svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

มติเฟด 8:1 เดินหน้าปรับลดภาระ QE ในงบดุลลงครึ่งหนึ่ง ตั้งเป้าเหลือ 2-2.5 ล้านล้านดอลลาร์

15 มิถุนายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มติเฟด 8 ต่อ 1 ส่งสัญญาณ Taper QE ปรับลดงบดุล (Balance Sheet) เป็นครั้งแรกคาดจะเริ่มต้นเดือนกันยายนปี 2017 นี้ ซึ่งจะตัดลดภาระ QE เดือนละ 1-5 หมื่นล้านดอลลาร์ จากยอดรวม QE ที่ยังเหลือคงค้างมาตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินและวิกฤติซับไฟรม์สในสหรัฐในจำนวนมหาศาลถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ลงเหลือ 2-2.5 ล้านล้านดอลลาร์ซึ่งยังไม่มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจน พร้อมกับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 1.25%

โกลด์แมน แซตส์ วาณิชธนกิจชั้นนำสหรัฐ คาดว่าการปรับลดภาระ QE ในงบดุลบัญชี เพื่อกลับเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า Normalization ของเฟดน่าจะเกิดขึ้นในเดือนกันยายนนี้ ขณะที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหม่จะมีขึ้นในเดือนธันาวาคม ถึงแม้ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐจะมีความเสี่ยงต่อการดำเนินยโยบายการที่เข้มงวดมากขึ้นก็ตาม
ขณะที่เหตุโศกราฏกรรมไฟผลาญทุกอย่างตึกเกรนเฟลล์ ทาวเวอร์ ซี่งเป็นอพาร์ตเมนท์ 24 ชั้นที่มีผู้อยู่อาศัย 600-800 คนในประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งกลางกรุงลอนดอนเมื่อวันอังคาร หลังใช้เวลากว่า 16 ชั่วโมงในการเข้าควบคุมเพลิง โดยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 12 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอาการสาหัส 20 คนจากจำนวนผู้บาดเจ็บที่ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล 68 คน
1.คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติ 8-1 เสียง ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น Fed Fund Rate 0.25% สู่ระดับ 1.25% ในการประชุม 2 วันเมื่อวันที่ 13-14 มิถุนายนนี้ ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ นับเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2015 ต่อมาในเดือนธันวาคม 2016 ก่อนที่จะปรับขึ้น 2 ครั้งในปีนี้เมื่อเดือนมีนาคม และครั้งล่าสุดในวันนี้
ขณะเดียวกันกรรมการเฟดส่วนใหญ่คาดว่ายังจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปี 2017 นี้ และคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีหน้า
ทั้งนี้ เป็นความยพายามของเฟดที่จะกลับเข้าสู่วัฏจักรภาวะดอกเบี้ยมที่เป็นปกติ (Nornailzation) หลังจากที่ดำเนินนโยบายการเงินผ้อนคลายแบบสุดโต่งมาตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินและวิกฤติซับไฟรม์สในสหรัฐปี 2007-2008 จนต้องอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ที่เรียกว่านโยบาย QE (Quantitative Easing Policy)

2.เฟดตัดสินใจจะเริ่มปรับลดงบดุลในปีนี้ ลงเดือนละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ จนถึง 5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยคาดหวังว่าการลดการถือครองสินทรัพย์นี้จะดำเนินไปจนกระทั่งงบดุลของเฟดลดลงสู่ระดับ 2.0-2.5 ล้านล้านดอลลาร์ จากปัจจุบันที่ระดับ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ หากว่าเศรษฐกิจมีการปรับตัวตามที่คาดการณ์ ซึ่งการปรับลดงบดุลของเฟด จะส่งผลให้เฟดลดการถือครองพันธบัตร และหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (MBS) ที่ได้มีการเข้าซื้อในตลาดในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินและวิกฤติซับไพรม์ส เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
โดยในเบื้องต้นเฟดจะจำกัดเพดานการลดวงเงินการถือครองพันธบัตรรัฐบาลที่ระดับ 6 พันล้านดอลลาร์ต่อเดือน ก่อนที่จะขยายเพดานการลดการถือครองพันธบัตรอีก 6 พันล้านดอลลาร์ในทุกๆ ไตรมาสในช่วงระยะเวลา 12 เดือน จนถึงระดับ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ของภาครัฐ และหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (MBS) นั้น ในเบื้องต้นเฟดจะจำกัดเพดานการลดวงเงินการถือครองที่ระดับ 4 พันล้านดอลลาร์ต่อเดือน ก่อนที่จะขยายเพดานการลดการถือครองอีก 4 พันล้านดอลลาร์ในทุกๆ ไตรมาสในช่วงระยะเวลา 12 เดือน จนกระทั่งแตะระดับ 2 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน

