svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

จีนเตรียมใช้ 3 มาตรการฉุกเฉินตอบโต้สงครามการค้าของทรัมป์

28 สิงหาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จีนจะประกาศใช้มาตรการฉุกเฉินตอบโต้สงครามการค้าของทรัมป์ลดการถือครองสินทรัพย์และการใช้สกุลเงินดอลลาร์ รวมถึงการลดนำเข้าสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมขั้นสูงจากสหรัฐ ซึ่งจีนเป็นตลาดใหญ่อันดับสองของสหรัฐในขณะนี้ หลังจากที่ทางการสหรัฐมีการใช้มาตรา 301 ของกฎหมายการค้าตรวจสอบปฏิบัติทางการค้าของจีน และพุ่งเป้าตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน

พบสถิติว่า สหรัฐมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกเมื่อวัดตามกำลังซื้อของประชาชน (PPP basis) นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นมาแทนที่อังกฤษ โดยที่สัดส่วนจีดีพีอยู่ระหว่าง 24-30% ของจีดีพีโลก จนถึงปี 1998 ซึ่งสัดส่วนจีดีพีของสหรัฐเริ่มอ่อนแอลงและลดลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 20% ตั้งแต่ทศวรรษ 2010 เป็นต้นมา ขณะที่จีนมีสัดส่วนของจีดีพีที่แข็งแกร่งมากขึ้นนับจากช่วงกลางทศวรรษ 1980 ที่อยู่ต่ำกว่า 10% ไต่ขึ้นมายืนในระดับใกล้เคียงกับสหรัฐในปัจจุบัน

ทางด้านเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมเศรษฐกิจประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับในช่วงที่ผ่านมา ระบบธนาคารสหรัฐมีบทบาทในธุรกรรมทางการเงินน้อยเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจที่มีการขยายตัว แต่ระบบการเงินของสหรัฐก็มีความปลอดภัยมากขึ้นในขณะนี้ เมื่อเทียบกับในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน แม้ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการปฏิรูปที่จำเป็นและทำให้ระบบมีความปลอดภัยขึ้น โดยไม่ได้ส่งสัญญาณถึงทิศทางนโยบายการเงินในอนาคต


1.หนังสือพิมพ์ China People's Daily สื่อของทางการจีนรายงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จีนได้เตรียมพร้อมแล้ว 3 มาตรการสำหรับจะประกาศใช้มาตรการฉุกเฉินทั้งการลดนำเข้าสินค้าการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมขั้นสูงจากสหรัฐ ลดการส่งออกสินค้าไปสู่สหรัฐ และลดการใช้สกุลเงินดอลลาร์ที่รวมถึงการลดถือครองสินทรัพย์ทางการเงินในรูปสกุลเงินดอลลาร์ เพื่อตอบโต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เริ่มต้นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนในการสั่งให้ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ใช้กฎหมายการค้ามาตรา 301 ตรวจสอบแนวทางการค้าของจีน และพุ่งเป้าตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน

แรงกระเพื่อมจากมาตรการตอบโต้การค้าที่เกิดขึ้นนี้ จึงถูกมองว่าจะกลายเป็นอุปสรรคการเติบโตทางการค้าที่จะก้าวต่อไประหว่าง 2 ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ถ้าหากทั้งสองฝ่ายต่างประกาศมาตรการป้องกันการค้าของตนเอง ซึ่งอาจจะส่งผลในวงกว้างต่อการค้าโลกในภาพรวม


2.สำหรับสถิติการค้าระหว่างสหรัฐและจีนในมศวรรษที่ผ่านมา การส่งออกของสหรัฐไปยังจีนมีอัตราการเติบโต 11% ต่อปี โดยเป็นการส่งออกของผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรในสัดส่วน 15% ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกสินค้าจากถั่วเหลืองสูงถึง 62% ผลิตภัณฑ์จากฝ้ายมีจำนวน 14% นอกจากนี้เป็นการส่งออกเครื่องบิน 25% อีก 17% เป็นรภยนต์และอุปกรณ์ชิ้นส่วนรถยนต์ และเป็นสินค้าพวกอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกซ์ 15%

ขณะที่การส่งออกจากจีนไปยังสหรัฐมีอัตราการเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้จีนมีอิทธิพลทางการค้าของโลกมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดยสื่อจีนรายงานว่า แนวโน้มอีกหนึ่งมาตรการตอบโต้จากจีนคือการลดถือครองสินทรัพย์ทางการเงินในรูปสกุลเงินดอลลาร์

