svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เทเรซา เมย์ กำลังตกที่นั่งลำบากในการบริหารประเทศ

24 มีนาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

TrumpCare สะดุด และความกังวลในยุโรปทั้งเหตุการณ์ที่ ISIS อ้างเป็นผลงานนักรบก่อการร้ายในอังกฤษ รวมถึงวิกฤติหนี้กรีซครบรอบ 9 ปี ยังคงบั่นทอนความเชื่อมั่นนักลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก จนเกิดทิศทางความไม่แน่นอนมากขึ้น

ท่ามกลางความท้าทายในอำนาจการบริหารประเทศของทรัมป์หลังจากมีการนำเสนอมาตรการประกันสุขภาพคนอเมริกันฉบับใหม่ภายใต้ TrumpCare แทน Obamacare เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐที่สมควรโหวตผ่านร่างกฎหมายของรัฐบาลเนื่องจากพรรครีพับลิกันคุมเสียงข้างมากอยู่ แต่ผลกลับเป็นตรงกันข้าม เมื่อสภาส.ส.เลื่อนการโหวตออกไป ทำให้ผลงานชิ้นแรกในกระบานการสภาของทรัมป์เริ่มสะดุดลง
ขณะที่ความกังวลปัญหาก่อการร้ายในยุโรปกลายเป็นความกังวลที่สร้างความตึงเครียดกับเหตุก่อการร้ายใช้รถ SUV พุ่งชนรั้วรัฐสภาใจกลางกรุงลอนดอนเมื่อวันพุธ โดยถัดมา 1 วันได้เปิดเหตุซ้ำในเบลเยียมถึงกับเกือบต้องปิดเมืองไล่ล่าคนรถ SUV ด้วยความเร็วสูงเพื่อสยบเหตุการณ์ร้ายๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงปีญหาวิกฤตหนี้กรีซที่ครบรอบ 9 ปีกลับมาเป็นภาพหลอนซ้ำอีก

1.ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ต้องพบกับอุปสรรคในการนำเสนอร่างกฎหมายประกันสุขภาพฉบับ TrumpCare ที่ให้สิทธิพิเศษทางภาษีให้กับคนอเมริกันที่มีรายได้สูงเลือกที่ใช้ระบบประกันสุขภาพจากบริษัทเอกชนแทน เพื่อลดภาระทางด้านงบประมาณรัฐบาล ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายของ Obamacare แต่ทรัมป์ก็ต้องเจอกับอุปสรรคครั้งแรกในสภา เมื่อส.ส.รีพับลิกันจำนวน 30 คนแสดงความไม่เห็นด้วย ทำให้ต้องเลื่อนการโหวตออกไป
ถึงแม้ว่าทรัมป์ยืนยันจะต้องผ่านโหวตของสภาให้ได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นภาพสะท้อนถึงอำนาจการบริหารประเทศของทรัมป์กำลังสะดุด โดยอาจจะมีแนวโน้มของความไม่แน่นอนในการดำเนินนโยบายด้านอื่นๆ โดยเฉพาะประเด็นเศรษฐกิจที่เป็นไฮไลท์ของทรัมป์ในการจะทำให้อมริกากลับมายิ่งใหญ่ตามที่ประกาศไว้ว่าจะเป็นผลงานเร่งด่วนในช่วง 100 วันแรก รวมถึงแผนงานใช้จ่ายทางการคลังทั้งการใช้เงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างงาน 25 ล้านคน และการปฏิร๔ปภาษีเพื่อทำให้เกิดการลงทุนในสหรัฐมีมากขึ้น ประกอบกัยช่วยให้รายได้คนอเมริกันดีขึ้น ต้องสะดุดตามมาจนทำให้เกิดความล่าช้าในแผนงานต่างๆ

2.ผลโพลความชื่นชอบในผลงาน 100 วันแรกของทรัมป์ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 มีนาคมจากการทำสำรวจของ Gallup Poll Data ยังคงแตกต่างกัน โดยผลงานที่เข้าตาคนอเมริกัรยังคงมีสัดส่วนเพียง 39% และเป็นผลงานที่ยังไม่เข้าตาถึง 56%
นับเป็นสัดส่วนที่ถ่างกันมากเมื่อเทียบกับวันแรกของโพลที่มีขึ้นวันที่ 27 มกราคม 2017 ภายหลังการเข้าสาบานตนเป็นประธานาธิบดีของทรัมป์ที่มีสัดส่วนการยอมรับและไม่ยอมรับในผลานเกือบจะเท่าๆ กันที่ระดับ 45 ต่อ 45 แต่หลังจากความแตกต่างก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ

3.เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ก็กำลังตกที่นั่งความลำบากในการบริหารประเทศทั้งการเตรียมแผนเจรจาตามกระบวนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปที่จะมีการแจ้งอย่างเป็นทางการตามสนธิสัญญาลิสบอนมาตรา 50 ในวันที่ 29 มีนาคมนี้ ท่ามกลางแรงกกดดันของปัญหาการก่อการร้ายรุนแรงในอังงกฤษที่เริ่มขึ้นอีกครั้งในรอบ 12 ปี
ซึ่งเธอกล่าวว่านี่คือการคุกคามที่พุ่งเป้าหมายมาที่เป็นต้นแบบของศูนย์กลางอำนาจการเมืองที่มีความปลอดภัยมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่กระทำการก่อการร้ายครั้งเป็นพลเมืองของอังกฤษที่ชื่อว่า Khalid Masood วัย 52 ปี ซึ่งที่ผ่านมาไม่ได้เป็นเปาการติดตามเนื่องจากไม่พบประวัติการเข้าร่วมกับกลุ่มก่อการร้ายใดๆ แม้จะเคยก่อคดีทำร้ายมาบ้างก็ตาม อย่างไรก็ตาม กลุ่ม ISIS กลับออกมาอ้างความรับผิดชอบเหตุการณ์ก่อการร้ายที่ใช้รถ SUV พุ่งชนผู้คนที่เดินอยู่ตามท้องถนนจนเสียชีวิต 5 คน และบาดเจ็บ 40 คน โดยมาจบลงที่การพุ่งชนรั้วรัฐสภาอังกฤษเมื่อวันพุธว่าเป็นการกระทำของนักรบ ISIS เอง
4.ปัญหาวิกฤติหนี้กรีซที่ดำเนินมาจนครบรอบ 9 ปี จนส่งผลให้บรรดาเจ้าหนี้ต้องประสบการขาดทุนจากการตัดเป็นหนี้สูญสูงถึง 50% กำลังกลับมาเป็นภาพหลอนอีก เนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมา ฐานะทางเศรษฐกิจของกรีซยังคงไม่ดีขึ้นทั้งจากปัญหาจีดีพีที่อ่อนแอ และปัญหาการว่างงานอัตราสูง ซึ่งยังไม่อยู่ในฐานะจะชำระหนี้ด้วยตนเองได้ ยิงต้องรอการอนุมัติเงินกู้ช่วยเหลือของธนาคารกลางยุโรปและบรรดาประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่เป็นเจ้าหนี้โดยเฉพาะเยอรมันและฝรั่งเศส ซึ่งมีรัฐบาลที่ล้วนกำลังเผชิญปัญหาทางการเมืองที่ต้องรับศึกกับการเลือกตั้งครั้งใหม่ในเดือนพฤษภาคมและกันยายนนี้ อาจเกิดพลิกผันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ย่อมต้องกระทบต่ออนาคตของกรีซในการคงอยู่ในยูโรโซนและการร่วมใช้สกุลเงินยูโร

5.ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่เปิดเผยฐานะล่าสุดมีการใช้เงินกว่า 2.33 แสนล้านยูโรเข้าไปช่วยเหลือระบบธนาคารในยุโรปถึง 464 แห่ง ยังต้องใช้เวลาในการแบกรับภาระไปอีกนานกว่าที่ยุโรปจะกลับมาฟื้นตัวได้ใหม่
สถานภาพของ ECB จึงมีข้อจำกัดในการผูกมัดการให้เงินช่วยเหลือมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ถึงแม้ว่ามาริโอ ดรากี้ ประธานของ ECB จะยืนยันอัดฉีดเงินเพื่อกอบกู้ยุโรปต่อไป ในช่วงที่เขาจะอยู่ครบเทอมในตำแหน่งจนถึงปี 2019 ยิ่งไม่ใช่เรื่องง่ายดายอีกต่อไป เมื่อทิศทางดอกเบี้ยโลกกำลังอยู่ในขาขึ้นโดยที่มีธนาคารกลางสหรัฐเป็นตัวนำในการขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงอัตราที่เป็นเป้าหมายของ Fed Fund Rate ที่ระดับ 3% ภายในปี 2019 นี้จากระดับปัจจุบันอยู่ที่ 1%

logoline