svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

แผนการลดภาษีครั้งใหญ่ของทรัมป์ ส่งผลรัฐบาลต้องก่อหนี้ท่วมตัวสูงถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์

28 เมษายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แผนการลดภาษีครั้งใหญ่ของทรัมป์ส่งผลรัฐบาลต้องก่อหนี้ท่วมตัวสูงถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ เหตุต้องสูญรายได้จำนวนมหาศาลจากแผนการปฏิรูปภาษีที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงผลกระทบที่มีต่อเสถียรภาพฐานะทางการคลังของรัฐบาลในอนาคต ขณะที่การสำรวจของ Gallup Poll เกี่ยวกับคะแนนนิยมของคนอเมริกันในการยอมรับผลงาน 100 วันแรกของทรัมป์อยู่ที่ระดับ 40% และไม่ให้การยอมรับอยู่ที่ 59%

ขณะที่นักวิเคราะห์ประเมินว่าการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐจะเจอกับ 'Powerful time bomb' ของบริษัทจดทะเบียนที่มีอัตราการเพิ่มของหนี้เสี่ยงสูงขึ้นจนทะลุ 400% ในรอบ 20 ปี ถึงแม้ว่าดัชนีหุ้น S&P500 จะพุ่งขึ้น 200% ในช่วงเวลาเดียวกันก็ตาม
ล่าสุด ตัวเลขจีดีพียังคงอ่อนตัวลงจากการคาดการณ์ในไตรมาสแรกของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา จะอยู่ที่ระดับเพียง 0.2% แทบจะไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน จะส่งผลต่อภาวะตลาดหุ้นและค่าเงินดอลลาร์มีความดปราะบางมากขึ้น

1.แผนการลดภาษีครั้งใหญ่ของประธนิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมีการลดภาษีนิติบุคคลลงเหลือ 15% จากอัตรา 35% และภาษีบุคคลธรรมดาลดลง้หลือเพียง 3 ขั้นบันไดที่ระดับ 35%, 25% และ 10% ส่งผลรัฐบาลต้องก่อหนี้ท่วมตัวสูงสุดถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 25% ของจีดีพี เหตุจากการที่ต้องสูญรายได้จำนวนมหาศาลจากแผนการปฏิรูปภาษีที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าจะส่งผลกระทบที่มีต่อเสถียรภาพฐานะทางการคลังของรัฐบาลในอนาคต ซึ่งเป็นการเดินซ้ำรอยสมัยรัฐบาลบารัก โอบามา ที่เข้ามาบริหารงาน 8 ปี แต่ได้ก่อหนี้เพิ่มถึง 10 ล้านล้านดอลลาร์ จนทำให้ยอดหนี้ของรัฐบาลพุ่งทะลุถึง 20 ล้านล้านดอลลาร์ในขณะนี้
ตามแผนการลดภาษีของทรัมป์นั้น แบ่งเป็นต้นทุนการสูญเสียรายได้จากการลดอัตราภาษีนิติบุคคลเหลือเพียง 15% เป็นจำนวน 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 8% ของจีดีพี ส่วนการถาษีบุคคลธรรมดาเหลือ 3 ขั้นบันไดจะทำให้รัฐสูญรายได้ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์หรือ 5% ของจีดีพี และยังมีมาตรการลดภาษีซ้ำซ้อนสูญรายได้อีก 1.5 ล้านล้านดอลลาร์หรือ 5% ของจีดีพี รวมทั้งมาตรการลดภาษีส่วนอื่นๆ อีก ซึ่งจะทำให้รัฐบาลต้องก่อหนี้เพิ่มสูงสุดถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 25% ของจีดีพี เปรียบเทียบกับแผนเดิมในการตัดลดภาษีซึ่งจะส่งผลต่อการสูญรายได้จำนวน 5.5 ล้านล้านดอลลาร์หรือ 20% ของจีดีพี

2.ภาระหนี้ภาครัฐในยุคของทรัมป์จึงกลายเป็นประเด็นอ่อนไหวที่ส่งผลเป็นความไม่แน่นอนต่อทิศทางความเสี่ยงของการลงทุนตลาดหุ้นในอนาคต หลังจากที่รัฐบาลกำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองในช่วงที่สภากำลังพิจารณางบประมาณรายจ่ายปี 2017 ซึ่งหากไม่ผ่านการโหวตในวันที่ 28 เมษายนนี้ การทำงานของภาครัฐก็จะเจอกับปัญหา Government Shutdown อีกครั้งในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม รวมทั้งปัญหาหนี้ที่ชนเพดานในขณะนี้ด้วย
โดยที่ยอดหนี้ของรัฐบาลสหรัฐจะเพิ่มขึ้นเป็น 31 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2027 ขณะที่จีดีพีขแงประเทศจะมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 36 ล้านล้านดอลลาร์

