svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สนธิสัญญากรุงโรม VS สนธิสัญญาลิสบอน สะท้อนความท้าทายต่อสถานภาพสหภาพยุโรปที่กำลังสั่นคลอน

27 มีนาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สนธิสัญญากรุงโรม VS สนธิสัญญาลิสบอน สะท้อนความท้าทายต่อสถานภาพซึ่งแสดงความเป็นปึกแผ่นของสหภาพยุโรปที่กำลังถูกสั่นคลอน ท่ามกลางกระแสสนับสนุนและต่อต้านการรวมตัวเป็นประชาคมยุโรปในวาระฉลองครบรอบ 60 ปีในขณะนี้ ทั้งมาร์ช Go Europe ในเยอรมัน หรือ House of Europe ในเบลเยียม แม้แต่การออกเดินขบวนของชาวอังกฤษถึง 50,000 คน ซึ่งล้วนต้องการให้อยู่ในอียูต่อไป

แต่กระแส Brexit ที่เป็นการขอถอนตัวออกจากอียูของอังกฤษ จะเจอมาตรการที่เข้มงวด ซึ่งจะไม่ได้รับการผ่อนผันใดยืนยันๆ เพื่ีอไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างกับประเทศอื่นๆ ได้มีสัญญาณบ่งชี้หลังจากที่ผู้นำ 27 ชาติอียูให้ปฏิญญาในสนธิสัญญากรุงโรมฉบับใหม่เมื่อวันเสาร์ ที่ต้องการผลักดันยุโรปให้เป็นปึกแผ่นและมีอนาคตร่วมกันต่อไป โดยปราศจากการเข้าร่วมของผู้นำอังกฤษ ซึ่งเตรียมประกาศถอนตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 มีนาคมนี้ ตามมาตรา 50 ของสนธิสัญญาลิสบอน
ขณะที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงให้การต้อนรับบรรดาผู้นำอียูในนครรัฐวาติกัน และตรัสในสุนทรพจน์ถึงหน่วยงานและองค์กรต่างๆ เสี่ยงที่จะต้องปิดตัวลง หากขาดวิสัยทัศน์ โดยทรงเรียกร้องอียูให้มองอนาคตด้วยสายตาที่ยาวไกลและยึดมั่นสนพลังที่เข้มแข็ง พร้อมทั้งทรงเตือนเรื่องความมั่นคงปลอดภัยจอมปลอมที่บรรดาผู้นำชาตินิยมให้คำมั่นสัญญา โดยทรงขอให้ทุกฝ่ายเร่งสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้มากขึ้น

1.ผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) 27 ชาติลงนามในสนธิสัญญากรุงโรมฉบับใหม่และให้คำปฏิญาณที่จะเดินหน้าสู่อนาคตร่วมกันในการทำให้เกิดความเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ในการประชุมวาระพิเศษจัดขึ้นที่กรุงโรมในอิตาลีเมื่อวันเสาร์ที่ 25 มีนาคม เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีของอียู โดยปราศจากการเข้าร่วมของผู้นำอังกฤษ
สนธิสัญญากรุงโรมซึ่งถือเป็นปฏิญญาแห่งความเป็นเอกภาพ ที่หอดูดาวปาลาซโซ เด คอนแซร์วาตอรี บนเนินเขาคัมปิโดโย ในกรุงโรม ซึ่งเป็นการก่อตั้งโดย 6 ชาติคืออิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมัน เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก ที่เป็นจุดกำเนิดของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) เมื่อ 60 ปีก่อนในวันที่ 25 มีนาคม 1957 ก่อนจะพัฒนามาเป็นอียูในปัจจุบัน
ในการลงนามสนธิสัญญากรุงโรมฉบับใหม่ของสมาชิกอียู 27 ชาติ เป็นการตอกย้ำว่า"ยุโรปเป็นอนาคตร่วมกันและจะผนึกเพิ่อความเป็นปึกแผ่นในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ฟรองซัวส์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสกล่าวว่า สารจากกรุงโรมคือเราแข็งแกร่งมากขึ้นเมื่ออยู่ร่วมกัน ส่วนแองเกลา เมอร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีย้ำว่า นี่เป็นวันที่ยิ่งใหญ่ของยุโรป ขณะที่โดนัลด์ ทัสค์ ประธานคณะกรรมาธิการแห่งยุโรป ได้เรียกร้องความเป็นผู้นำให้ใส่ใจมรดกตกทอดที่รับช่วงต่อมาในการรวมยุโรปเข้าด้วยกันเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ด้วยการร่วมมือในการค้ำยันประชาคมแห่งสหภาพยุโรปต่อไป

