svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เสวนา "พ.ร.บ.ปิโตรเลียมสะดุด"

29 มีนาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดงานเสวนาหัวข้อ" พ.ร.บ.ปิโตรเลียมสะดุด ฉุดประเทศไทยเสียโอกาส" โดยมีทั้งภาคเอกชน และนักวิชาการเข้าร่วมหลายท่าน ติดตามรายละเอียดจากคุณฐานิตา บุญหล้า

ในงานเสวนาหัวข้อ" พ.ร.บ.ปิโตรเลียมสะดุด ฉุดประเทศไทยเสียโอกาส" จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ มีนักวิชาการและภาคเอกชนเข้าร่วม ซึ่งทั้งหมดก็เห็นตรงกันว่า การที่พ.ร.บ.ปิโตรเลียมสะดุด ทำให้เกิดการประมูลสัมปทานเกิดการความล่าช้าออกไป จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะรายได้ของรัฐจะหายไปถึงปีละ 2.4 แสนล้านบาท
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บวร วงศ์อุดม บอกว่า หากการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ทั้ง 2 ฉบับ ที่กำลังจะเข้าสู่ที่ประชุมสภานิติบัญญิตแห่งชาติ หรือ สนช. ยังมีความล่าช้าออกไปอีก จะส่งผลกระทบในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกับประชาชนที่จะต้องแบกรับภาระค่าครองชีพ ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไทยจะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจี จากต่างประเทศมากขึ้น เพื่อมาทดแทนปริมาณไฟฟ้าที่หายไปจากระบบ ร้อยละ 30 และจะกระทบต่อการลงทุนภาคอุตสาหกรรม หากปริมาณไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการผลิต ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งสร้างความชัดเจน และเสนอว่า หาก ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ มีความล่าช้า อยากให้รัฐบาลเดินหน้าในระบบสัปทานเดิมไปก่อน เพราะที่ผ่านมา ภาคเอกชนก็สามารถที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังานและไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ หรือ NOCไม่มีความจำเป็น และยากต่อการสร้าวความโปร่งใส
ด้านผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย อมรเทพ จาวะลา บอกว่า หากยังไม่ได้ข้อสรุปด้านความมั่นคงด้านพลังงานจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชน เพราะเอกชนไม่ชอบความไม่ชัดเจนในนโยบายของภาครัฐ ที่จะกระทบการเติบโตในประเทศ เพราะเศรษฐกิจในปีนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยการลงทุนของภาครัฐเป็นหลัก ซึ่งขณะนี้ภาคเอกชนไม่ได้หยุดลงทุน แต่หันไปลงทุนในกลุ่ม CLMV ที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 6-8 และมีทรัพยากรธรรมชาติที่พร้อม ดังนั้น รัฐต้องเร่งสร้างความชัดเจนหัวหน้าภาควิชาการวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ มองว่า พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับ เป็นระบบที่ทำให้รัฐและเอกชนสารถแบ่งปันผลผลิตได้อย่างเหมาะสม และจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนและรัฐได้ประโยชน์สูงสุด เพราะไม่ต้องลงทุนขุดเจาะเอง แต่ให้ภาคเอกชนเข้ามาจุดเจาะเพื่อสำรวจปิโตรเลียม
ซึ่งถ้าหากกฎหมายทั้ง 2 ฉบับยังล่าช้าออกไปจะส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชน เกิดความไม่แน่นอนในการจัดหาแหล่งพลังงานและวัตถุดิบในด้านปิโตรเลียม รวมถึงลดขีดความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเอง เพราะไทยต้องนำเข้าพลังงานเกือบทั้งหมด และมองว่า รัฐบาลไม่ควรเข้ามาแทรกแซง เพราะเอกชนมีศักยภาพในการบริหารมากกว่าภาครัฐ
รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานกลุยทธ์และพัฒนาธุรกิจ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม มนตรี ลาวัลย์ชัยกุล บอกว่า จะต้องเร่งให้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับเกิดขึ้นโดยเร็ว อย่างช้าต้องจัดการประมูลสัมปทานให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียกับรัฐ โดยที่ผ่านมารัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ในส่วนนี้ได้ถึงปีละ 240,000 ล้านบาท และหากล่าช้าจะยิ่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงาน
และถ้ายังไม่มีความชัดเจนภายใน 1-2 เดือนนี้ คุณมนตรีบอกว่าปริมาณก๊าซธรรมชาติจะต้องปรับลดลงอย่างชัดเจน

logoline