svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

27 ตุลาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เศรษฐกิจพอเพียง หลักปรัชญาแห่งการดำเนินชีวิตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นบรมทรัพย์ที่เป็นคุณธรรม เป็นทางสายกลางแห่งปรัชญาในการดำเนินชีวิต เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งพ่อแห่งแผ่นดินได้ทรงมอบไว้กับประชาชนชาวไทยในการต่อสู้กับความยากจนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน


7 ทศวรรษแห่งการครองราชย์ ได้ทรงมอบโครงการ 4,685 โครงการที่ทรงศึกษา ค้นคว้า วิจัย และทรงหาทางแก้ไขให้กับคนไทย ยังได้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ที่ประเทศต่างๆ ยอมรับว่าเปป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงทำงานหนักที่สุดในโลก และไดัยกย่องให้ทรงเป็น King Of King
เมื่อวันเวลาผ่านพ้นไป ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรประมุข เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ที่มีประมุข ผู้นำและผู้แทนรัฐบาล ทูต และอุปทูต 94 ประเทศ มาร่วมงานถวายดอกไม้จันทน์พระศพในหลวงฯ รัชกาลที่ 9 ครั้งนี้


1. ปฐมบทแห่งการพัฒนาด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเอาชนะความยากจน ที่ทรงศึกษา ค้นคว้า วิจัย และทรงหาทางแก้ไขให้กับคนไทย เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงฯ รัชกาลที่ 9 ได้ทรงสร้างความอยู่ดีมีสุขกว่า 4,000 โครงการทั้งการฟื้นฟูแหล่งน้ำ การทำเกษตรทางเลือก ฟาร์มเลี้ยงปศุสัตว์ การพลิกฟื้นผืนดินต่อสู้กับความยากจน เพื่อที่จะพัฒนาให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
จากความมุ่งมั่นแก้ไขความทุกข์ยากของประะชาชนด้วยการวิจัยและค้นคว้ามานานับสิบปี นับจากการคิดค้นฝนเทียม การส่งเสริมงานเกษตรกรรมให้ประชาชนได้พึ่งพาตนเอง ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 โครงการจัดทำกังหันน้ำชัยพัฒนาที่ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา โครงการชั่งหัวมันที่ประสบความสำเร็จในการรจัดตั้งฟาร์มเลี้ยงโคนม และเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อต่อยอดด้านการเกษตร ในการทำมาหาเเลี้ยงชีพจากการปลูกผักปลูกพืชสวนครัว


2. ศาสตร์แห่งความรู้คู่คุณธรรมเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเศรษฐกิจที่เป็นรากศัพท์ของภาษาบาลีในทางพระพุทธศาสนานะนเป็นเรื่องของคุณธรรม คือกิจกรรมอันประเสริฐไม่ใช่เรื่องของเศรษฐกิจ หรือ Economy ขณะที่คำว่า Economist คือผู้บริหารจัดการ ซึ่งไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์อย่างที่เข้าใจเพียงอย่างเดียว
เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นบรมทรัพย์ที่เป็นคุณธรรรม และเป็นสายกลาง ไม่ใช่บอกว่าเเป็นเศรษฐกิจในความหมายที่พูดกันทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน ก็คือการทำจิตและทำอะไรด้วยการมีศีลสมาธิ และส่วนที่เป็นปัญญา คือรู้ให้ทะลุ ซึ่งทั้งหมด ก็คือความสมดุลของเศรษฐกิจพอเพียง กระจายความมั่งคั่งให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ ไม่รวยกระจุก หรือจนกระจาย เพราะความเหลื่อมล้ำในสังคม


3. เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 พระราชดำรัสของในหลวงฯ รัชกาลที่ 9 ทรงจุดประกายพลังแห่งศรัทธาต่อการดำเนินชีวิตที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า... "คนส่วนมากมักเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริง ผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่างๆ สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ได้...อันนี้ขอบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายคามว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป.."
และในวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 ก็ได้เกิดการเริ่มต้นของแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ที่เป็นพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นบรมทรัพย์ที่ถือเป็นคุณธรรม ... "ทฤษฎีใหม่ยึดหยุ่นได้ และต้องยืดหยุ่น เหมือนชีวิตของคนเรา ทุกคนค้องมียีดหยุ่น" เป็นพระราชดำรัส ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
พระราชดำริที่ทรงเรียกว่า "เกษตรทฤษฎีใหม่" หมายถึง หลักการและแนวทางในการใช้ที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรที่มีที่ดินถือครองขนาดเล็กให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดด้วยระบบการเกษตรที่ยั่งยื่น อันจำให้เกษตรกรรายย่อยดังกล่าว "มีพออยู่ พอกิน ถึงแม้ไม่รวยมาก แต่ก็มีพออยู่พอกิน ไม่อดอยาก" โดยแบ่งพื้นทีออกเป็น 4 ส่วนตามอัตราส่วน 30:30:30:10
พื้นที่ส่วนที่ 1 ราว 30% ให้ขุดสระกักเก็บน้ำเพื่อการปลูกพืชในฤดูแล้ง พื้นที่ส่วนที่ 2 ราว 30% ใช้ปลูกข้าวในฤดูฝน พื้นที่ส่วนที่ 3 ราว 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ฟืน พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ และพื้นที่ส่วนที่ 4 ราว 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ทำปศุสัตว์


4. ความสมดุลของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงฯ รัชกาลที่ 9 คือการดำรงชัวิตโดยมีชีวิตที่มั่นพัฒนา เพื่อไม่ให้เกิดผลลบข้างเคียงต่อบรรยากาศของการพัฒนา จึงส่งผลให้แนวทาง Sustainable Development ขององค์กรสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ที่นำมาใช้เพื่อให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกนำมาพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน ต้องยอมเห็นคล้อยตาม
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงฯ รัชกาลที่ 9 มีความชัดเจนของการพัฒนาตามแนวคิด Sustainable Development ที่ยูเอ็นกำลังใช้เป็นแนวทางการพัฒนาในอนาคต แต่ Sustainable Development ของยูเอ็นก็ยังไม่มีฐานอะไรรองรับที่ชัดเจน


5. เมื่อไม่นานมานี้ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) บอกว่าขณะนี้ที่โลกกำลังขาดสิ่งเรียกว่าเข็มทิศทางจริยธรรม เพราะสิ่งที่เศรษฐกิจทุนนิยมเสรีไม่ได้สร้างขึ้นมาก็คือการที่ทำให้ทุกคนสามารถอยู่ได้กับสิ่งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบัน
แต่ในหลวงฯ รัชกาลที่ 9 ทรงสอนเอาไว้ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงว่า ถึงแม้จะคิดอย่างรอบคอบมาแล้ว แม้จะเดินสายกลางมาแล้วก็ตาม ก็ต้องเผื่อไว้อีก เพราะว่าในสิ่งที่เป็นการผันแปรของโลกปัจจุบันมีความเชื่อมโยงกันหมด เราไม่ผิด คนอื่นก็ผิดได้ ถ้าคนอื่นผิดก็มาลงที่เราด้วยได้ นี่คือสิ่งที่เป็นปรัชญาของพระองค์ท่าน ที่มีส่วนที่แฝงอยู่ในเรื่องเข็มทิศทางจริยธรรม และอีกส่วนหนึ่งก็แฝงอยู่ในเรื่องเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธศาสนา
ประสบการณ์ของพระองค์ท่านนำมาใช้ในการพัฒนาชนบทซึ่ง สำคัญมาก ในเรื่องระบบการเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญที่มีการทดลองและคิดใหม่เสมอๆ ทั้งเรื่องการท่านทำเครื่องปั่นน้ำ ทำหญ้าแฝก ทำการแกล้งดิน
และยังทำอะไรต่ออะไรอีกมาก เป็นกระบวนการของความคิดใหม่ ซึ่งมีนวัตกรรมมาช่วยได้โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย ตัวอย่างเช่นบางเมืองที่เชียงใหม่ก็มีการใช้ สิ่งที่เรียกว่าไวเลสเซ็นเซอร์ มาใช้ในการจัดการน้ำเพื่อให้ใช้น้ำอย่างประหยัด ใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถทำให้เกษตรยั่งยืน หรือ Sustainable เหมือนที่ยูเอ็นต้องการตลอดเวลาว่า จะทำยังไงให้การทำเกษตรพัฒนาเป็นรูปแบบที่ยั่งยืนได้

logoline