svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ปัจจัยปรับขึ้นค่าไฟ ที่การไฟฟ้าไม่กล้าบอก ?

30 เมษายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดบนบิลค่าไฟฟ้าในเดือนพฤษภาคนนี้ คงทำให้หลายคนตั้งคำถามถึงสาเหตุการปรับขึ้นค่าเอฟที ขึ้นมาอีกครั้ง

ก่อนหน้านั้น กกพ.มีมติ ปรับขึ้นค่าไฟ หรือค่าเอฟทีเป็น 12.52 สตางค์/หน่วย เป็นการปรับขึ้นในรอบ 2 ปี 7 เดือน ส่งผลให้ค่าไฟฟ้างวดเดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม ปีนี้ เพิ่มเป็น 3.50 บาท/หน่วย
และต้องจับตาว่าในเดือนกันยายนค่าเอฟทีจะถูกปรับลดลงหรือไม่
4 ปัจจัยหลักที่โฆษกกระทรวงพลังงานออกมาทำความเข้าใจเป็นตามเพลทที่อยู่ด้านล่างนี้....

ปัจจัยปรับขึ้นค่าไฟ ที่การไฟฟ้าไม่กล้าบอก ?


ส่วนหนึ่งของการปรับขึ้น เพราะราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าเป็นหลักอย่างก๊าซธรรมชาติมีปรับสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงไปด้วย
ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว หากถ้า กฟผ.สามารถสร้าง "โรงไฟฟ้าถ่านหิน" ได้สำเร็จ จะทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงหรือไม่ เนื่องจากอ้างมาโดยตลอดว่า "ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาถูก"
แต่โรงไฟฟ้าถ่านหินก็ถูกสังคมคัดค้านอย่างรุนแรง แต่เราจะปล่อยให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ มาจากก๊าซธรรมชาติ โดยแบกรับค่าไฟที่ปรับสูงขึ้นอย่างนั้นหรือ ?
นี่กลายเป็นข้อถกเถียง ที่ต้องหาข้อมูลมาแลกเปลี่ยน อย่างรอบด้าน
ผู้คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ประสิทธิชัย หนูนวล บอกว่า ค่าไฟขึ้น เพราะ "การไฟฟ้าผลิตไฟเกิน !" ต่างหาก จนกลายเป็นต้นทุนที่ประชาชนต้องแบกรับ
"ข้อมูลของ กฟผ. ปรากฎอยู่ตลอดเวลากำลังการผลิตในระบบ 41,393 MWการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศ 29,618 MWการใช้ไฟฟ้าปกติก็อยู่ประมาณ 25,0000MWเหลืออยู่กว่า 10,000 MW

ปัจจัยปรับขึ้นค่าไฟ ที่การไฟฟ้าไม่กล้าบอก ?


ที่เหลือนี่มันคือต้นทุนนะครับ เฉพาะค่าความพร้อมจ่ายที่เราต้องจ่ายโดยที่เอกชนไม่ต้องผลิตเพราะไฟเกินการใช้ มีมูลค่าเมื่อปี 2559 กว่า 1 แสนล้านบาท
ทั้งหมดนี้เป็นต้นทุนที่ประชาชนต้องจ่ายผ่านค่าไฟฟ้าทุกเดือน ความเชื่อที่พยายาม ใส่ว่าไฟไม่พอ ก็เพื่อจะสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม ตามแผน พีดีพี 2015 จะสร้างถึง 70,000MW ค่าไฟฟ้าจะไม่แพงได้อย่างไร ?
ที่เกินอยู่กว่า 10,000 MWนั้น มีภาคใต้อีก 4 ภาคก็ใช้ได้อย่างเพียงพอ มันเกินไปขนาดนี้ ..ค่าไฟฟ้าจะไม่ขึ้นได้อย่างไร?" ประสิทธิชัย ระบุ
ล่าสุด ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ เสนอปรับใหญ่แผนพีดีพี 2015 ลงทุนพลังงานหมุนเวียน 2,000เมกะวัตต์ แต่ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังยืนยันว่า กฟผ. จะต้องลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ และโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลา เพื่อความมั่นคงไฟฟ้าของภาคใต้
โดยในความเห็นส่วนตัว ผู้ว่า กฟผ มองว่า ในอนาคต ช่วงปลายแผนพีดีพี 2015 หาก การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และ ระบบEnergy Storage มีต้นทุนที่ต่ำกว่า โรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล กฟผ.ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงใหม่ ที่ภาคใต้ จากเดิมที่ต้องลงทุน4 โรง จะเหลือเพียง3 โรงเท่านั้น
เรื่องนี้คงยังสู้กันอีกยาว ...

logoline