svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

"Amazon Effect" ปลุกสงครามค้าปลีกสหรัฐส่งผลเกิดเงินฝืด

20 กรกฎาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"Amazon Effect" ที่เตรียมตัวเข้าเทคโอเวอร์กิจการ Whole Foods Market กลายเป็นการศึกสงครามค้าปลีกกับ Wal-Mart อาจจะส่งต่อราคาสินค้าที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง บ่งชี้ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ซึ่งอาจจะมีผลต่อการละทิ้งนโยบายตั้งเป้าเงินเฟ้อ หรือ Inflation Target ที่ระดับ 2% ชั่วคราว หลังจากที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง และเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ

ขณะที่ผลการประชุมของ BOJ ล่าสุดในวันนี้ ตอกย้ำที่ดำเนินนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายต่อเนื่องเหมือนเดิม ในการคงอัตราดอกเบี้ยที่ ลบ 0.1% และการันตีผลตอบแทนลงในบอนด์รัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีที่ 0.00% โดยจะยังคงอัดฉีดเงินตามเป่หมายจำนวน 80 ล้านล้านเยน ในการเข้าซื้อบอนด์รัฐบาลและเอกชน แต่ยอมรับว่าในปี 2019 จีดีพีชองญี่ปุ่นจะชะลอตัวลงที่ 0.7% ซึ่งเป็นสัญญาณเสี่ยงต่อเศรษฐกิจขาลง

ท่ามกางความหวังที่หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐกลับกลายมาเป็นตัวจุดประกายหลักในการผลักดันให้ดัชนีราคาหุ้นทั้ง 3 ตลาดสหรัฐทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีความกังวลถึงภาพของ S&P 500 technology index ที่ดิ่งลงไปถึง 80% จากจุดสูงสุดในยุค Y2K เมื่อเดือนมีนาคม 2000 ในยุคที่เรียกว่า หุ้นดอทคอมฟองสบู่แตกเมื่อ 17 ปีก่อน แต่ในอีกด้านหนึ่งนักลงทุนเชื่อว่า จากโมเดลธุรกิจของกลุ่มเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปจากโมเดลเก่าอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ในการสร้างเครือข่ายที่ขยายตัวทางธุรกิจที่ครอบคลุมไปทั่วโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

1.ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจจะยกเลิกชั่วคราวเร็วๆ นี้ในการดำเนินนโยบายการเงินตามเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ หรือ Inflation Target ที่ระดับ 2% ต่อปี มาเป็นตัวชี้นำในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่ง BOJ ประกาศใช้เป็นทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายแบบสุดโต่งมาตั้งแต่ปี 2014 โดยที่มีสาเหตุมาจากสิ่งที่เรียกว่า "Amazon Effect"

หลังจากที่ Amazon ยักษ์ใหญ่ e-commerce ทั่วโลก ได้ประกาศเข้าซื้อและเตรียมการเทคโอเวอร์ Whole Foods Market จุดประกายสงครามการค้าปลีกกับ Wal-Mart ที่มีเครือข่ายร้านค้า grocery ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจค้าปลีกอย่างก้าวกระโดดครั้งใหญ่ทั้งในสหรัฐและขยายตัวไปทั่วโลก รวมทั้งส่งผลเป็นแรงกดดันต่อระดะบราคาสินค้าในอนาคต

ทั้งนี้ นักกลยุทธ์การลงทุนของ Credit Suisse มองว่า แนวโน้มการทำธุรกิจ e-commerce ของ Amazon และรายอื่นๆ กำลังเป็นสัญญาณที่ชี้ถึงภาวะ Disinflationary (ภาวะเงินฝืด) ครั้งใหม่


2.โดยก่อนหน้านี้ บีโอเจประกาศเลื่อนกำหนดเวลาบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% ไปเป็นภายในเดือนมีนาคม 2019 เป็นการเลื่อนครั้งล่าสุดหลังจากกำหนดครั้งแรกว่าจะบรรลุเป้าหมายให้ได้ในเดือนเมษายน 2015 เนื่องจาก BOJ ได้คาดการณ์ในปี 2014 ว่าระดับราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่จนถึงขณะนี้ราคาน้ำในตลาดโลกโดยเฉพาะ WTI อยู่ที่ระดับ 46 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
และผลจากราคาน้ำมันโลกที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ในปีนี้ ส่งผลต่อเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นล่าสุดอยู่ที่ 1.4% และทรงตัวอยู่ในระดับนี้จนถึงเดือนมีนาคม 2018 รวมทั้ง "Amazon Effect" อาจจะเป็นเหตุผลให้ BOJ ปรับเปลี่ยนการดำเนินนโยบายการเงินใหม่โดยยกเลิก Inflation Target ที่ระดับ 2% ชั่วคราว ถึงแม้ว่าเมื่อเดือนกันยายน 2016 ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการ BOJ ยืนยันว่า BOJ จะไม่ลังเลที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน หากพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเป็น โดยยังคงมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ให้เร็วที่สุดก็ตาม


