svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

Single Gateway: คืออะไร

29 กันยายน 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คนแวดวงไอทีวิตกกังวลพอสมควร หลังรัฐบาลเตรียมผลักดันการจัดตั้ง ซิงเกิล เกทเวย์ โดยมอบหมายให้กระทรวงไอซีทีรับผิดชอบ ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือบล็อคข้อมูลที่ให้เกิดความวุ่นวาย หรือเกิดความเกลียดชังได้ทันที ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าจะทำให้ไทยเกิดความเสียหายทางธุรกิจ หรือขาดโอกาสการเป็นฮับทางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน

เป็นตัวที่เชื่อมต่อโครงข่ายของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน สมมุติว่าเราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับเซิฟเวอร์ ปัจจุบันจะต้องผ่าน International internet gateway (IIG) ในประเทศเล็กๆ หรือประเทศที่ต้องการควบคุมผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น จีน หรือลาว ผู้ให้บริการ IIG จะมีเพียงเจ้าเดียวเท่านั้น
ในแง่ผู้ใช้งาน การมี gateway หลายๆ ที่ ก็เหมือนการมี gateway สำรอง เวลาgatewayหลัก ล่ม หรือมีทางออกอื่นที่เร็วกว่า ก็ไปใช้ทางออกนั้น บาง ISP ยังไม่ใช้ gateway ในไทย แต่ใช้การต่อไปยัง IIG ที่ต่างประเทศโดยตรง อย่าง Triple Three ยังมีลิงค์ไป Taiwan IIG ขนาด 600M ต่อตรงๆ ไม่ผ่าน IIG ในไทย ในแง่ผู้ใช้งาน การมี gateway หลายๆ ที่ ก็เหมือนการมี gateway สำรอง เวลา gateway หลัก ล่ม หรือมีทางออกอื่นที่เร็วกว่า ก็ไปใช้ทางออกนั้น

การใช้ Single gateway จะทำให้รัฐบาลสามารถปิดการสื่อสารกับต่างชาติ ทันทีโดยการควบคุมจุดๆเดียวและสามารถดักจับข้อมูลของผู้ใช้งานอินเตอร์เนตที่ใช้งานออกนอกประเทศได้


เกตเวย์ คือ ประตูเข้าออกอินเทอร์เน็ตสู่โลกภายนอก เชื่อมระหว่างเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งเทียบง่ายๆ คล้ายกับท่าเรือ สนามบิน ยกตัวอย่างถ้าใช้เฟซบุ๊กจากสมาร์ทโฟน ข้อมูลจากสมาร์ทโฟนจะส่งต่อไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ก่อนที่จะส่งต่อไปที่ผู้ให้บริการเกทเวย์กว่า 10 ราย ส่งไปที่ เกทเวย์ สิงคโปร์ เพื่อไปยังเซิฟเวอร์เฟซบุ๊กที่สิงคโปร์ เซิฟเวอร์เฟซบุ๊กที่สิงคโปร์ จะส่งข้อมูลกลับมาทางผ่านเกทเวย์ของ 2 ประเทศ เข้าผู้ให้บริการไอเอสพี เข้าสมาร์ทโฟนของเพื่อน

แม้ว่าเราอยู่ใกล้กัน แต่การสื่อสารต้องออกไปเซิฟเวอร์ในต่างประเทศก่อนจึงกลับมาอีกครั้ง แต่ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ถ้ารัฐบาลมีนโยบายที่จะให้ใช้ ซิงเกิล เกทเวย์ หรือประตูเข้า-ออก เดียว การเล่นเฟซบุ๊ก ก็จะเข้า-ออก เกทเวย์เดียวประตูเดียวเท่านั้น หรือย้อนไปก่อนปี 2540 ที่ไทยเคยมีเกทเวย์เข้าเดียว แม้จะเป็นเรื่องทางเทคนิคอาจฟังดูไกลตัว แต่เรื่องนี้มีผู้กระทบกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผู้เชี่ยวชาญมีข้อสังเกตช่องโหว่ของ ซิงเกิล เกทเวย์ สำหรับข้อดีของ ซิงเกิล เกทเวย์ คือรัฐบาลสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือบล็อคข้อมูลที่ให้เกิดความวุ่นวาย หรือเกิดความเกลียดชังได้ทันที ส่วนข้อเสีย มีการตั้งคำถามว่าจะไว้ใจการรักษาความปลอดภัยของผู้ให้บริการ เกทเวย์ เจ้าเดียวอย่างไร ราคาค่าบริการอินเทอร์เน็ตสูงขึ้นจากการขยายแบนวิธ ที่เหลือเพียงเจ้าเดียว หากไม่ขยายแบนวิธ จะทำให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตลดต่ำลง


ประเทศที่ใช้ ซิงเกิล เกทเวย์ มีหลายประเทศ เช่น จีน, ลาว, เกาหลีเหนือ เมียนมาร์และแถบตะวันออกกลาง โดยพบว่ารัฐบาลจีนสามารถควบคุมประชากร 90 เปอร์เซ็นต์ไม่ให้พูดถึงข้อมูลที่กระทบหน่วยงานรัฐ หรือเข้าถึงเว็บไซต์ต่างประเทศอย่าง กูเกิล, เฟซบุ๊ก, ยูทูป

ส่วนผลกระทบต่อการเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ผู้เชี่ยวชาญยังมองว่าหากมีการดำเนินนโยบายนี้จริง จะทำให้ไทยเกิดความเสียหายทางธุรกิจ หรือขาดความเชื่อมั่นจากต่างชาติได้ หรือขาดโอกาสการเป็นฮับทางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน ส่วนรัฐบาลให้เหตุผลว่าเป็นวิธีเพื่อดูแลความมั่นคง โดยกลับไปใช้ช่องทางการเข้า-ออกข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตแบบเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน

logoline