svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

"พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ วางกฎ'ประมูลล่วงหน้า-ปิดช่องใช้ดุลยพินิจ'

24 มีนาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วงเสวนา "Nation Roundtable" ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ "พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ตัวแปรเศรษฐกิจดิจิทัล" เมื่อ 21 ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องกับการจัดทำ ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับแก้ไข) ถกเถียง และตั้งโจทย์แห่งความห่วงใยไว้หลายประการ โดยเฉพาะอนาคตการจัดการคลื่นของชาติจะเอาอย่างไร หรือ ที่เรียกว่า "Spectrum roadmap" รวมถึงข้อเสนอควรมีการประมูลล่วงหน้า ก่อนคลื่นหมดสัปทานหรือใบอนุญาต อย่างนานาประเทศดำเนินกัน และเห็นบทเรียน บางกรณีที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย จนนำมาสู่ปมการเยียวยา ยังไม่จบถึงวันนี้

ทั้งนี้รัฐบาลได้ประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ดิจิทัลเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศซึ่งในการดำเนินนโนบายดังกล่าวจำเป็นที่จะมีเปลี่ยนแปลงและแก้ไขกฎหมายบางฉบับเพื่อให้การผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นไปได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติสูงสุดจึงเป็นที่มาของการแก้ไขกฎหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ทั้ง8 ฉบับ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ร่าง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯกฎหมายฉบับนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลและขณะนี้ร่างกฎหมายฉบับนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้วกำลังถูกบรรจุเข้าวาระของ สนช.


นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ใหม่มีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกหลายประการ เช่นรื้อระบบการสรรหากรรมการ กสทช.ใหม่หมดให้ศาลและองค์กรอิสระสรรหาเป็นผู้สรรหากรรมการกสทช.จากข้าราชการตำแหน่งหัวหน้ากรมขึ้นไป ทหารหรือตำรวจที่มียศพลโทขึ้นไปหรือคนที่เป็นผู้บริหารบริษัทมหาชนที่มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันล้านบาท โดยตัดช่องทางเสนอชื่อโดยภาคประชาสังคมออกไป ถัดมาคือยกเลิก


ในร่างกฎหมายกำหนดให้ กสทช. จัดทำแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (Roadmap)ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมและในกรณีที่มีปัญหาว่าการทำงานของ กสทช.สอดคล้องกับแผนระดับชาติดังกล่าวหรือไม่ให้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้วินิจฉัย แม้แต่การกำหนดให้การประมูลคลื่นความถี่ใช้หลักเกณฑ์อื่นที่ไม่ใช่จำนวนเงินเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจให้กรรมการกสทช.พิจารณาใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่โดยดูจากคุณสมบัติอื่นๆ ที่ตนเองถูกใจได้หรือที่เรียกว่า Beauty Contest ก็ได้ ตรงจุดนี้ เป็นความห่วงใยที่จะสะท้อนความเป็นองค์กรอิสระของ กสทช. ในอนาคต


ขณะที่ภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมมือถือในสายตาผู้บริโภคก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกับอุตสาหกรรมยาสูบ ทั้งที่มือถือเป็นสิ่งจำเป็น ภาพลักษณ์ที่ไม่ดีส่วนหนึ่งมาจากปัญหา BillShock จึงต้องมุ่งจัดการปัญหาค่าโรมมิ่งระหว่างประเทศที่เป็นอุปสรรคเข้าถึงบริการมือถือเมื่อผู้บริโภคเดินทางไปต่างประเทศรัฐบาลมักมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมมือถือสร้างรายได้เข้ารัฐและหวังให้แข่งขันเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นเป้าประสงค์ที่สวนทางกันจึงเรียกร้องให้พิจารณาอุตสาหกรรมมือถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลมิใช่เป็นตัวสร้างรายได้มหาศาลโดยตรง


อนาคตของอุตสาหกรรมจะรุ่งโรจน์ เพราะประชาชนต้องใช้มือถือในชีวิตประจำวันเสมือนหนึ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่นๆ ที่ขาดไม่ได้หลายฝ่ายจึงเสนอปฏิรูปกฏหมายโทรคมนาคมทั้งหมดให้มีความสอดคล้องกันโดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรความถี่ควรมีแผนที่ชัดเจน โปร่งใสและเกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม


นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การแก้ไข ร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ต้องทำให้เกิดกฎระเบียบที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ชัดเจนทุกเรื่อง หากต้องการให้ร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นฯขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ควรทำกฎหมายให้กสทช.และกระทรวงดิจิทัลฯ ทำงานสอดประสานกันมากขึ้นมาถึงวันนี้ยังไม่เห็นกฎหมายออกมากำกับดูแลเทคโนโลยีใหม่ อาทิบริการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (ไอโอที)อย่างผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้ามาจะขอใบอนุญาตเพื่อทำธุรกิจไอโอทีต้องขอใบอนุญาตอะไรบ้าง ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอะไร


