svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

พรีวิวบรรยากาศนักลงทุน จับตาใกล้ชิดการประชุมประจำปีของเฟดที่แจ็กสัน โฮล

23 สิงหาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พรีวิวบรรยากาศนักลงทุนจับตาใกล้ชิดการประชุมประจำปีของเฟดที่แจ็กสัน โฮล ในวันพฤหัสฯ-เสาร์สัปดาห์นี้ โดยที่นักลงทุนยังคงอ่อนไหวต่อการตัดสินใจเข้าลงทุนที่มีผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยภายในเดือนธันวาคมของเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด ซึ่งจะแถลงในช่วงเช้าวันศุกร์ ถึงเสถียรภาพทางการเงินที่ยังยึดมั่นกับการเดินหน้าใช้นโยบายการเงินเข้มงวด หรือ Normalization ต่อไป ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่เป็นจริงในขณะนี้อยู่ที่ 1.3% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของเฟดมาก ขณะเดียวกันก็คาดหวังว่ามาริโอ ดรากี ประธาน ECB อาจจะส่งสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงินและแนวทางการอัดฉีดเม็ดเงิน QE ในอนาคต

ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดพุ่งขึ้น 195 จุดเมื่อคืนวันอังคาร ขานรับรายงานที่ว่า คณะทำงานของประธานาธิบดีทรัมป์ และแกนนำสภาคองเกรส มีความคืบหน้าในการผลักดันมาตรการปฏิรูปภาษี โดยเตรียมที่จะถกกันในวาระ 2 ต่อไป ส่วนหุ้นยุโรปปิดบวกเพิ่มขึ้น 0.8% ดยเฉลี่ย ขานรับความหวังประธาน ECB ส่งสัญญาณนโยบายการเงินที่ชัดเจนในการเข้าร่วมประชุมที่แจ็กสัน โฮล ขณะที่บรรดานักวิเคราะห์เฝ้ารอคำตอบการ taper เม็ดเงิน QE ของประธาน ECB ที่จะแถลงในศุกร์จะดำเนินการอย่างไรต่อไป หลังจากที่ความไม่แน่นอนดังกล่าวส่งผลต่อเสถียรภาพเงินยูโรผันผวนแข็งค่าสวนทางกับความเป็นจริงทางเศรษฐกิจที่ 1.20 ดอลลาร์ต่อยูโรในช่วงที่ผ่านมา
นอกจากนี้ มีรายงานของบลูมเบิร์กระบุว่า กองทุนที่บริหารเม็ดเงินกว่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์มีการเทขายทิ้ง Junk Bonds และตราสารหนี้ของประเทศตลาดเกิดใหม่ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกังวลต่อความไม่แน่นอนของตลาดการเงินที่เสี่ยงสูงขึ้นจนอาจจะถึงจุดที่เป็นอันตราย

1.ในการพรีวิวบรรยากาศนักลงทุนจับตาใกล้ชิดการประชุมประจำปีของเฟดที่แจ็กสัน โฮล ในวันที่ 24-26 สิงหาคมนี้ในประเด็นเรื่อง "Fostering a Dynamic Global Economy" ยังคงส่งผลต่อความอ่อนไหวของนักลงทุนที่จะตัดสินใจเข้าลงทุนขณะนี้ เนื่องจากไม่มั่นใจถึงผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยภายในเดือนธันวาคมของเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะแถลงในช่วงเช้าวันศุกร์ ถึงเสถียรภาพทางการเงินที่ยังยึดมั่นกับการเดินหน้าใช้นโยบายการเงินเข้มงวด หรือ Normalization ต่อไป ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่เป็นจริงในขณะนี้อยู่ที่ 1.3% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของเฟดมาก
ขณะเดียวกันนักลงทุนก็คาดหวังว่ามาริโอ ดรากี ประธานกลางบุโรป (ECB) อาจจะส่งสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงินและแนวทางการอัดฉีดเม็ดเงิน QE ในอนาคต ขณะที่บรรดานักวิเคราะห์เฝ้ารอคำตอบการ Taper เม็ดเงิน QE ของประธาน ECB ที่จะแถลงในศุกร์ด้วยว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป หลังจากที่ความไม่แน่นอนดังกล่าวส่งผลต่อเสถียรภาพเงินยูโรเกิดความผันผวนและแข็งค่าสวนทางกับความเป็นจริงทางเศรษฐกิจที่ 1.20 ดอลลาร์ต่อยูโรในช่วงที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าล่าสุดยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ที่ระดับ 1.1751 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1816 ดอลลาร์ ก็ตาม