3.จากการสำรวจของ Gallup Poll เกี่ยวกับคะแนนนิยมของคนอเมริกันในการยอมรับผลงาน 100 วันแรกของทรัมป์อยู่ที่ระดับ 40% และไม่ให้การยอมรับอยู่ที่ 59% แต่ถึงแม้ตะแนนนิยมของทรัมป์จะอยู่ในระดับต่ำ แต่ก็เป็นการฟื้นตัวดีขึ้นจากที่ลงไปต่ำสุดที่ ระดับ 35% สำหรับการยอมรับผลงาน ต่อ 59% ที่ยังไม่ยอมรับ เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา โดยเรื่องที่คนอเมริกันยังคาใจค่อนโยบายของทรัมป์ที่เป็น 2 เรื่องหลักคือ นโยบายต่อการกีดกันคนเข้าเมืองและปัญหา Obamacare
ในขณะที่คนอเมริกันตอบรับต่อบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่า ล่าสุด ตัวเลขจีดีพียังคงอ่อนตัวลงจากการคาดการณ์ในไตรมาสแรกของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา จะอยู่ที่ระดับเพียง 0.2% แทบจะไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน

4.ขณะที่นักวิเคราะห์ประเมินว่าการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐจะเจอกับ 'Powerful time bomb' ของบริษัทจดทะเบียนที่มีอัตราการเพิ่มของหนี้เสี่ยงสูงขึ้นจนทะลุ 400% ในรอบ 22 ปีนับจากปี 1995 เป็นค้นมา ถึงแม้ว่าดัชนีหุ้น S&P500 จะพุ่งขึ้น 200% ในช่วงเวลาเดียวกันก็ตาม จะส่งผลต่อภาวะตลาดหุ้นและค่าเงินดอลลาร์มีความดปราะบางมากขึ้น เทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติการเงินสหรัฐในปี 2007 นั้น มีอัตราหนี้ของบริศัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 330% ขณะที่ดัชนีหุ้น S&P500 เพิ่มขึ้น 150%
ทั้งนี้ สถานการณ์หนี้ของเอกชนที่เพิ่มขึ้นเป็นดินพอกหางหมู ทำให้นักวิเคราะห์เชื่ออีกว่า ตลาดหุ้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะบ่งชี้ว่า กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่เกิดฟองสบู่ เพราะราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นเกิดจากการก่อหนี้ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรงนั่นเอง โดยที่ Bank Of America มองว่า อาจเป็นวันที่จะทำให้ตลาดหวาดหวั่นว่าจะเป็น "Great Fall" เกิดขึ้นตามมา
โดยที่การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นสหรัฐมีการแกว่งตัวทั้งขึ้นและลง หลังจากที่ Nasdaq เดินหน้าพุ่งขึ้นยืนเหนือ 6,000 อย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 6,048 ส่วนดาวโจนส์ยังทรงตัวที่ 20,981 หลังจากพุ่งชนแตะระดับ 21,000 เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ขณะที่ S&P500 ทนงตัวที่ 2,388

5.ผลงานในช่วง 100 วันแรกขแงทรัมป์ดูเหมือนจะถูกจับมองมากที่สุดว่า เขากำลังเดินหลงทางจากสิ่งที่ประกาศไว้ว่า จะทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่ โดยทุ่มกำลังไปที่เรื่องแสนยานุภาพด้านการทหารในการเปิดศึกสงครามกับซีเรียโดยการสั่งถล่มด้วยจรวดโทมาฮ็อก 59 ลูก การยิงขีปนาวุธขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า Mother Of All Bomb ถล่มใส่อัฟกานิสถาน
และประกาศพร้อมทำสงครามโดยการส่งเรือรบพิฆาต 3 ลำที่สามารถลำเลียงฝูงบินจู่โจมขนาดใหญ่ Armada ที่สร้างความตึงเครียดมากขึ้นในคาบสมุทรเกาหลี โดยอ้างเหตุผลเพื่อกำราบการยิงขีปนาวุธนิวเคลย์ของเกาหลีเหนือ พร้อมกับการเร่งส่งอุปกรณ๋ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ THAAD ติดตั้งที่ฐานประจำการของกองทัพสหรัฐในเกาหลีใต้
แต่ล่าสุด ดูเหมือนว่า ทรัมป์จะตระหนักในสิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์ โดยกำลังปรับใช้ท่าทีใหม่ ซึ่งให้สัมภาษณ์รอยเตอร์ว่า สหรัฐมีหนทางที่สามารถเล่นงานเกาหลีเหนือได้ โดยระบุว่า "there is a chance that we could end up having a major, major conflict with North Korea."...ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า หรือทรัมป์อาจจะใช้มาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือเพิ่มมากกขึ้น แทนที่จะใช้ความเฉียบขาดด้านการทหารที่กำลังถูกคัดค้านจากผู้นำหลายประเทศ ซึ่งล่าสุดมีการส่งคำเตือนมาจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย

logoline