svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สหรัฐอาจต้องใช้เงิน 8.1 หมื่นล้านถึงหลายแสนล้านดอลลาร์ จากความเสียพายุเฮอริเคนเข้าถล่ม

11 กันยายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

CoreLogic บรัษัทข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก ระบุต้นทุนการซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัยใหม่ในเขตเมืองของสหรัฐที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากผลกระทบของพายุเฮอริเคน นับจาก Miami ถึงนิวยอร์ก คาดว่าจะใช้เม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 8.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ BofA คาดสร้างความเสียหายหลายแสนล้านดอลลาร์ส่งผลกระทบต่อภาพรวมจีดีพีสหรัฐลดลงอย่างน้อย 0.4% ในไตรมาส 3 ปีนี้ ส่วนโกลด์แมน แซคส์ ประเมินผลกระทบต่อจีดีพีติดลบถึง 1.1% อย่างต่อเนื่องใน 3 ไตรมาสจากนี้ไป ขณะที่ความเสี่ยงที่ต้องจับตามองอีกหนึ่งประเด็นในวันจันทร์นี้คือ การโหวตของ UNSC ในมติคว่ำบาตรอย่างรุนแรงมากมี่สุดฉบับใหม่ต่อเกาหลีเหนือ

ในที่สุดพายุเฮอริเคน Irma ที่ทำให้ต้องมีการอพยพประชาชนกว่า 6.3 ล้านคนได้ขึ้นฝั่งฟลอริดาใต้ที่เมือง Key ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ช่วงบ่ายวันอาทิตย์ตามเวลาในสหรัฐ สร้างความเสียหายอย่างหนัก ท่ามกลางย่านการท่องเที่ยวในเมือง Miami จมอยู่ใต้น้ำ ด้วยความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นถึงระดับ 4 ด้วยความเร็วลมสูงถึง 209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก่อนที่ลดลงที่ระดับ 2 เมื่อเบี่ยงไปทางตะวันตกที่พัดผ่านมายังเมืองแทมป้า ที่คาดว่าจะมีบ้านที่ได้รับความเสียหายกว่า 455,000 หลัง จากการเกิด Storm Surge ที่มีคลื่นซัดสูง 15 ฟุต ขณะมีคำเตือน storm surge ระยะทางยาว 4.6 กิโลเมตร โดยพบว่ามีคนไทยอาศัยอยู้ในฟลอริดาราว 20,000-30,000 คน
ขณะที่มีรายงานธนาคารกลางของกลุ่มประเทศขนาดใหญ่ทำการแทรกแซงตลาดการเงินโลก 2 ล้านล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ต้นปี 2017 โดยเข้าซืัอทั้งหุ้นและบอนด์ที่ส่งผลให้ฐานะงบดุลมียอดพุ่งขึ้นจาก 11.26 ล้านล้านดอลลาร์เป็น 15.6 ล้านล้านดอลลาร์นับตั้งแต่เกิดการล้มละลายของเลห์แมน บราเธอร์ส จนลุกลามกลายเป็นวิกฤติการเงินสหรัฐเมื่อปี 2008

1.ท่ามกลางความกังวลในการรับมือกับพายุเฮอริเคน Irma ซึ่งมีซึ่งมีการประเมินความรุนแรงสูงสุดถึงระดับ 5 เป็นลูกที่สองขึ้นฝั่งที่ฟลอริดาในขณะนี้ ต่อจากพายุเฮอริเคนฮาร์วีย์ที่สร้างความเสียหายในวงกว้างกับทํกกซัสเมื่อสัปดาห์ก่อน ทำให้ผู้คนในฟลอริดาต้องประสบกับปัญหาไปมีไฟฟ้าตั้งแต่เช้าวันอาทิตย์มากกว่า 1.1 ล้านราย โดย 574,000 รายอาศัยอยู่ในเขต Miami-Dade County ส่วนอีก 360,000 รายอยู่ใน Broward และ 136,000 รายอาศัยอยู่ใน Palm Beach County
ทั้งนี้ CoreLogic บรัษัทข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก ระบุต้นทุนการซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัยในเมืองของสหรัฐที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากผลกระทบของพายุเฮอริเคน นับจาก Miami ถึงนิวยอร์ก คาดว่าจะใช้เม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 8.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ Bank Of America (BofA) คาดสร้างความเสียหายหลายแสนล้านดอลลาร์ส่งผลกระทบต่อภาพรวมจีดีพีสหรัฐลดลงอย่างน้อย 0.4% ในไตรมาส 3 ปีนี้
ล่าสุด โกลด์แมน แซคส์ ประเมินผลกระทบต่อจีดีพีติดลบถึง 1.1% อย่างต่อเนื่องใน 3 ไตรมาสจากนี้ไป โดยเป็นการตัดลดจีดีพีสหรัฐลง 30% แต่ยังคาดการณ์ว่าจะเติบโตในระดับ 0.8-2.0% ในช่วงหนึ่งปับจากนี้ไป

