svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เฟดประกาศพร้อม Take Action ครั้งแรกรอบ 10 ปีลดภาระ QE ในงบดุล 4.5 ล้านล้านดอลลาร์

21 กันยายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เฟดประกาศพร้อม Take Action ลดภาระ QE ในงบดุล 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ในดือนตุลาคมนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีหลังจากเกิดวิดฤติการเงินสหรัฐปี 2007 เริ่มจากมาตรการปรับลดวงเงินเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์และปรับขึ้นทุก 3 เดือนถึงระดับเพดานที่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในทุกๆ เดือน ขณะเดียวกันมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 1.0-1.25% ในการประชุม 2 วันเมื่อวันที่ 19-20 กันยายน เป็นไปตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ พร้อมส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่งภายในปีนี้ และปรับขึ้น 3 ครั้งในปี 2018 รวมถึงปี 2019 อีก 2 ครั้ง ทำให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่สูงกว่า 2% เพื่อจะดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเหมาะสม

ขณะที่ BofA เตือนอันตรายจากนโยบายการลดภาระ QE ในงบดุลของเฟด จะส่งผลให้ตลาดบอนด์เกิดสภาพคล่องที่ค่อยๆ เหือดแห้งไป เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินที่เกิดจากเม็ดเงิน QE มีจำนวนที่ลดลงไปเรื่อยๆ ซึ่งถ้าเป็นไปตามทิศทางดังกล่าว ก็จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะมีการปรับตัวลดลงถึง 20% โดยเฉพาะหากสภาพคล่องส่วนเกินนั้นลดลงไปถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์
นับถอยหลังเลือกตั้งเยอรมัน 24 กันยายนนี้ ชี้ชะตาแองเกลา เมอร์เคิล จะได้ชัยชนะสมัยที่ 4 ในการเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมันหรือไม่ ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์รวมทั้งการชุมนุมประท้วงและสนับสนุนนโยบายการบริหารประเทศใน 2 เรื่องสำคัญ ทั้งเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจของเยอรมันเนื่องจากนโยบายช่วยเหลือทางการเงินต่อประเทศต่างๆ ในยุโรปที่ประสบกับปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะด้วยมาตรการรัดเข็มขัด และต่อมาการทะลักของผู้ลี้ภัยที่เกิดขึ้นมาจากภัยสงครามในตะวันออกกลางและแอฟริกา แต่โพลล์ความนิยมยังพบว่า พรรค CDU ของเธอยังคงนำเป็นอันดับหนึ่งที่ 37% ส่วนพรรคฝ่ายค้าน SPD ซึ่งนำโดย Martin Schultz ได้คะแนนนิยม 23%


1.คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตรียมดำเนินการลดภาระ QE ในงบดุล 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ในดือนตุลาคมเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีหลังจากเกิดวิดฤติการเงินสหรัฐในปั 2007 รวมทั้งมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 1.0-1.25% ในการประชุม 2 วันเมื่อวันที่ 19-20 กันยายน เป็นไปตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ พร้อมส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกหนึ่งครั้งภายในปี 2017 ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยระยะสั้นขึ้นสูงกว่า 2% ในปี 2018

ทั้งนี้ เฟดได้ประกาศว่าจะเริ่มปรับลดงบดุลที่ประกอบด้วยบอนด์รัฐบาลสหรัฐ ตราสารหนี้ของหน่วยงานของรัฐ และหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน หรือ MBS ในเดือนตุลาคม ภายใต้นโยบายปรับลดงบดุลของเฟด เฟดสินทรัพย์ทางการเงินถือไว้จะปล่อยให้ครบกำหนดอายุโดยไม่มีการนำเม็ดเงินไปลงทุนใหม่ และจะเพิ่มเพดานตามเป้าหมายตามที่เฟดกำหนด
ในเบื้องต้น เฟดจะจำกัดการลดวงเงินที่ระดับ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ก่อนที่จะขยายเพดานการลดการถือครองตราสารอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในทุกๆ ไตรมาส จนถึงเพดานเป้าหมายที่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนตุลาคม 2018


2.กรรมการของเฟด 12 จาก 16 คนคาดการณ์ว่า จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้น หรือ Fed Fund Rate อีกหนึ่งครั้งในปี 2017 นี้ ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 3 หลังจากปรับขึ้นมาแล้วในเดือนมีนาคม และมิถุนายน และจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 3 ครั้งในปี 2018 กับอีก 2 ครั้งในปี 2019 ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นขึ้นสูงกว่า 2%
แต่เฟดกลับปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยระยะยาวลงสู่ระดับ 2.8% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 3% ขณะที่คาดการณ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ระดับ 2.2% ในปีนี้ สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมในเดือนมิถุนายนที่ 2.1% ส่วนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวคงไส้ที่ระดับ 1.8%
นอกจากนี้ เฟดได้ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับ 1.5% ในปีนี้ จากเดิมที่ 1.7% และจะอยู่ที่ระดับ 1.9% ในปี 2018 จากเดิมที่ระดับ 2.0% โดยเชื่อว่าเงินเฟ้อจะยังไม่แตะระดับเป้าหมาย 2% จนกว่าจะถึงปี 2019
ทั้งนี้ เฟดจะมีการประชุมอีก 2 ครั้งปีนี้ในวันที่ 31 ตุลาคม-1 พฤศจิกายน และครั้งสุดท้ายในวันที่ 12-13 ธันวาคม ซึ่งเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดจะมีการแถลงข่าวหลังการประชุมพร้อมกับการทบทวนประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในช่วงต่อไป