3.อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมของ BOJ ล่าสุดในวันนี้ ตอกย้ำที่จะดำเนินนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายต่อเนื่องเหมือนเดิม ในการคงอัตราดอกเบี้ยที่ ลบ 0.1% และการันตีผลตอบแทนลงในบอนด์รัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีที่ 0.00% โดยจะยังคงอัดฉีดเงินตามเป่หมายจำนวน 80 ล้านล้านเยน ในการเข้าซื้อบอนด์รัฐบาลและเอกชน
นอกจากนี้ BOJ ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่นช่วง 3 ปี มีการประเมินว่าในปี 2017 จีดีพีจะปรับตัวสูงขึ้นที่ 1.8% ปี 2018 จะอยู่ที่ 1.4% แต่ในปี 2019 จะชะลอตัวลงที่ 0.7% ซึ่งเป็นสัญญาณเสี่ยงต่อเศรษฐกิจขาลง


4.ภาพของ S&P 500 technology index ที่ดิ่งลงไปถึง 80% จากจุดสูงสุดในยุค Y2K เมื่อเดือนมีนาคม 2000 ในยุคที่เรียกว่า หุ้นดอทคอมฟองสบู่แตกเมื่อ 17 ปีก่อน แต่จากโมเดลธุรกิจของกลุ่มเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปจากโมเดลเก่าอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ในการสร้างเครือข่ายที่ขยายตัวทางธุรกิจที่ครอบคลุมไปทั่วโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

โดยที่หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐกลับกลายมาเป็นตัวจุดประกายหลักในการผลักดันให้ดัชนีราคาหุ้นทั้ง 3 ตลาดสหรัฐทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยที่ดัชนี NasdaQ เป็นตัวนำปรับตัวสูงขึ้นที่ 6,385 เดินหน้าใกล้ระดับ 6.400 เข้าไปทุกที โดยที่มีสถิติชี้ว่า ณ จุดพีคของราคาหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐใน NasdaQ ขณะนี้เมื่อหักลบปัจจัยของเงินเฟ้อแล้ว ยังมีระดับที่ต่ำกว่าจุดพีคเมื่อ 17 ปีก่อนถึง 30% ถึงแม้ว่านักลงทุนจะยังมรความกังวลต่อนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น รวมทั้งมีคำเตือนมาจากธนาคารกลางสหรัฐต่อการที่ราคาหุ้นพุ่งขี้นมาอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อความเสี่ยงมราสูงขึ้นก็ตาม

ขณะที่ดาวโจนส์เดินหน้าปิดตลาดที่ 21,640 ก็ยังคงทำสถิติ all-time high เข้าใกล้ระดับ 22,000 เช่นเดียวกับ S&P500 ที่ปิดทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,473 ใกล้แตะระดับ 2,500 สวนทางดัชนีค่าเงินดอลลาร์ หรือ Dollar Index ที่ยังคงอ่อนตัวลงที่ระดับ 94.83


5.แม้แต่ MSCI Index ในเอเชีย-แปซิฟิก ยกเว้น ตลาดหุ้นญี่ปุ่น และ MSCI ของ Emerging Markets ก็พุ่งขึ้นในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2015 รวมทั้งหุ้น Small Cap ในดัชนี ChiNext ของจีนที่เจอการเทขายอย่างหนักในช่วงต้นสัปดาห์นี้ ก็กลับมาฟื้นตัวหลังธนาคารกลางจีนเข้ามาแทรกแซงอัดฉีดสภาพคล่องไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านหยวนต่อวัน

ทั้งนี้ เป็นเพราะผลพวงจากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐ ส่งผลต่อการปรับตัวขึ้นของหุ้นทั่วโลกเมื่อวันพุธ ทั้ง S&P 500 futures บวก 0.04% ที่ 2,458.75 ดัชนี STOXX Europe 600 บวก 0.2% ที่ 383.29 ดัชนี Dax เยอรมัน บวก 0.05% ที่ 12,437.20 ดัชนี Shanghai Composite บวก 1.36% ที่ 3,230.98 ดัชนี ChiNext บวก 1.04% ที่ 1684.77 ดัชนี Hang Seng บวก 0.6% ที่ 26,672.16 ดัชนี Nikkei 225 บวก 0.1% ที่ 20,020.86 ดัชนี Sensex อินเดีย บวก 0.5% ที่ 31,856.89 ดัชนีหุ้น Australia S&P/ASX 200 บวก 0.8% ที่ 5,732.13 ดัชนี Kospi เกาหลีใต้ บวก 0.2% ที่ 2,429.94

logoline