svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เงินหายาก! เป็นความกลัวของนักลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ เหตุสภาพคล่องอาจจะลดลงในอนาคต

18 กรกฎาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ภาวะเงินหายาก! เป็นความกังวลของนักลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่จากเหตุสภาพคล่องอาจจะลดลงในอนาคต นับจากสถานการณ์ที่เกิดขตี้นตั้งแต่ต้นปี 2017 นี้ ซึ่งตลาดหุ้นสหรัฐมีความผันผวนอยู่ในระดับต่ำเพราะขาดสภาพคล่องที่ลดลง เนื่องจากเม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดบอนด์และหุ้นในกลุ่ม Emerging Market รวมถึงการดำเนินนโยบายที่ตึงตัวมากขึ้นของเฟด โดยนักกลยุทธ์ในลอนดอนของ Bank of America Merrill Lynch เตือนว่าเหตุการณ์ดังกล่าวกำลังเป็นเรื่องท้ายทายในช่วงครึ่งหลังปีนี้

ทางด้าน Morgan Stanley เชื่อว่า เฟดกำลัง Punch Bowl Away ปัดภาระอุ้มราคาสินทรัพย์การเงินให้พ้นตัว โดยดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อลดภาระในงบดุลที่สูงขึ้นถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ กลับส่งผลให้เกิดการบิดเบือนของราคาในตลาดการเงินอย่างรุนแรง ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง แต่สวนทางกับราคาหุ้นที่พุ่งสูงขึ้น

เกิดปรากฏการณ์ที่มีการเทขายหุ้น SmallCap ใน Chinext Index อย่างหนัก ส่งผลให้ดัชนีราคาหุ้นร่วงลงถึง 5/1% เมื่อวันจันทร์ในวันเดียว โดยตั้งแต่ต้นปี 2017 มานี้ หุ้น SmallCap ดิ่งลงถึง 16% สวนทางกับภาพรวมของ้ศรษฐกิจจีนที่มีการขยายตัวเพิ่มขี้นถึง 6.9% ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ขณะที่ภาพรวมของตลาดหุ้นจีนที่ซื้อขายในดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต ที่เพิ่มขึ้น 2% ตั้งแต่ต้นปี รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของ MSCI China Index มากกว่า 30% ซึ่งเป็นหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดต่างประเทศ ทั้งในหุ้นของ Alibaba และ Tencent ที่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มเทคโนโลยีพุ่งสูงขึ้น

1.ภาวะเงินหายาก! เป็นความกังวลของนักลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่จากเหตุสภาพคล่องอาจจะลดลงในอนาคต นับจากสถานการณ์ที่เกิดขตี้นตั้งแต่ต้นปี 2017 นี้ ซึ่งตลาดหุ้นสหรัฐมีความผันผวนอยู่ในระดับต่ำเพราะขาดสภาพคล่องที่ลดลง เนื่องจากเม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดบอนด์และหุ้นในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) รวมถึงการดำเนินนโยบายที่ตึงตัวมากขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยนักกลยุทธ์ในลอนดอนของ Bank of America Merrill Lynch เตือนว่าเหตุการณ์ดังกล่าวกำลังเป็นเรื่องท้ายทายในช่วงครึ่งหลังปีนี้
ขณะที่นักกลยุทธ์การลงทุนของ Greenwich สหรัฐซึ่งบริหารกองทุนขนาด 6 พันล้านดอลลาร์ชี้ว่า ปัญหาใหญ่ที่กำลังเจอก์คือกระแสเงินทุนที่เริ่มไหลออกจากตลาดบอนด์ใน Emerging Market ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม แม้จะยังมีเม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้นแต่ก็เป็นสัดส่วนที่ชะลอตัวลง หลังจากที่ 6 เดือนแรกปีนี้มีเม็ดเงินไหลเข้าทั้งในตลาดหุ้นและตลาดบอนด์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะไหลเข้าในปริมาณสูงถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคม แต่ลดลงเหลือ 8 พันล้านดอลลาร์ในเดือนมิถุนายน เทียบกับเม็ดเงินไหลเข้าในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ระดับ 5-6 พันล้านดอลลาร์ต่อเดือน