2.ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 21,899 พุ่งขึ้น 196 จุด หรือ +0.9% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,452 เพิ่มขึ้น 0.99% และ Nasdaq ปิดที่ 6,297 พุ่งขึ้นแรง 1.36% หลังจากสำนักข่าวโพลิติโครายงานบนเว็บไซต์เกี่ยวกับการที่คณะทำงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และแกนนำสภาคองเกรส มีความคืบหน้าในการผลักดันมาตรการปฏิรูปภาษี โดยที่พอล ไรอัน ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ได้กล่าวล่าสุดในทิศทางที่เป็นบวกถึงแผนปฏิรูปภาษีน่าจะผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรสได้ง่ายกว่าร่างกฎหมายประกันสุขภาพ เนื่องจากสมาชิกรีพับลิกันมีความเห็นเป็นเอกฉันท์

ส่วนดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 0.8% ปิดที่ 375.80 จุด นำโดยดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันพุ่งขึ้น 1.35% ดัชนี CAC-40 หุ้นฝรั่งเศสปิดเพิ่มขึ้น 0.87% และดัชนี FTSE 100 หุ้นลอนดอนปิดเพิ่มขึ้น 0.86%
ทั้งนี้ นักลงทุนซึ่งให้ความสนใจจับตาการประชุมเศรษฐกิจประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อดูว่าเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด จะส่งสัญญาณอะไรเกี่ยวกับนโยบายการเงินในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมหรือไม่ เช่นเดียวกับมาริโอ ดรากี ประธาน ECB และฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งจะเข้าร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกด้วยเช่นกัน

3.แต่สำหรับบรรดานักวิเคราะห์กลับไม่คาดหวังและมองว่า ในแง่มุมของนโยบายการเงินไม่น่าจะมีอะไรที่แตกต่างไปจากช่วงที่ผ่านมา โดยบางคนเชื่อว่าการประชุมที่แจ็กสัน โฮล ของนายธนาคารกลางระดับผู้นำครั้งนี้เป็นแค่การดื่มด่ำกับธรรมชาติที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบข้างของสถานที่ประชุม โดยจะไม่มีแนวนโยบายใหม่เกิดขึ้น

โดยเฉพาะนักกลยุทธ์การลงทุนในบอนด์และตราสารหนี้ในขณะนี้ ควรจะคิดว่า เฟดควรทำอะไรในภาวะที่ตลาดเกิดการชะงักงันและอ่อนไหวต่อการตัดสนใจที่จะกลับเข้าลงทุนใหม่ แทนที่จะพูดเรื่องเสถียรภาพทางการเงิน ท่ามกลางความกดดันของข้อมูลด้านเงินเฟ้อที่อ่อนแอลง

4.อย่างไรก็ตาม มีรายงานของบลูมเบิร์กระบุว่า กองทุนที่บริหารเม็ดเงินกว่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์มีการเทขายทิ้ง Junk Bonds และตราสารหนี้ของประเทศตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งตราสารหนี้ที่มีเกรดต่ำกว่าระดับการลงทุน หรือ other lower-quality investments ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกังวลต่อความไม่แน่นอนของตลาดการเงินที่เสี่ยงสูงขึ้นจนอาจจะถึงจุดที่เป็นอันตราย
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับลดพอร์จลงทุนดังกล่าว จึงเกิดภาวะที่มีความผันผวนรุนแรงตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม โดยที่ผู้บริหารสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านี้ห็นว่า ความเสี่ยงขาจากการปรับฐานของตลาดที่กำลังเกิดขึ้นในระยะใกล้นี้ อาจจะส่งผลกระทบจนเกิดเป็นความผันผวนในระยะยาวได้



5.บรรดากองทุนที่บริหารสินทรัพย์มูลค่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ที่ปรับลดพอร์ตการลงทุนใน Junk Bonds อาทิเช่น JPMorgan Asset Management ที่บริหารเงินจำนวน 1.7 หมื่ยล้านดอลลาร์ ได้ปรับลดการถือ junk debt มาอยู่ที่สัดส่วน 40% จ่กเดิมถือที่ 50% รวมทั้ง DoubleLine Capital ที่มีการบริหารเงิน 1.1 แสนล้านดอลลาร์
ส่วน Allianz Global Investors ที่มีการบริหารเงิน 5.86 แสนล้านดอลลาร์ ก็มีการปรับลดการถือครอง euro high-yield เนื่องจากความปั่นป่วนจากการเทขายที่ขยายวงกว้าง เช่นเดียวกับ Deutsche Asset Management ที่บริหารเงิน 1 แสนล้านยูโร หรือ 1.17 แสนล้านดอลลาร์ ที่เป็นการลงทุนใน multi-asset portfolios ก็มีการปรับลดซานะถือครอง European junk bonds ลง
เช่นเดียวกับ Guggenheim Partners ที่บริหารเงิน 2.09 แสนล่นดอลลาร์ และ Brandywine Global Investment Management ซึ่งบริหารเงิน 7.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ปรับพอร์ตลดลงทั้งใน euro junk-bond และ multi-junk bonds

logoline