ขณะเดียวกันได้ยกตัวอย่างจากงานโมบาย เวิลด์ คองเกรส ที่บาเซโลน่าประเทศสเปน มีรายงานว่าราคาคลื่นความถี่ 900เมกะเฮิรตซ์ที่ประมูลในไทยแพงสุดในโลก ทำให้กังวลว่า จะทำให้อุตสาหกรรมหวั่นไหวเพราะหากประเทศอื่นกำหนดให้ประมูลในราคาแพงตามจะเกิดปัญหากับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโลก ส่วนในมุมของผู้ประกอบกิจการ


ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่าการเสนอแก้ไขกฎหมายครั้งนี้เป็นการพยายามจะเดินไปข้างหน้าเราไม่สามารถเอาคลื่นความถี่คืนมาเพื่อจัดสรรใหม่ได้ เพราะติดขัดกฎหมายฉบับเดิม และมีคลื่นจำนวนหนึ่งที่หน่วยงานรัฐใช้งานอยู่การเรียกคืนคลื่นก็ต้องให้เจ้าของเดิมย้ายไปคลื่นอื่นแล้วต้องเสียค่าอุปกรณ์ในการย้ายจึงกำหนดให้มีค่าชดเชยเยียวยาเพื่อให้เอาไปใช้ตรงนี้โดยหวังว่าจะปลดล็อกปัญหาที่เรามีคลื่นความถี่ไม่เพียงพอได้ แต่ในทางปฏิบัติเรื่องการจ่ายค่าชดเชยจะทำอย่างไรอยากให้เป็นงานของกสทช. ไปคิดต่อเพราะกระทรวงดิจิทัลฯมีแผนที่จะดำเนินการในอนาคตให้ประเทศไทยนั้นสามารถมี


อินเตอร์เน็ตใช้งานที่มีค่าบริการต่ำกว่าในปัจจุบันที่ใช้บริการอยู่เนื่องจากคลื่นความถี่ของไทยที่มีอยู่เป็นจำนวนมากแต่ไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯเพื่อให้เกิดการใช้คลื่นความถี่ที่มีอยู่ให้เหมาะสมมีการจัดสรรนำคลื่นที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าโดยเน้นเรื่องการบูรณาการการทำงานร่วมกันและมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ แต่จะยังคงรักษาการแข่งขันให้มีความเป็นธรรมเพื่อนำเงินเข้าสู่ภาครัฐในการสานต่อนโยบายการบริหารงานของประเทศต่อไปและเป็นแนวทางการดำเนินนโยบายตามแผนแม่บทของกระทรวงดิจิทัลฯเช่นกันเพื่อให้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวสามารถขับเคลื่อนไปได้ภายใต้กรอบข้อกฎหมายยืนยันว่า ร่างพ.ร.บ.กสทช. ฉบับนี้ดูเหมือนพยายามมองภาพอดีตและขับเคลื่อนไปข้างหน้า ภายใต้ความคิดที่ว่าเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ สร้างแข่งขันอย่างเสรีระหว่างเอกชนและให้ราคาลดลงเพื่อให้ประโยชน์ผู้บริโภค


ดร.รวีพันธุ์ พิทักษ์ชาติวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานกฎหมายบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่าการแก้ไขพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่ฯควรทำให้เกิดกฎเกณฑ์การแข่งขันที่ชัดเจนผู้ประกอบการรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรมีกฎระเบียบที่ส่งเสริมการแข่งขัน การทำธุรกิจ มีการกำกับดูแลโดยองค์กรที่โปร่งใสที่ผ่านมาไทยเอาคลื่นความถี่มาใช้ประโยชน์น้อยมาก สหภาพโทรคมนาคม (ไอทียู)กำหนดว่า แต่ละประเทศควรมีคลื่นความถี่ออกมาใช้งาน 1340-1960เมกะเฮิรตซ์ แต่ประเทศไทยเอาคลื่นความถี่มาใช้เพียง 320 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้นการประมูลคลื่นความถี่ในอนาคต ควรจัดประมูลล่วงหน้าควรวิธีการประมูลมากกว่าใช้วิธีการคัดเลือกคุณสมบัติ(Beauty contest)นอกจากนี้คุณสมบัติผู้ที่จะมาเป็น กสทช.ต้องไม่มี ผลประโยชน์ทับซ้อน