2.ท่ามกลางปัจจุบันที่อียูต้องเผชิญกับวิกฤติหลายด้าน ทั้งวิกฤตการณ์หนี้สาธารณะ ปัญหาทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักและตกต่ำลง รวมทั้งวิกฤติผู้อพยพ การก่อการร้าย และลัทธิชาตินิยม-ประชานิยมกับการเลือกตั้งที่กำลังมีขึ้นในกลุ่มผู้นำทั้งในอิตาลี ฝรั่งเศส และเยอรมัน ที่อาจจะส่งผลกระทบในการบั่นทอนอนาคตที่เป็นความแข็งแกร่งของอียู รวมถึงปัญหา Brexit อันเนื่องมาจากการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกอียูของอังกฤษ หรือแม้แต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มักวิพากษ์วิจารณ์อียูโดยเคยตอกย้ำว่า Brexit นั้นเป็นเรื่องดีสำหรับยุโรป
โดยที่การเฉลิมฉลองครบ 60 ปีของอียูครั้งนี้ปราศจากการเข้าร่วมของเทเรซาเมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ที่เตรียมยื่นถอนตัวจากอียูอย่างเป็นทางการตามมาตรา 50 ของสนธิสัญญาลิสบอน ในวันที่ 29 มีนาคมนี้ และเป็นที่คาดว่า สนธิสัญญากรุงโรมฉบับใหม่ VS สนธิสัญญาลิสบอน จะเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า ในการถอนตัวออกจากอียูของอังกฤษในวันที่ 29 มีนาคม จะเจอมาตรการที่เข้มงวดอย่างเข้มข้น โดยจะไม่ได้รับการผ่อนผันใดๆ เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างกับประเทศสมาชิกอื่นๆ

3.แรงงานชาวอเมริกันเสี่ยงสูงสุดต่อการถูกทดแทนด้วยการทำงานของระบบหุ่นยนต์และเทคโนโลยีถึง 38% ของจำนวนแรงงานทั้งหมด ทั้งนี้จากรายงานสำรวจของไพรซ์วอเตอร์เฮ้าส์ คูเปอร์ หรือ PwC ซึ่งสูงกว่าอังกฤษที่คาดว่าจะถูกทดแทนการต้างงานโดยหุ่นยนต์ 30% ขณะที่เยอรมันมีความเสี่ยงเป็นอันดับสองสูงถึง 35% และในญี่ปุ่นมีสัดส่วนถึง 21%
โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจประกันภัย ที่คนอเมริกันมีการศึกษาที่ด้อยกว่าคนอังอังกฤษ
แต่สำหรับ Steve Mnuchin รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ไม่รู้สึกกังวลต่อรายงานดังกล่าว เพราะเชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ โดยมองว่าอาจจะต้องใช้เวลา 50-100 ปีจึงจะเกิดสถานการณ์ดังกล่าว เพราะถึงอย่างไรก็ยังต้องใช้มนุษย์ดูแลระบบการทำงานของเทคโนโลยีและหุ่นยนต์ ตรงกันข้ามจะทำให้คนอมริกันมีความรู้การศึกษาที่ดีขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต รวมถึงค่าจ้างที่สูงขึ้น ในขณะที่ทรัมป์เองต้องการจะใช้นโยบายการคลังลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งดึงความเชื่อมั่นการลงทุนของเอกเชนเข้าสู่สหรัฐ เพื่อสร้างงานใหม่เพิ่มอีก 25 ล้านคนในอีก 10 ปีข้างหน้า

4.เว็บไซต์ของ www.phoenixcapitalmarketing.com ที่ชี้แนวโน้ม Stock Market Crash Survival Guide แนะให้จับตาการกลับมาใช้นโนบายแทรกแซงตลาดของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่จะเข้ามามีบทบาททำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า yen carry trade คือทำให้เงินเยนที่มีต้นทุนดอกเบี้ยต่ำมีสภาพคล่องมากขึ้น เพื่อให้เงินเยนไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นในสหรัฐมากขึ้น ด้วยการขายเงินเยนและบอนด์รัฐบาลญี่ปุ่นที่ BOJ จะเข้ามารับซื้อมากขึ้นน ซึ่งเท่ากับเป็นการอัดฉีดเงินเยนเข้าสู่ตลาดการเงินอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากที่ BOJ เคยใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ หรือ Negative Interest Rate ในช่วงกลางปี 2015 ส่งผลให้เกิด yen carry trade ระลอกใหญ่เข้าสู่ตลาดหุ้น แต่ต่อมาในเดือนกันยายน 2016 โดย BOJ ได้หันมาใช้นโยบายที่เป็นกลางมากขึ้นโดยการันตีดอกเบี้ยบอนด์รัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีที่อัตรา 0% เท่ากับเป็นส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น แต่นับจากนี้ เงินเยนจะมีเป็นปัจจัยเดียวที่เหลืออยู่ในการเข้าดันดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและช่วยขับเคลื่อนตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง ตรงข้ามกับการมีสัญญาณของแรงเทขายทองและบอนด์ในตลาดโลกตามมา

5.ท่ามกลางความผันผวนและเปราะบางของตลาดหุ้นสหรัฐที่เสี่ยงชาลงในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะดัชยี S&P 500 ซึ่งเป็นตลาดหุ้นสหรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดการปรับตัวลดลงในจุดต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ จากที่พุ่งทะยานขึ้นนับจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
ทั้งบอนด์ยีลด์รัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่ร่วงลงที่ระดับ 2,36% และ Dollar Index อ่อนยวบลงที่ 99.54 เมื่อวันศุกร์ ซึ่งสวนทางกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางสหรัฐ (ฟด) ปรับขึ้นมาที่ 1% ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะปรับขึ้นอีก 2 ครั้งปีนี้ในเดือนมิถุนายนและกันยายนไปอยู่ที่ 1.50% จนถึงสิ้นปีนี้
ในขณะที่ราคาทองพุ่งขค่นยืนเหนือ 1,260 ดอลลาร์ต่อออนซ์เช่นเดียวกัน เทียบกับสิ้นปีที่แล้วอยู่ที่ 1,147 ดอลลาร์แล้ว เป็นการปรับจัวขึ้นเกือบ 10%

logoline