svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

วิวัฒนาการของ Blockchain

07 เมษายน 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่จะมาเปลี่ยนวิธีการทำธุรกรรมทุกชนิด และเป็นแพลตฟอร์มในการทำธุรกรรมแบบ peer-to-peer ที่มีการบันทึกข้อมูลรายการธุรกรรมทั้งหมดแบบกระจายศูนย์ ซึ่ง Blockchain ได้ถูกการพัฒนาเป็นครั้งแรกในภาคการเงิน เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ซึ่งการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Blockchain สามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ ตามขั้นตอนของการพัฒนา ได้แก่ Blockchain1.0, Blockchain2.0, และ Blockchain3.0

โดย "Blockchain 1.0" หรือการพัฒนาในระยะที่ 1.0 ประกอบด้วยสกุลเงินแบบเสมือน (เงินดิจิทัล) เช่น Bitcoin ซึ่งสามารถใช้แทนสกุลเงินจริงได้ เช่นยูโรหรือดอลลาร์ และในวันนี้ Bitcoin ถูกนำมาใช้ในแอพพลิเคชั่นของ Blockchain และที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดของคนทั่วไป และกำลังจะถูกนำมาใช้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามแม้ว่าในความเป็นจริงจะมีการใช้สกุลเงินมากมาย และด้วยปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้น แต่ส่วนแบ่งตลาดของ Bitcoin ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศยังคงน้อยมาก ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่า Bitcoin อาจจะมีความสำคัญใกล้เคียงกับสกุลเงินต่างได้

การพัฒนา Blockchain ในระยะต่อมา หรือ "Blockchain 2.0" คือการใช้รูปแบบ smart contract โดย "smart contract" หมายถึง กระบวนการทางดิจิทัล ที่กำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมโดยอัตโนมัติไว้ล่วงหน้า โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง อย่างเช่น ธนาคาร ซึ่งการสร้าง smart contract ที่เป็นระบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะมีการตกลงกันก่อนหน้านี้ ถึงขั้นตอน กลไกในการทำรายการธุรกรรมดังกล่าว ซึ่งการพัฒนานี้ส่งผลกระทบต่อรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิมของธนาคาร

บริษัทและนักพัฒนา อาจตัดสินใจสร้างแอพพลิเคชั่นของตนบน Blockchain สาธารณะ หรือ Blockchain ส่วนตัว โดยใน Blockchain แบบสาธารณะนั้น ระบบจะไม่มีการเปิดเผยตัวตนของผู้เข้าร่วม ตัวอย่างของสกุลเงินที่ใช้ใน Blockchain ได้แก่ Bitcoin และ Ethereum เป็นต้น

นอกจากนี้ในระบบ Blockchain แบบส่วนตัวนั้น ผู้เข้าร่วม Blockchain ทั้งหมดจะเป็นที่รู้จัก และต้องระบุตัวตนก่อนที่จะได้รับสิทธิ์ให้เข้าใช้ระบบ โดยข้อดีบางประการของ Blockchain แบบส่วนตัว คือช่วยให้มีโครงสร้างในการกำกับดูแลง่ายขึ้น และสามารถใช้งานได้โดยมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับแอพพลิเคชั่น Blockchain สาธารณะ

ดังนั้นธนาคารและผู้ให้บริการชำระเงิน จำเป็นจะต้องใช้ Blockchain แบบส่วนตัว สำหรับรูปแบบทางธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถรักษาระดับในการควบคุมความปลอดภัยได้อย่างมีศักยภาพ

ส่วน Blockchain ในยุคถัดไป ที่เรียกว่า "Blockchain 3.0" โดย Blockchain 3.0 คือการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับ smart contract เพื่อสร้างกระบวนการแบบกระจายศูนย์ที่เป็นอิสระ ที่ต้องมีการกำหนดกฎการทำธุรกรรมของกลุ่มกันเองและดำเนินการด้วยความเป็นอิสระ ในรูปแบบธุรกรรมอัตโนมัติ

จึงทำให้ Blockchain 3.0 สามารถขับเคลื่อนองค์กรดิจิทัลเต็มรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องมีพนักงานในการช่วยทำธุรกรรมเลยในอนาคต


------------------
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม
www.เศรษฐพงค์.com
-------------------
LINE id : @march4g

logoline