svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สนช.ห่วงเก็บภาษีมรดก ได้ไม่คุ้มเสีย

18 ธันวาคม 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รัฐมนตรีคลัง สมหมาย ภาษี ชี้แจงในที่ประชุมสภานินิตบัญญัติแห่งชาติ ถึงความจำเป็นของ พ.ร.บ.มรดก เพื่อลดเหลื่อมล้ำ และนำเงินมาพัฒนาประเทศ ขณะที่สมาชิก สนช. เป็นห่วงว่าจะได้ไม่คุ้มเสีย หลังจาก 12 ประเทศยกเลิกใช้ไปแล้ว

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. วันนี้ พิจารณาร่าง พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มีรัฐมนตรีคลังสมหมาย ภาษี เช้าชี้แจงหลักการและเหตุผลของ พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดกว่า ที่ผ่านมาการถ่ายโอนทรัพย์สินกองมรดกไม่ต้องเสียภาษี ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม จึงควรจัดเก็บเพื่อไปพัฒนาพัฒนาประเทศยกระดับการดำรงชีพประชชนยากไร้ โดยไม่ให้กระทบผู้ได้รับมรดกพอสมควรกับการดำรงชีพ
ส่วนร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร เป็นการแก้ไขให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การการรับมรดก ซึ่งประมวลรัษฎากรยังมีการงดเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะ ปัจจุบันรายได้จากการเก็บภาษีอยู่ที่ 18% ต่อจีดีพี ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วสูงถึง 30-40 % ซึ่งการจัดเก็บภาษีสูงไม่ได้หมายความว่าไปรีดเค้นจากประชาชน แต่เป็นการเก็บเพื่อให้มีการกระจายรายได้ไม่ไปกระจุกคนกลุ่มหนึ่ง และเอาเงินมาพัฒนาประเทศ การจัดเก็บภาษีมรดก 10 % จากส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท จะทำให้ภาษีขยับอยู่ที่ 21-22 % และหากคนไม่มีเงินชำระภาษีก็สามารถผ่อนจ่ายได้ 5 ปี โดย 2 ปีแรกไม่เสียดอกเบี้ย หรือ หากไม่มีเงินก็สามารถไปจัดตั้งเป็นกองมรดกได้
ขณะที่สมาชิก สนช.ได้อภิปรายอย่างกว้างขาง เช่นคุณประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อภิปรายว่า 12 ใน 25 ประเทศ ที่จัดเก็บภาษีมรดกปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว อย่าง ออสเตรเลีย แคนาดา / นิวซีแลนด์ / นอร์เวย์ เพราะ ไม่คุ้มค่าการจัดเก็บ หรือ ไม่ต้องการให้รายได้ออกไปนอกประเทศจากการหลบเลี่ยงภาษีมรดก และ สัดส่วน 10 % นั้นถือว่าสูงเป็นลำดับที่ 5 ของโลก ซึ่งประเทศไทย ยังมีทางเลือกในการเก็บภาษี โดยการการจัดเก็บภาษีฟุ่มเฟือยทั้งรถยนต์ เหล้า บุหรี่ ที่จะทำให้การจับเก็บรายได้เพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกับ คุณสมชาย แสวงการ ฝากให้รัฐบาลพิจารณารอบด้าน จัดการรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน เพราะนักวิชาการหลายมหาวิทยาลัยตรงกัน ว่าภาษีมรดกไม่สามารถแก้ปัญหาเหลื่อมล้ำได้ตรงจุด แต่อยากให้ผลักดันกฎหมายภาษี ทีดิน สิ่งปลูกสร้าง ลดความเหลื่อมล้ำ ที่ต้องนำเข้าสู่สภาโดยเร็ว
ขณะที่ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นห่วงการจัดเก็บภาษีมรดก เพราะการจัดเก็บไม่แน่นอน รายได้น้อย แต่มีภาระมาก เพราะจะมีการหลีกเลี่ยงด้วยการตั้งกองมรดก มูลนิธิ รวมไปถึงการโยกย้ายไปต่างประเทศ
จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในหลักการของร่างพ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ.... ด้วยคะแนนเห็นชอบ 160 เสียงต่อ 16 เสียง และงดออกเสียง 10 เสียง พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 25 คน มีระยะเวลาแปรญัตติ 15 วัน และระยะเวลาทำงานของกรรมาธิการฯ 90 วัน จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในหลักการของร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ด้วยคะแนนเห็นชอบ 172 เสียงต่อ 8 เสียง และงดออกเสียง 7 เสียง พร้อมทั้งใช้คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดเดียวกับที่พิจารณาร่างพ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก มีระยะเวลาแปรญัตติ 15 วัน และระยะเวลาทำงานของกรรมาธิการฯ 90 วัน

logoline