3.ในมุมมองคาดการณ์เศรษฐกิจของเฟด โดยแถลงการณ์ระบุว่าจะยังคงใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย เพื่อสนับสนุนความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน และผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับ 2% ที่เป็นเป้าหมายซึ่งคาดว่าจะมองเห็นแนวโน้มดังกล่าวนี้ในปี 2018 หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อจะยังคงต่ำกว่าเป้าหมายของเฟดที่ระดับ 1.6% ในระยะใกล้ ลดลงจากระดับ 1.9% ที่คาดการณ์ไว้เดิม แต่จะเข้าใกล้เป้าหมายที่ 2% ในระยะกลาง
ขณะเดียวกันเฟดได้ปรับลดอัตราการว่างงานในปีนี้ โดยคาดว่าอัตราว่างงานจะอยู่ที่ระดับ 4.3% ในปลายปีนี้ จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนมีนาคมที่ระดับ 4.5% และคาดว่าจะอยู่ที่ 4.2% ในปีหน้า จากเดิมที่ 4.5%
สำหรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมีการปรับตัวตามที่เฟดคาดการณ์ เฟดได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ตัวเลขจีดีพีสหรัฐในปีนี้สู่ระดับ 2.2% จากเดิมที่ 2.1% ส่วนปี 2018 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.1% และปี 2019 จะอยู่ที่ 1.9% ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้

4.โกลด์แมน แซคส์ คาดว่าการปรับลดภาระ QE ในงบดุลบัญชี เพื่อกลับเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า Normalization ของเฟดน่าจะเกิดขึ้นในเดือนกันยายนนี้ ขณะที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหม่จะมีขึ้นในเดือนธันาวาคม

ถึงแม้ว่าเฟดจะยอมรับในแถลงการณ์ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐจะมีความเสี่ยงต่อการดำเนินยโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น แต่เฟดจะยังคงเดินหน้าที่จะปรับลดภาระในงบดุลรวมทั้งการขี้นดอกเบี้ยต่อไป


5.เกาะติดเหตุโศกนาฏกรรม ท่ามกลางความโกลาหลหนักไฟผลาญทุกอย่างของตึกเกรนเฟลล์ ทาวเวอร์ อพาร์ตเมนท์ 24 ชั้นที่มีผู้อยู่อาศัย 600-800 คนกลางกรุงลอนดอนเมื่อวันอังคาร หลังใช้เวลากว่า 16 ชั่วโมงในการเข้าควบคุมเพลิง โดยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 12 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอาการสาหัส 20 คนจากจำนวนผู้บาดเจ็บที่ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล 68 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ช่วยเหลือชีวิตของผู้ประสบภัยจำนวนมาก แต่นายกเทศมนตรีของกรุงลอนดอนกล่าวว่ายังมีคนจำนวนอีกมากที่ยังไม่ได้ถูกนับรวม

นับเป็นเหตุเพลิงไหม้ครั้งประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งของอังกฤษ จากเหตุไฟไหม้อาคารเกรนเฟลล์ ทาวเวอร์ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน เวลา 01.15 น.ตามเวลาท้องถิ่น โดยใช้เจ้าหน้าที่ดับเพลิง 200 คน พร้อมด้วยรถดับเพลิง 20 คัน ถูกส่งไปควบคุมเพลิงครั้งนี้รวมถึงทีมรถพยาบาลไป 20 คัน เพื่อดูแลผู้ได้รับบาลเจ็บ โดยหญิงสาวเจ้าหน้าที่ดับเพลิงระบุว่า... "นี่เป็นเหตุเพลิงไหม้ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน... ในช่วง 29 ปีที่ฉันเป็นเจ้าหน้าที่ผจญเพลิงมา ไม่เคยเห็นอะไรรุนแรงขนาดนี้"
แต่ทางการอังกฤษยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ท่ามเสียงวิพากษ์ความเสี่ยงภัยจากตึกดัง หลังจากที่เกรนเฟลล์ ทาวเวอร์ ได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 1974 ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายเมืองชั้นใน เป็นอาคารที่พักอาศัยแห่งนี้ มีแฟลต 120 ห้อง สูง 24 ชั้น
โดยมีการปรับปรุงอาคาร ด้วยงบประมาณ 10 ล้านปอนด์ (435 ล้านบาท) ที่ใช้เวลา 2 ปี เพิ่งแล้วเสร็จในปีที่แล้ว โดยงานซ่อมแซมรวมถึงตัวอาคารด้านนอก และระบบทำความร้อนส่วนกลาง ขณะที่มีการระบุในช่วงก่อนและระหว่างเข้าปรับปรุงว่า ตัวอาคารมีแนวโน้มเสี่ยงการเกิดต่อไฟไหม้ ทางด้านผู้พักอาศัยต่างก็เตือนว่า หากเกิดเหตุร้าย รถฉุกเฉินจะเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างยากลำบาก

logoline