2.ในที่สุดพายุเฮอริเคน Irma ที่ทำให้ต้องมีการอพยพประชาชนกว่า 6.3 ล้านคนได้ขึ้นฝั่งฟลอริดาใต้ที่เมือง Key ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ช่วงบ่ายวันอาทิตย์ตามเวลาในสหรัฐ สร้างความเสียหายอย่างหนัก ท่ามกลางย่านการท่องเที่ยวในเมือง Miami จมอยู่ใต้น้ำ ด้วยความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นถึงระดับ 4 ด้วยความเร็วลมสูงถึง 209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก่อนที่ลดลงที่ระดับ 2 ในช่วงเวลา 2 ทุ่ม โดยเบี่ยงไปทางตะวันตกที่พัดผ่านมายังเมืองแทมป้า ที่คาดว่าจะมีบ้านที่ได้รับความเสียหายกว่า 455,000 หลัง

โดยที่เมือง Miami ที่หวั่นเกรงว่า จะได้รับความเสียหายอย่างหนักในช่วงก่อนหน้านี้ ถึงแม้จะต้องจมอยู่ใต้น้ำในย่านที่เป็นใจกลางการพักผ่อนตากอากาศ จากการเกิด Storm Surge ที่มีคลื่นซัดสูง 15 ฟุต แต่ Miami ก็สามารถรอดพ้นจากการสูญเสียขั้นรุนแรงไปได้ เมื่อพายุเฮอริเคน Irma ได้เบี่ยงออกไปทางตะวันตกแทน โดยที่มีขณะมีคำเตือน storm surge ระยะทางยาว 4.6 กิโลเมตร
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีคนไทยที่อาศัยอยู่ในฟลอริดามีอยู่ราว 20,000-30,000 คน โดยมีรายงานว่า การเคลื่อนตัวของพายุเฮอริเคน Irma ที่เข้ามาถึงหลายประเทศในแถบทะเลแคริเบียนจนถึงคิวบานั้น ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงของพายุเฮอริเคน Irma ถึงระดับ 3 เช่นกัน จนถึงขณะนี้ พบว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วถึง 29 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตในฟลอริดา 3 ราย

3.ขณะที่มีรายงานธนาคารกลางของกลุ่มประเทศขนาดใหญ่ทำการแทรกแซงตลาดการเงินโลก 2 ล้านล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ต้นปี 2017 โดยเข้าซืัอทั้งหุ้นและบอนด์ ที่ส่งผลให้ฐานะงบดุลมียอดพุ่งขึ้นจาก 11.26 ล้านล้านดอลลาร์เป็น 15.6 ล้านล้านดอลลาร์นับตั้งแต่เกิดการล้มละลายของเลห์แมน บราเธอร์ส จนลุกลามกลายเป็นวิกฤติการเงินสหรัฐเมื่อปี 2008

