svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

IMF เตือนความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นในระบบการเงินโลกในรายงานชื่อว่า Is Global At Risk?

23 ตุลาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

IMF เตือนความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นในระบบการเงินโลก ซึ่งระบุไว่ในรายงานล่าสุดชื่อว่า Is Global At Risk? โดยชี้ภาพความเป็นไปได้ที่จะเกิดวิกฤติการเงินครั้งใหม่ในช่วงปี 2022 ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงก็จะส่งผลต่อผลผลิตทางเศรษฐกิจที่ลดลงถึง 1.7%

เนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลและธนาคารกลางในประเทศต่างๆได้อัดฉีดเงินจำนวนหมาศาลจนล้นระบบการเงินทั่วโลกซี่งส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำและทำให้ตลาดการเงินสะสมฟองสบู่จากราคาหลักทรัพย์ที่พุ่งขึ้น พร้อมๆ กับภาระหนี้สินที่เพิ่มสูงทั้งหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือน

ท่ามกลางสัปดาห์แห่งความกังวลใจของนักลงทุนทั่วโลกในช่วงเวลาครบรอบ30ปีหลังจากเกิดวิกฤติการเงินและตลาดหุ้นทั่วโลกในวัน BlackMonday 19 ตุลาคม 1987 แม้จะผ่านพ้นไปแต่ในความรู้สึกของนักลงทุนยังคงไม่สามารถผ่านพ้นไปอย่างง่ายดาย

1. สัปดาห์แห่งความกังวลใจของนักลงทุนทั่วโลกในช่วงเวลาครบรอบ30ปีหลังจากเกิดวิกฤติการเงินและตลาดหุ้นทั่วโลกในวัน BlackMonday 19 ตุลาคม 1987 แม้จะผ่านพ้นไปแต่ในความรู้สึกของนักลงทุนยังคงไม่สามารถผ่านพ้นไปอย่างง่ายดาย

ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMFเตือนในรางานล่าสุด Global Financial Stability Report 2017 ชื่อว่า Is Global At Risk? ระบุถึงความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นในระบบการเงินโลกเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลและธนาคารกลางในประเทศต่างๆได้อัดฉีดเงินจำนวนหมาศาลจนล้นระบบการเงินทั่วโลกซี่งส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำและทำให้ตลาดการเงินสะสมฟองสบู่จากราคาหลักทรัพย์ที่พุ่งขึ้น พร้อมๆกับภาระหนี้สินที่เพิ่มสูงทั้งหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือน

แต่ระบบการเงินโลกในช่วง 3ทศวรรษที่ผ่านมาก็ยังไม่เกิดการปฏิรูปโครงสร้างจนเป็นที่มั่นใจได้อย่างหนักแน่นถึงการส้รางระบบป้องกันที่จะไม่เกิดวิกฤติซ้ำเดิมอีก

2. IMF ชี้ว่าบรรยากาศของการลงทุนยังคงตกอยู่ในภาวะของฟองสบู่จากการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายและอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลสูงขุเง17 ล้านล้านดอลลาร์โดยเฉพาะเม็ดเงินที่มาจาก 3 ธนาคารกลางใหญ่ของโลกคือ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)จนผลักดันราคาหุ้นพุ่งตัวสูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อจนถึงวันนี้

รวมทั้งนโยบายการก่อหนี้สาธานรณะละของรัฐบาลในประเทศต่างๆที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น ทำให้ฐานะการตลังของรัฐบาลทั่วโลกที่เคยแข็งแกร่งในช่วง 3ทศวรรษก่อนก็มีความเสี่ยงภับที่เพิ่มมากขึ้น

3. อย่างไรก็ตามตลาดยังคงไม่สนใจคำเตือนกลับมีเดิมพันของบรรดานักเก็งกำไรที่ยังคงมองถึงการปรับตัวของดัชนีดาวโจนส์เดินหน้าสู่ระดับ24,000 โดยดาวโจนส์ปิดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ระดับ 23,328 และตลาดยังึงลุ้นราคา Bitcoin ให้พุ่งทะลุถึง 10,000ดอลลาร์หลังจากที่ราคา Bitcoin พุ่งขึ้นทะลุ 5,000ดอลลาร์ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนตุลาคมก็เพราะปัญหาสภาพคล่องทางการเงินที่มีอยู่ล้นตลาดการเงินในขณะนี้

ขณะที่ในบริบทของGlobal Macrofinancial Model ปี 2017 ตามรายงานของIMF ชี้ถึงหนี้สินจำนวนมหาศาลที่ถูกสร้างขึ้นเนื่องจากการกู้ยืม จะทำให้ราคาสินทรัพย์ต่างๆ มีความเสี่ยงสูงมากขึ้นโดยที่ราคาผลตอบแทนจากการลงทุนที่เป็นพรีเมียมจะถดถอยลงเรื่อยๆ

4. สำหรับหนี้สินครัวเรือนกลายเป็นดินพอกหางหมูในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาโดยที่ไอเอ็มเอฟระบุว่า การขยับขึ้นของสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนทุก ๆ 1% ก็จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตขึ้นในระบบธนาคารได้ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น1%ด้วย

โดยรายงานของ IMFได้เตือนอีกว่ารัฐบาลของประเทศต่าง ๆให้ใช้ความระมัดระวังต่อนโยบายการพึ่งพาการบริโภคของประชาชนที่ถูกกระตุ้นเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวในทางตรงกันข้ามกลับสร้างหนี้ครัวเรือนของประชาชนเพิ่มขึ้นด้วยนำมาสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดความเสี่ยงและอาจจะเกิดภาวะล่มสลายทางการเงินครั้งใหญ่ตามมา

5. IMF ยังเตือนความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาในตลาดเกิดใหม่ที่ต้องเผชิญหลังจากมีการเคลื่อนย้ายของกระแสเงินทุนไหลเข้าในช่วงที่ผ่านมาท่ามกลางนโยบายของธนาคารกลางหลีกขิงโลกที่อัดฉัดเม็ดเงินจำนวนมากที่ทะลักเข้าสู่ระบบการเงินโลกกำลังจะเริ่มใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมาดขึ้นเพื่อเข้าสู่ภาวะที่เป็นปกติหรือ Normalixationในระหว่างปี 2017-2019นี้

ผลกระทบต่อตลาดการเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่ต้องเผชิญกับปัญหาการตกรางจากการดึงเม็ดเงินกลับโดยเฉพาะนโยบายการลดภาระในงบดุลของเฟดอาจจะส่งผลให้เม็ดเงินที่ไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ลดลงถึงปีละ2.5-3.5หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากที่ช่วง 4 ไตรมาสก่อนหน้านี้มีการไหลเข้าลงทุนของเม็ดเงินต่างชาติสูงถึง1 แสนล้านดอลลาร์

logoline