3.ขณะที่ Bank Of America (BofA) เตือนอันตรายจากนโยบายการลดภาระ QE ในงบดุลของเฟดว่า จะส่งผลให้ตลาดบอนด์เกิดสภาพคล่องที่ค่อยเหือดแห้งไป เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินที่เกิดจาดเม็ดเงิน QE มีจำนวนที่ลดลงไปเรื่อยๆ ซึ่งถ้าเป็นไปตามทิศทางดังกล่าว ก็จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะมีการปรับตัวลดลงถึง 20% โดยเฉพาะหากสภาพคล่องส่วนเกินนั้นลดลงไปถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ โอกาสที่ตลาดหุ้นจะเกิดความผันผวนรุนแรงโดยดิ่งลงถึง 30%
นับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินสหรัฐที่เริ่มต้นในปี 2007-2008 นั้น เฟดได้เข้ามาอุ้มระบบธนาคารและลูกหนี้ขนาดใหญ่ รวมทั้งลูกหนี้ที่เกิดจากฟองสบู่แตกของภาคอสังหาริมทรัพย์ หรือวิกฤติซับไพร์มในสหรัฐ นำไปสู่การอัดฉีดเงินย่างสุดโต่งจำนวนมหาศาล จนถูกเรียกว่า Helicopter Money ที่เป็นการโปรยปรายแจกจ่ายเงินในยุคนั้น จนกระทั่งปี 2013 ถึงกลางปี 2014 จึงเริ่มหยุดการอัดฉีดเม็ดเงิน QE หรือที่เรียกว่า Taper Money
แต่เม็ดเงิน QE ที่ออกมาจากเฟดในช่วงดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นจากยอดคงค้างก่อนเกิดวิกฤติการเงินสหรัฐที่มีวงเงินเพียง 9 แสนล้านดดอลลาร์ บานปลายกลายเป็น 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน


4.ช่วงนับถอยหลังเลือกตั้งเยอรมัน 24 กันยายนนี้ ชี้ชะตาแองเกลา เมอร์เคิล จะได้ชัยชนะสมัยที่ 4 ในการเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมันหรือไม่ หลังจากที่คว้าชัยชนะเลือกตั้งถึง 3 สมัย โดยสมัยแรกเกิดชึ้นในปี 2005 สมัยที่สองปี 2009 และสมัยที่สามปี 2013 มาแล้ว ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์นโยบายการบริหารประเทศใน 2 เรื่องสำคัญ ทั้งเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจของเยอรมันเนื่องจากนโยบายช่วยเหลือทางการเงินต่อประเทศต่างๆ ในยุโรปที่ประสบกับปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะด้วยมาตรการรัดเข็มขัด และต่อมาการทะลักของผู้ลี้ภัยเนื่องจากวิกฤติผู้อพยพที่เกิดขึ้นมาจากภัยสงครามในตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งเกิดเป็นกระแสการชุมนุมของทั้งฝ่ายประท้วงต่อต้านและฝ่ายที่สนับสนุนในขณะนี้
ทั้งนี้ ตลอดปี 2017 ที่ผ่านมา ซึ่งทั่วโลกได้จับตาดูการเลือกตั้งในกลุ่มประเทศยุโรปว่าใครจะขึ้นมาเป็นผู้นำ หลังจากที่มีการต่อสู้แนวนโยบายบริหารประเทศอย่างเข้มข้นระหว่างแนวคิดเสรีนิยมแบบกลางๆ กับแนวคิดฝ่ายขวาสุดโด่ง ซึ่งการเลือกตั้งทั่วไปของเยอรมันที่จะจัดขึ้นในวันที่ 24 กันยายนนี้ จะเป็นประเทศที่ 4 ต่อมาจากเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และอังกฤษ


5.แต่โพลล์ความนิยมยังพบว่า พรรค Christian Democratic Union of Germany (CDU) ของเธอซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวากลางยังคงได้รับคะแนนนิยมเป็นอันดับหนึ่งที่ระดับ 37% ส่วนพรรค Social Democratic Party of Germany (SPD) พรรคฝ่ายต้านที่เป็นซ้ายกลางนำโดย Martin Schultz ได้คะแนนนิยมที่ 23% อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตาพรรคขวาจัดอย่าง Alternative for Germany (AfD) ที่ได้รับตะแนนนิยมเพียง 10% อาจมีโอกาสจะได้ที่นั่งในสภาเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ความพ่ายแพ้ของพรรคนาซีในปี 1945
อย่างไรก็ตาม แองเกลา เมอร์เคิล กลับไม่วางใจต่อสถานการณ์เลือกตั้งในช่วงโค้งสุดท้ายที่จะมีขึ้นวันอาทิตย์ ได้ประกาศรับมือขั้นสูงสุดป้องกันการแฮ็กข้อมูลแทรกแซงการเลือกตั้งโดยเฉพาะจากแฮ็กเกอร์ของรัสเซีย ซึ่งแม้จะมีการออกมาปฏิเสธจากทางการัสเซียทั้งจากการถูกกล่าวหาว่าทำการแฮ็กข้อมูลแทรกแซงการเลือกตั้งในฝรั่งเศสและสหรัฐ ก็ตาม
นอกจากนี้ ล่าสุดศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป หรือ ZEW เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนีพุ่งแตะระดับ 170 จุดในเดือนกันยายน จากระดับ 10 จุดในเดือนสิงหาคม โดนเป็นการปรับตัวขึ้น หลังจากตกลงไปติดต่อกันถึง 3 เดือนในช่วงก่อนหน้านี้

logoline