svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ถกเรียงช่องทีวีดิจิทัล กสท.ย้ำประโยชน์ผู้ชม

06 พฤศจิกายน 2557
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กสท.เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็น ร่าง ประกาศฯเรียงลำดับช่องทีวีดิจิทัล หมายเลข 1-36 ทุกแพลตฟอร์ม แจงอิงประโยชน์ผู้ชม-ป้องกันสับสน หมายเลขช่อง ด้านผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลหนุนร่างฯ ฝั่งโครงข่ายดาวเทียม-เคเบิลค้าน ชี้แข่งขันไม่เป็นธรรม

วานนี้ (5 พ.ย.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ พ.ศ....โดยมีผู้ประกอบการแพลตฟอร์มระบบดาวเทียม เคเบิลทีวี ช่องทีวีดิจิทัล ศิลปิน นักแสดง และประชาชนทั่วไปร่วมแสดงความคิดเห็น
สาระสำคัญของร่างประกาศฯ กำหนดให้ทุกแพลตฟอร์มเรียงลำดับหมายเลขช่อง "ทีวีดิจิทัล" เหมือนกัน โดยอยู่ที่ลำดับ 1-36 ต่างจากประกาศฯ เดิม ที่กำหนดให้แพลตฟอร์มระบบดาวเทียมและเคเบิลทีวี เรียงลำดับช่องหมายเลข 1-10 เอง และ ให้เรียงลำดับช่องทีวีดิจิทัลที่หมายเลข 11-46
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ร่างประกาศฯ เรียง ลำดับช่องใหม่ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย เพื่อนำไปปรับปรุงร่างฯ ให้เหมาะสม จากนั้นจะเข้าสู่ การพิจารณาของ บอร์ด กสท. และ กสทช. หากกรรมการ เห็นชอบ คาดจะประกาศใช้ภายในปีนี้
สำหรับเนื้อหาของร่างประกาศฯ ได้มองประโยชน์ ของประชาชนและสังคมเป็นหลัก เพื่อแก้ไขประกาศฯ เดิมที่จัดเรียงลำดับช่องทีวีดิจิทัล ซึ่งเป็นฟรีทีวีระดับชาติ ที่ประชาชนรับชมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งเดิม จัดเรียงช่องแตกต่างกันในแพลตฟอร์มระบบดาวเทียมและเคเบิลทีวี โดยกำหนดไว้ที่หมายเลข 11-46 ขณะที่โครงข่ายระบบดิจิทัลภาคพื้นที่ดินอยู่ที่หมายเลข 1-36
นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นบีซี กล่าวว่า การเรียงช่องทีวีดิจิทัล หมายเลขเดียวกันทุกโครงข่าย เชื่อว่าช่องทีวีดิจิทัล ประเภทสาธารณะ ซึ่งไม่แสวงหากำไร จะได้ ประโยชน์จากการจัดเรียงไว้ในลำดับแรกและเหมือนกันทุกโครงข่าย อีกทั้งไม่สร้างความสับสนให้กับ ประชาชนในการจดจำหมายเลขช่อง จึงสนับสนุนร่างประกาศฯ เรียงช่องใหม่ ทั้งเห็นว่าประกาศฯเดิมที่ให้โครงข่ายระบบดาวเทียมและเคเบิลจัดเรียงหมายเลขช่อง 1-10 เอง เจ้าของโครงข่ายส่วนใหญ่ นำช่องทีวีดิจิทัล ไปจัดเรียง ไว้ที่หมายเลข 1-10 และช่องทีวีดาวเทียมและเคเบิลอื่น ไม่ได้ประโยชน์จากประกาศฯฉบับเดิมเช่นกัน
นางจิตรลดา เฮงยศมาก ผู้ช่วยกรรมการ ผู้อานวยการฝ่ายกฎหมาย บริษัท จีเอ็ม เอ็ม แกรมมี่ จำกัด กล่าวว่าผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล เข้าร่วมประมูล ช่องทีวีดิจิทัลมาด้วยมูลค่าสูง เนื่องจากหลักเกณฑ์การ ประมูลกำหนดผู้ชนะประมูลสูงสุด สามารถเลือกหมายเลขช่องได้เป็นลำดับแรก ดังนั้นหมายเลขช่องจึงมีความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้เข้าประมูล และสนับสนุนร่างประกาศฯเรียงช่องใหม่ เพื่อให้ช่องทีวีดิจิทัล เป็นหมายเลขเดียวกันทุกโครงข่าย
นายมานพ โตการค้า ประธานชมรมผู้ประกอบ การโครงข่ายโทรทัศน์ดาวเทียม กล่าวว่าประกาศเรียง ช่องฉบับเดิมได้ผ่านความเห็นชอบจากทุกฝ่ายให้มีผล บังคับใช้ ซึ่งในช่วงที่ทีวีดิจิทัลออกอากาศได้ทำประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้หมายเลขช่องในแพลตฟอร์มดาวเทียมและเคเบิลไปแล้ว การจัดทำ ประกาศเรียงช่องใหม่ เชื่อว่าจะยิ่งสร้างความสับสน ให้ประชาชน และไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดาวเทียมและเคเบิล ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ แต่มีภาระในการนำช่องทีวีดิจิทัลมาออกอากาศ จึงไม่เห็นด้วยกับร่างประกาศฯใหม่
นางศุภสรณ์ โหรชัยยะ ผู้แทนบริษัททรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า "หมายเลข"ช่องทีวี ในลำดับต้นๆ ถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าของผู้ประกอบการโครงข่าย ดังนั้นจัดทำร่างประกาศฯเรียงช่องใหม่ โดยกำหนดให้ลำดับที่ 1-36 เป็นช่องทีวีดิจิทัล ทำให้โครงข่ายไม่สามารถใช้ประโยชน์และบริหารจัดการลำดับช่อง ต้นๆ ของบริษัทได้ ถือเป็นการออกประกาศฯ ที่เลือก ปฏิบัติระหว่างผู้ประกอบการทีวีดจิทัล และกลุ่มเคเบิล-ดาวเทียม ทำให้เกิดการแข่งขันไม่เป็นธรรม และเป็นการผลักภาระการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมาให้ฝั่งเคเบิลและดาวเทียม

logoline