ในฝั่งของผู้ประกอบการต่างค่ายอาจต้องจับมือกันหรือเปิดให้มีการใช้งานโครงข่ายร่วมกันคล้ายคลึงกับการวางเคเบิ้ลใต้สมุทรที่เป็นการร่วมลงทุนของผู้ประกอบการหลายรายและในบางประเทศอาจมีการควบรวมค่ายมือถือเพื่อให้มีจำนวนที่เหมาะสมรัฐบาลมักมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมมือถือสร้างรายได้เข้ารัฐและมุ่งหวังให้มีการแข่งขันเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคซึ่งเป็นเป้าประสงค์ที่สวนทางกัน จึงเรียกร้องให้พิจารณาอุตสาหกรรมมือถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลมิใช่เป็นตัวสร้างรายได้มหาศาลโดยตรงจึงควรปรับอัตราค่าธรรมเนียมหรือภาระภาษีให้เหมาะสมกับสภาพอุตสาหกรรมในขณะนี้


นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง คณะทำงานติดตามนโยบายและสื่อโทรคมนาคม(NBTC Policy Watch) แสดงความเห็นว่า ตามร่าง พ.ร.บ.กสทช. ใหม่กำหนดให้ กสทช. จัดทำแผนแม่บทแต่ให้คณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลมีอำนาจวินิจฉัยเมื่อความเห็นไม่ตรงกันเท่ากับกำลังทำลายความเป็นอิสระขององค์กรกำกับดูแลอย่าง กสทช.ซึ่งกรณีนี้เห็นชัดเจนว่า หน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของคลื่นความถี่และมีผลประโยชน์ในการจัดสรรคลื่นความถี่มาโดยตลอดการให้หน่วยงานรัฐดึงอำนาจกลับไปจะเป็นปัญหา จะทำให้ กสทช.กลายสภาพเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นเรื่องไม่เหมาะสมและเป็นเรื่องประโยชน์ทับซ้อน


สำหรับประเด็นที่ ร่างพ.ร.บ.กสทช.ใหม่ กำหนดให้ กสทช.สามารถเรียกคืนคลื่นความถี่โดยเอาเงินกองทุนไปจ่ายค่าชดเชยให้กับหน่วยงานที่ครอบครองคลื่นอยู่เดิม นายวรพจน์ เห็นว่า กสทช.มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอยู่แล้วที่จะเรียกคลื่นความถี่ที่อยู่ในมือหน่วยงานรัฐและหน่วย


งานความมั่นคง โดยไม่ต้องเอาเงินไปชดเชยอะไรเลยหากจะให้มีการจ่ายเงินชดเชยก็เรียกได้ว่าเป็นการ "เสียค่าโง่"เพราะคลื่นความถี่เป็นของสาธารณะ


ไม่ใช่ของหน่วยงานรัฐและต้องเอาคืนอยู่แล้วตามกฎหมายเราจะต้องจ่ายกรณีเรียกคืนคลื่นจากเอกชนที่เสียเงินประมูลมาเท่านั้นประเด็นสำคัญการกำหนดอายุของกสทช.ต้องอายุ45ปีเป็นการเปิดโอกาสให้กสทช.ต้องเป็นผู้สูงอายุ เป็นทหาร เป็นตำรวจจึงจะมาเป็นกสทช.ได้ คณะกรรมการสรรหากสทช.เองร่างฯกำหนดให้เป็นผู้มีหน้าที่ในการตรวจสอบกสทช.ในอนาคตจึงไม่ควรมีส่วนคัดเลือก


นางวารินทร์ ตุลาคุปต์ ผู้อำนวยการสำนักการตรวจเงินสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา กสทช.ไม่มีแผนบริหารคลื่นความถี่ ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการการไม่ได้ประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า ทำให้การจัดสรรคลื่น 900และ1800 เมกะเฮิรตซ์ ทำไม่ทันส่งผลให้ต้องมีมาตรการเยียวยาสตง.ในฐานะองค์กรตรวจสอบต้องเข้ามาตรวจสอบและให้ความเห็นสตง.พยายามผลักดันให้เกิดแผนบริหารคลื่นความถี่ระยะยาว ที่สามารถนำไปปฎิบัติให้ได้จริง


สำหรับที่มาของการแก้ไขกฎหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศทั้ง 8ฉบับ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯกฎหมายฉบับนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลและขณะนี้ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่ง ร่าง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯนั้นจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของ ไทยแลนด์ 4.0 ว่าหากถ้าร่าง พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ฯ ถูกบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้วประเทศไทยจะเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลได้จริงหรือไม่และจะมีผลอย่างไรต่อภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทยอย่างไรและประชาชนทั่วไปจะได้รับประโยชน์หรือมีผลกระทบอย่างไร

logoline