจึงเป็น"อุดม ชวนชื่น" นักแสดงตลก ที่แยกตัวจากวงเดิอมออกมา และไปขอให้หลวงพ่อวัดเชิงหวายตั้งชื่อคณะตลกให้ ซึ่งหลวงพ่อก็เอาชื่อศาลาวัด ที่ชื่อศาลาชวนชื่น มาตั้งเป็นชื่อคณะตลก ที่ต่อมากลายมาเป็นตำนานตลกครอบครัวที่โด่งดังที่สุดในประเทศไทย โดยสมาชิกในวงล้วนแล้วแต่เป็นลูกหลานมากมายของอุดม ชวนชื่น ผู้มากภรรยา ตามคำโบราณ รถไฟ เรือเมล์ ลิเก ตำรวจ...
มาถึงเรื่องการแต่งเพลง เป็นที่รู้กันว่า อุดมได้รับคำแนะนำมาจากพร ภิรมย์ ในช่วงที่เล่นลิเกด้วยกันนาน 2 ปี ที่แนะนำให้อุดมอ่านกลอนพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ จนเข้าใจเรื่องสัมผัสนอกสัมผัสใน ที่เป็นหัวใจของการแต่งเพลง เป็นอย่างดี และนักร้องคนแรกที่ได้ร้องเพลงของอุดมไปบันทึกเสียงคือ"คัมภีร์ แสงทอง" และยังมี ยอดรัก สลักใจ , เอกชัย ศรีวิชัย และอีกหลายคน แต่ไม่มีเพลงไหนประสบความสำเร็จเท่ากับ"พิษรักพิษณุโลก"ที่สำคัญ เพลงนี้เป็นเพลงเดียวที่"อุดม ชวนชื่น"ได้รับเงินจากการแต่งเพลง โดยได้เงินมา 2 หมื่นบาท เมื่อเพลงนี้ถูกนำไปใช้ประกอบภาพยนตร์  เรื่อง "คนปีมะ" ของ โน๊ต เชิญยิ้มส่วนที่มาของเพลงนี้ เกิดขึ้นบนรถบัสที่ขนนักร้องนักดนตรีกลับกรุงเทพฯจากการเดินสาย และจอดอยู่ริมลำน้ำในพิษณุโลก ซึ่งอุดมมองไปที่แม่น้ำในยามที่ฝนก็กำลังตกพรำๆ และมองเห็นผักตบชวาลอยไปสายน้ำ 
เมื่อเกิดจินตนาการ อุดมก็หากระดาษที่พอจะบันทึกจินตนาการนี้ไว้ แต่ไม่มีกระดาษสักแผ่น เห็นก็แต่หนังสือพิมพ์ อุดมจึงคว้ามันมาขีดเขียนไปบนพื้นขาวตรงขอบหนังสือคนที่ร้องเพลงนี้คนแรกและเป็นที่รู้จักดีคือ "สีหนุ่ม เชิญยิ้ม" นักตลกชื่อดังที่อุดมรู้จักดี ก่อนที่จะมีอีก 2คนนำไปจขับร้อง คือ สันติ ดวงสว่างและหนู มิเตอร์
แต่ไม่มีใครจดจำเท่ากับ"สีหนุ่ม เชิญยิ้ม" ไอ้หนุ่มจากเมืองพิษณุโลก ที่ถอดหัวใจออกมากลั่นเป็นเสียงเพลงได้ไพเราะมาก

ขอบคุณคลิปจาก YouTube โดย Aneww Paeng 

logoline