svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ รุ่น "สุขกันเถอะเรา"

06 มกราคม 2558
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รัฐมนตรีคลัง สมหมาย ภาษี บอกว่า วันที่ 12 -23 ม.ค.นี้ กระทรวงการคลัง ได้เสนอขายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ รุ่น สุขกันเถอะเรา วงเงิน 100,000 ล้านบาท

- เงินก้อนแรก 50,000 ล้านบาท จะออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2558 อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 3% ปีที่ 4-7 ดอกเบี้ย 4% และปีที่ 8-10 ดอกเบี้ย 5% ส่งผลให้ ดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้ง 10 ปี อยู่ที่ 4% 
- วงเงินก้อนที่สอง 50,000 ล้านบาท จะออกพันธบัตรรัฐบาล เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้ของธ.ก.ส. ที่ใช้วงเงินกู้ระยะสั้น จากสถาบันการเงินในโครงการรับจำนำข้าว 50,000 ล้านบาท มีอายุ 5 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 3.8% ดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังเสนอขายพันธบัตรรอบนี้ สูงกว่าพันธบัตรรุ่นเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหันมาออมเงินกันมากขึ้น
ทั้งนี้ ได้กำหนดวงเงินซื้อขั้นสูงไว้ที่ 2 ล้านบาทต่อราย ในสัปดาห์แรกของการจำหน่าย คือวันที่ 12-18 ม.ค. จากนั้นจะเปิดขายไม่กำหนดเพดานผ่านธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ผู้จัดการธนาคาร ธ.ก.ส. ลักษณ์ วจนานวัช บอกว่า  ขณะนี้ภาระหนี้ในโครงการรับจำนำข้าว 2 ส่วน 
-  ส่วนแรกที่ใช้สภาพคล่องของธนาคาร
-  ส่วนที่สอง สบน.เป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงิน ในรูปแบบระยะสั้น (เทอมโลน) และการออกพันธบัตร ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน วงเงินรวม 4.93 แสนล้านบาท ซึ่งการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ รุ่น สุขกันเถอะเรา ธ.ก.ส. วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท ถือเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ให้ยาวขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนภาระหนี้จากการกู้เงินจำนำข้าว เป็นพันธบัตร 64% และ เทอมโลน 36% จากเดิมที่มีสัดส่วน พันธบัตร 46% และเทอมโลน 54% ซึ่งสัดส่วนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยและลดการจ่ายเงินต้นของรัฐบาลในแต่ละปีลง
ทั้งนี้ ภาระเงินกู้ที่ต้องชำระในปีงบประมาณ 2558 วงเงินประมาณ 1.54 แสนล้านบาท โดยที่ผ่านมาได้ออกพันธบัตรไปแล้ว 5.3 หมื่นล้านบาท และการเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ รุ่นสุขกันเถอะเรา ในครั้งนี้อีก 5 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ยังมีภาระที่ต้องจัดหาเพื่อใช้เงินกู้อีก 5.07 หมื่นล้านบาท ซึ่งคงต้องหารือกับกระทรวงการคลังอย่างใกล้ชิดว่าจะใช้งบประมาณจากส่วนใดบ้าง

logoline