2.ขณะที่นักลงทุนอาวุโสของ PineBridge Investments ในลอนดอน มองว่าความรู้สึกถึงความไม่แน่นอนที่กำลังเกิดขึ้นคล้ายๆ กับสถานการณ์ในช่วงปี 2007 ที่เกิดขึ้นจากวิกฤติการเงินในสหรัฐ จนส่งผลต่อการตกต่ำของตลาดหุ้นและตลาดบอนด์ทั่วโลก ขณะเดียวกันการที่นักลงทุนใน Emerging Market ที่ลงทุนโดยยึดติดกับมูลค่าของราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา อาจจะใกล้เวลาที่เม็ดเงินเหล่านั้นจะมีการไหลออกกันล้างแล้ว
นอกจากนี้ นักกลยุทธ์การลงทุนของ Bank of America Merrill Lynch คาดว่าสัญญาญการลดถือครองสินทรัพย์ที่เป็นจังค์ของเจ้าหน้าที่เฟดในครึ่งปีหลังนี้อาจจะส่งผลต่อความผันผวนที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จนอาจจะเกิดภาวะขาดสภาพคล่องตามมาใน Emerging Markets ซึ่งเป็นความท้าทายว้าจะเกิดซ้ำรอยกับปี 2008 หรือไม่
เช่นเดียวกับตัวเลขการวิเคราะห์ของ JPMorgan Chase ที่ชี้ถึงสภาวะความกังวลในเรื่องการก่อหนี้ประเภท high-yield debt ที่สูงขึ้นถึง 7.63 แสนล้านดอลลาร์ของกลุ่มประเทศในตลาดเกิดใหม่ในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินครั้งล่าสุดที่ผ่านมา

3.ทางด้าน Morgan Stanley เชื่อว่า เฟดกำลัง Punch Bowl Away ปัดภาระอุ้มราคาสินทรัพย์การเงินให้พ้นตัว โดยหันมาใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเพื่อลดภาระในงบดุลที่สูงขึ้นถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ กลับส่งผลให้เกิดการบิดเบือนของราคาสินทรัพย์ในตลาดการเงินอย่างรุนแรง เนื่องจากขณะที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง แต่สวนทางกับราคาหุ้นที่พุ่งสูงขึ้น

โดยเฉพาะเมื่อนักลงทุนมีการใส่เงินเข้าไปในตลาดหุ้น เพราะเชื่อว่า ภาวะ Trump Boom ซึ่งทำให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นมากกว่า 18.6% นับตั้งแต่หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ในขณะที่เฟดพยายามจะบอกว่า ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นมากเกินไปแล้ว จึงจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยและลดภาระของงบดุล รวมทั้งเป็นอรงกดดันทำให้เกิด Global Deflation

ท่ามกลางมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ไทยคนหนี่งที่เห็นว่า เศรษฐกิจในภาพรวมอยู่ในช่วงหาเงินยาก เนื่องจากรายได้เพิ่มขี้นน้อยกว่าภาระที่เป็นรายจ่าย ขณะเดียวกันกลุ่มคนร่ำรวยกลับมีการเก็บสะสมเงินไว้มากขึ้น

4.เกิดปรากฏการณ์ที่มีการเทขายหุ้น SmallCap ใน Chinext Index อย่างหนัก ส่งผลให้ดัชนีราคาหุ้นร่วงลงถึง 5/1% เมื่อวันจันทร์ในวันเดียว โดยตั้งแต่ต้นปี 2017 มานี้ หุ้น SmallCap ดิ่งลงถึง 16% สวนทางกับภาพรวมของ้ศรษฐกิจจีนที่มีการขยายตัวเพิ่มขี้นถึง 6.9% ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้

ในขณะที่ภาพรวมของตลาดหุ้นจีนที่ซื้อขายในดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต ที่เพิ่มขึ้น 2% ตั้งแต่ต้นปี รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของ MSCI China Index มากกว่า 30% ซึ่งเป็นหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดต่างประเทศ ทั้งในหุ้นของ Alibaba Group Holding Ltd และ Tencent Holdings Ltd ที่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มเทคโนโลยีพุ่งสูงขึ้น

5.การตกต่ำของราคาหุ้นในกลุ่ม Small-Cap ใน ChiNext ที่ร่วงลงถึง 16% ในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ ได้ส่งผลกระทบด้านลบต่อดัชนีอ้างอิงใน 96 Global Benchmarks ที่เป็นกลุ่มหุ้น Snall-Cap ซึ่งตรงข้ามกับ MSCI World Small Cap Index ที่พุ่งขึ้นถึง 10%
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์หุ้นในจีนมองว่าเป็นความท้าทายที่มีต่อประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงในสุดสัปดาห์นี้ จะหามาตรการที่จะสามารถรักษาบรรยากาศการลงทุนในภาพรวมของตลาดหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปสูงถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ ไม่ให้แรงกดดันทางด้านลบต่อนักลงทุนในตลาดให้คลี่คลายลงได้อย่างไร
ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดอินเตอร์แบงก์ มูลค่า 1.4 แสนล้านหยวน หรือ 2.06 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อวันจันทร์ นับเป็นการอัดฉีดสภาพคล่องที่มากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา


logoline