svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

Bank Of America คาดการณ์อันตรายจากความเสี่ยงของราคาสินทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า

14 กรกฎาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

Bank Of America คาดการณ์อันตรายจากความเสี่ยงของราคาสินทรัพย์ในตลาดกาารเงินทั่วโลกจะเกิดขึ้นในอีก 3-4 เดือนข้างหน้านี้ เนื่องจากแนวโน้มกาารดำเนินนโยบายกาารเงินของเฟดและธนาคารกลางทั่วโลกที่เข้มงวด กำลังทำให้คนรวยยากจนลง ขณะเดียวกันต้นทุนการเงินที่เป็น Global Bond Yield จะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนกาารถือบอนด์ที่เป็น Global Fixed Income Bonds ของธนาคารกลาางทั่วโลก ในสัดส่วน 31% ขณะนี้

ท่ามกลางการถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างเข้มข้นของบรรดานักวิเคราะห์ทางการเงิน หลังจากที่ธนาคารกลางหลักที่ประกอบด้วยเฟด อีซีบี และบีโอเจ ที่ทำการอัดฉีดเงินอย่างสุดโต่งผ่าน QE ในช่วงเกิดวิกฤติการเงินสหรัฐและวิกฤติหนี้สาธารณพของยุโรปเมื่อ 8-9 ปีก่อนหน้านี้ในวงเงินมหาศาลถึง 14 ล้านล้านดอลลาร์ กำลังทบทวนนโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ หรือ QE (Quantitative Easing) มาเป็นการใช้นโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้น หรือ QT (Quantitative Tightening)
ขณะที่เจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด กล่าวแถลงนโยบายการเงินกลางปีรอบ 2 ต่อวุฒิสภาเมื่อวัพฤหัสบดี ย้ำการปรับลดงบดุลจาก 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน จะไม่ปรับวงเงินงบดุลสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤตการณ์ ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน ส่วการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้ยังเปิดมุมมองเป็นครั้งแรกที่มีการวิจารณ์นโยบายการคลังของทรัมป์มีความไม่แน่นอนสูงว่าเป็นเรื่องท้าทายที่จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐที่ 3% ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้าอย่างไร

1.Bank Of America (BofA) มองภาพอันตรายในความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับการลงทุนในตลาดการเงินโลกในช่วง 3-4 เดือนข้างหน้านี้ ยืนยันเหตุผลตามบทวิเคราะห์ที่ออกมาในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ เนี่องจากนโยบายกาารเงินที่หักมุมกลับของเฟดและธนาคารกลางทั่วโลกมีความเข้มงวดมากขึ้น โดยชี้ว่า 2 เหตุการณ์อันตรายที่จะได้เห็นนี้คือ ภาพแรกที่จะทำให้การตกต่ำของตลาดหุ้น หรือ Great Fall ที่จะทำให้คนรวยจนลง (Poor Richer) ซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นวอลล์ สตรีท ยากจนลง และมีความผันผวนมากขึ้นด้วย
โดย BofA ชี้ว่า ในช่วงครึ่งแรกปี 2017 นี้ ตลาดหุ้นมีความแข็งแกร่งโดยที่นักลงทุนจำนวนมากได้เข้าซื้อหุ้นในปริมาณมาก และเป็นการซื้อหุ้นในราคาสูงเนื่องจากดัชนีราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ ซึ่งการที่ตลาดหุ้นจะแข็งแกร่งต่อเนื่องในครึ่งหลังปีนี้ ก็ต้องมีปัจจัยมาสนับสนุนเหมือนครึ่งปีแรก แต่ดูเหมือนว่าความหวังในบรรยากาศการลงทุนไม่เหมือนเดิม เนื่องจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกที่มีแนวโน้มจะเข้มงวดมากขึ้น เช่นเดียวกับทิศทางนโยบายการเงินของเฟด

2.BofA ยังอธิบายถึงภาพในเหตุการณ์ที่สอง ที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนทางการเงินที่เป็น Global Bond Yields มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสัดส่วนกาารถือบอนด์ของธนาคารกลาางทั่วโลกที่เป็น Fixed Income มีจำนวนสูงถึง 31% ของ Global Fixed Income Bonds ที่มียอดรวมสูงถึง 49 ล้านล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ การขายบอนด์ของธนาคารกลางจะเป็นการดึงเม็ดเงินกลับ จะทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยที่แพงขึ้น และส่งผลกระทบต่อผลประกอบของภาคธุรกิจที่มีการกิเงินด้วยการออก Global Fixed Income Bonds โดยเฉพาะผลกระทบต่อกลุ่มประเทศในตลาดเกิดใหม่