สถานการณ์การเงินโลกตกอยู่ในภาวะที่ผลตอบแทนลงทุนในบอนด์ (บอนด์ยีลด์) ดิ่งลง ขณะที่ราคาหุ้นพุ่งขึ้น โดยนับตั้งแต่ปี 2009-2016 บอนด์ยีลด์โดยเเเฉะาะบอนด์รัฐบาลสหรัฐที่เปัตรอีางอิงลดลงจาก 3.9% เป็น 2.4% เทียบการลงทุนในหุ้นที่ S&P พุ่งขึ้นสวนทางที่ 14.9% ทั้งที่ช่วงก่อนระหว่าง 1998-2009 นั้นบอนด์ยีลด์ลดลงจาก 15.8% เป็้น 3.9% และดัชนัหุ้น S&P พุ่งขึ้น 14.9% ต่อปี ขณะที่อัตราบอนด์ยีลด์ในปี 2017 อยู่ที่ 2.0% แต่ผลตอนแทนหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 17.5%
อย่างไรก็ตาม จุดจบที่จะเกิดขึ้นกับการแทรกแซงของบรรดดาธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ โดยเฉแพาะเฟด ECB และ BOJ จะมาถึงเมื่อบอนด์ยีลด์ร่วงลงถึงจุดต่ำสุด นำไปสู่ภาวะการก่อหนี้ที่พุ่งสูง จากส่วนต่างของดออกเเบี้ยสูงขึ้น และในที่สุดจะนำไปสู่ผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้น
โดยที่การประชุมของเฟดที่จะมีขึ้น 2 วันในวันที่ 18 กันยายน เป็นช่วงสำคัญที่ต้องจับตานโยบายภาระการเงินในงบดุลของเฟด 4.5 ล้านล้านดอลลาร์จะส่งต่อตลาดการเงินโลกอย่างไร แต่สำหรับทิซทางดอกเบี้ยนั้น ตลาด 50% ที่คาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเยี้ยในการประชุมครั้งนี้

4.บรรยากาศของเกาหลีเหนือมีการฉลองวันก่อตั้งประเทศครบ 69 ปีตรงกับวันเสาร์ที่ 9 กันยายน เป็นไปอย่าคึกคัก โดยไม่มีการยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ลูกใหม่ตามที่มีการรายงานของสื่อเกาหลีใต้ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้แต่อย่างใด โดยที่สำนักข่าวกลางของทางการเกาหลีเหนือ (KCNA) ทำการเผยแพร่ภาพประชาชน และผู้นำระดับสูงของประเทศ นำพวงมาลามาวางยังอนุสาวรีย์คิม อิลซุง ผู้ก่อตั้งประเทศและประธานาธิบดีคนแรก ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งชาติ
ถึงแม้ว่าเกาหลีเหนือเพิ่งทดสอบระเบิดไฮโดรเจนที่มีอานุภาพสูงสุดเท่าที่เคยมีมาไปเมื่อวันที่ 3 กันยายน ทำให้สหรัฐเรียกร้องคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ (UNSC) ให้ใช้มาตรการคว่ำบาตรรุนแรงมากที่สุดฉบับใหม่จัดการกับเกาหลีเหนือ ซึ่ง UNSC จะมีการโหวตลงมติในวันจันทร์นี้นั้น
อย่างไรก็ตาม เกาหลีเหนือก็ไม่ได้ทดสอบขีปนาวุธหรือระเบิดนิวเคลียร์รอบใหม่ในช่วงฉลองวันชาติดังกล่าว แต่กลับมีภาพและรายงานการเฉลิมฉลองความสำเเรร็จของงการยิงระเบิดไฮโดรเจน ซึ่งตกนอกชายฝั่งเกาะฮอกไกโดเม่ีอวันที่ 3 กันยายน ให้กับเหล่านักวิทยาศาสตร์เกาหลีเหนือ โดยมีผู้นำเกาหลีเหนือคิม จองอึน มาเป็นประธานร่วมงาน พร้อมกับบรรดาผู้นำบริหารและผู้นำกองทัพใ นหอประชุมวัฒนธรรมแห่งชาติเท่านั้น

5.ในวันนี้อีกเช่นกันที่รัฐสภาอังกฤษจะลงมติวันจันทร์เพื่อให้มีผลต่ออังกฤษที่จะสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป (EU) อยย่างเป็นทาวการ และจะส่งผลต่อกฎหมายจำนวน 12,000 ฉบับที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับ EU กลับเข้าสู่การดำเนินการภายในของอังกฤษเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของ Brexit ล่าสุดกลับไม่ส่งผลต่อค่าเงินยูโรอย่างใด โดยทิศทางเงินยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.21 ดอลลาร์ต่อยูโรเมื่อวันศุกร์ นับเป็นการแข็งค่ามากที่สุดในระยะ 2 ปีครึ่ง ขณะที่ทิศทางเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินในกลุ่มประเทศ G-10 แล้ว อ่อนค่าลงต่ำสุดในระยะ 3 ปีครึ่ง โดยที่ Dollar Index เกือบหลุดระดับ 91 ลงมาในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

logoline