โดยพบว่า สหรัฐมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกเมื่อวัดตามกำลังซื้อของประชาชน (PPP basis) นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นมาแทนที่อังกฤษ โดยที่สัดส่วนจีดีพีอยู่ระหว่าง 24-30% ของจีดีพีโลก จนถึงปี 1998 ซึ่งสัดส่วนจีดีพีของสหรัฐเริ่มอ่อนแอลงและลดลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 20% ตั้งแต่ทศวรรษ 2010 เป็นต้นมา

ขณะที่จีนมีสัดส่วนของจีดีพีที่แข็งแกร่งมากขึ้นนับจากช่วงกลางทศวรรษ 1980 ที่อยู่ต่ำกว่า 10% ไต่ขึ้นมายืนในระดับใกล้เคียงกับสหรัฐในปัจุจุบัน โดยมีสัดส่วนที่ต่ำกว่าเพียง 2-3%


3.นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้ที่ทางการจีนจะลดการใช้เงินดอลลาร์ทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ หลังจากที่จีนพยายามผลักดันเงินหยวนให้เข้ามามีบทบาทเป็นสกุลเงินสากล และกลายเป็น 1 ใน 5 สกุลหลักในตระกร้าของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งประกอบด้วยเงินดอลลาร์ ยูโร ปอนด์ เยน และหยวน
รวมทั้งทางการจีนมีฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศมีสูงสุดถึง 4 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงปี 2014-2015 ก่อนที่จะประสบกับกระแสการไหลออกของเงินทุนลงมาอยู่ที่ 3.1 ล้านล้านดอลลาร์ในขณะนี้ ขณะที่ล่าสุดจีนได้ถือครองบอนด์รัฐบาลสหรัฐจำนวนกว่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ ยังคงเป็นอันดับหนึ่งของรัฐบาลต่างชาติที่มีการถือครองบอนด์รัฐบาลสหรัฐ ส่วนที่สองยังคงเป็นรัฐบาญี่ปุ่น

4.ทางด้านเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมเศรษฐกิจประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ในช่วงที่ผ่านมา ระบบธนาคารสหรัฐมีบทบาทในธุรกรรมทางการเงินน้อยเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจที่มีการขยายตัว แต่ระบบการเงินของสหรัฐก็มีความปลอดภัยมากขึ้นในขณะนี้ เมื่อเทียบกับในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน แม้ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบอีกหลายอย่าง โดยที่ได้ทำการปฏิรูปที่จำเป็น และgrเพื่อทำให้ระบบมีความปลอดภัยขึ้น

ทั้งนี้ เจเน็ต เยลเลน ไม่ได้ส่งสัญญาณถึงทิศทางนโยบายการเงินในอนาคต แต่ได้พุ่งความสำคัญในการกล่าวถึงช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน และการดำเนินการของเฟดเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยที่ประธานเฟดยังกล่าวเตือนถึงสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นอีกในอนาคต แต่ภาวะฟองสบู่แตกและการทรุดตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ได้ให้บทเรียนที่สำคัญแก่ตลาดการเงินของสหรัฐ


5.ประธานเฟดยืนยันว่าจะยังคงจับตาภาวะเศรษฐกิจต่อไป และทำการทบทวน รวมทั้งทำการวิจัยต่างๆ เพื่อให้มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของการปฏิรูปกฎระเบียบใหม่ๆ โดยเฉพาะแสดงความไม่เห็นด้วยต่อผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ นั้นได้ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกรรมในภาคธนาคาร พร้อมกับยืนยันว่า ข้อกำหนดในการบังคับให้ธนาคารเพิ่มทุน ยังคงช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการปล่อยสินเชื่อ

ตรงกันข้ามการได้เรียนรู้บทเรียนจากความเจ็บปวดจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าระบบการเงินและเศรษฐกิจมีโอกาสน้อยลงที่จะเผชิญกับวิกฤตการณ์ และจะสามารถฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์ได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่สร้างความบิดเบือน แต่เพื่อทำให้ภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจไม่ต้องเผชิญกับปัญหาเหมือนในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เมื่อทศวรรษที่ผ่านมานี้

นอกจากนี้ มาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งได้กล่าวสุนทรพตน์ในการร่วมประชุมประจำปีของเฟดที่แจ็กสัน โฮล ว่า ขณะนี้เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวมากขึ้น โดยไม่ได้ส่งสัญญาณเกี่ยวกับการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อบอนด์ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) แต่อย่างใด ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ประธาน ECB เผยท่าทีว่าเศรษฐกิจยูโรโซนอาจมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะลดการพึ่งพามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ตาม


logoline