3.ท่ามกลางการถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างเข้มข้นของบรรดานักวิเคราะห์ทางการเงิน หลังจากที่ธนาคารกลางหลักที่ประกอบด้วยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ที่ทำการอัดฉีดเงินอย่างสุดโต่งผ่าน QE ในช่วง 8-9 ปีก่อนหน้านี้ในวงเงินมากถึง 14 ล้านล้านดอลลาร์ กำลังทบทวนนโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ หรือ QE (Quantitative Easing) มาเป็นการใช้นโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้น หรือ QT (Quantitative Tightening)
โดยเฉพาะเฟดได้นำร่องประกาศนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะที่เป็นปกติ หรือ Normalization ที่เริ่มมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้แล้ว เตรียมการปรับลดภาระงบดุลลงในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งมีเป้าหมายลดงบดุลจากภาระ QE ที่มีความคงค้างสะสมถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ มาอยู่ที่ 2-2.5 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นการปรับลดการถือครองบอนด์และสินทรัพย์ทางการเงินของเฟดลงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ไปจนถึงระดับ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน
นอกจากนี้ มาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป จะเข้าร่วมการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ ที่เมืองแจ็คสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 24-26 สิงหาคมนี้ โดยคาดว่า มาริโอ ดรากี จะกล่าวสุนทรพจน์แสดงความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจของยูโรโซน ก่อนที่การประชุมนโยบายการเงินของ ECB จะมีขึ้นในวันที่ 7 กันยายน ซึ่งตลาดเชื่อว่า มีแนวโน้มที่อีซีบีจะส่งสัญญาณารปรับลด QE ลงจากระดับ 2.3 ล้านล้านยูโรในปี 2018
4.จากปัจจัยที่เฟดยกมาเตือนถึงราคาหุ้นที่พุ่งสูงขึ้นอย่างร้อนแรงจนทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ทั้งดาวโจนส์ S&P500 และ Nasdaq ในช่วงที่ผ่านมา จนเป็นแรงกดดันที่ทำให้เฟดยกเป็นประเด็นพิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอความร้อนแรงของตลาดหุ้นสหรัฐ
หากมองย้อนกลับไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อดูจากอัตรา P/E ratio ผ่านดัชนี S&P500 ที่มีค่าเฉลี่ยของ P/E ratio 10 ปีอยู่ที่ 16.7 เท่า โดยที่ระดับของ P/E ratio ณ เดือนมกราคมตั้งแต่ปี 2012-2017 ในปี 2012 อยู่ที่ 14.87 เท่า ปี 2013 อยู่ที่ 17.03 เท่า ปี 2014 อยู่ที่ 18.15 เท่า ปี 2015 อยู่ที่ 20.02 เท่า ผี 2016 อยู่ที่ 22.18 เท่า และปี 2017 อยู่ที่ 25.54 เท่า ซึ่งราคาหุ้นใน S&P500 ยังคงปรับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ส่งผลให้ P/E ratio ผรับขึ้นต่อที่ 25.65 เท่า

5.เจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด กล่าวแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อแต่คณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาเมื่อวัพฤหัสบดี เป็นรอบที่ 2 จากรอบแรกที่มีการแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการทางการเงินของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเมื่อวันพุธ โดยย้ำการปรับลดงบดุลจาก 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน จะไม่ปรับวงเงินงบดุลสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤตการณ์ (ซึ่งอยู่ที่ 9 แสนล้านดอลลาร์) โดยจะปรับลดงบดุลที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน
แต่เจเน็ต เยลเลน ยอมรับว่า ผลกระทบจากการปรับลดงบดุลของเฟดจะทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นในระยะยาว นอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นมีการปรับตัวขึ้นในขณะนี้ โดยที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดจะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
นอกจากนี้ ประธานเฟดเปิดมุมมองเป็นครั้งแรกที่มีการวิจารณ์การบริหารเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ท่ามกลางนโยบายการคลังมีความไม่แน่นอนสูง ถึงแม้ว่าแผนการปฏิรูปภาษีเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายเช่นกันว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต ที่จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐที่ระดับ 3% ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้าอย่างไร

logoline