svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

นักลงทุนทั่วโลกช๊อค! เหตุก่อการร้ายโจมตีกลางกรุงลอนดอน

23 มีนาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักลงทุนทั่วโลกช๊อค! จับตาเหตุก่อการร้ายครั้งแรกโจมตีกลางกรุงลอนดอน เหตุจากผู้ก่อการร้ายไล่แทงตำรวจและขับรถ SUV พุ่งชนผู้คนบนทางเท้าใกล้รัฐสภาอังกฤษมีผู้เสียชีวิต 5 คน มีผู้บาดเจ็บอีก 40 คน เพิ่มความตึงเครียดตลาด โดยที่ยังหวั่นเหตุหุ้นตกทั่วโลกจากแรงเทขายอาจจะขยายในวงกว้าง หลังจากที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมารุนแรงนับตั้งแต่การเลือกตั้งในสหรัฐเมื่อปีที่ผ่านมา

ขณะที่จิตวิทยาการลงทุนในสหรัฐยังคงเป็นเชิงลบ เมื่อเกิดอาการเมาค้างของทรัมป์ที่เจอฤทิ์หมัดทั้งการเมืองภายใน และนโยบายการบริหารประเทศต้องเผชิญอุปสรรคอย่างหนักโดยนโยบายประกันสุขภาพ Trumpcare ที่จะนำมาใช้แทน Obamacare ที่เข้าสู่การประชุมของสภาในขณะนี้กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทรัมป์ต้องถูกทดสอบในพลังอำนาจของฝ่ายบริหารจะยังแข็งแกร่งอยู่หรือไม่
นอกจากนี้ นักลงทุนกำลังหวาดหวั่นภาพการเทขายหุ้นหลังจากที่เกิดภาวะราคาหุ้นร้อนแรง หรือ Overvalue จนต้องมีการปรับพอร์ตครั้งใหญ่ จะซ้ำรอยเหตุการณ์การตื่นขายหุ้นของนักลงทุนในช่วงปี 1987 หรือไม่ โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่นักลงทุนรายย่อยชาวอเมริกันได้ใส่เม็กเงินเข้าสู่การลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐมากขึ้น

1.ท่ามกลางกระแสหุ้นตกต่ำลงทั่วโลกในขณะนี้ ได้เกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายใจกลางกรุงลอนดอนอย่างไม่คาดคิด เมื่อผู้ก่อการร้ายไล่แทงตำรวจและขับรถ SUV คันหนึ่งไปตามเส้นทางรถรางแล้วพุ่งชนฝูงคนบนทางเท้าใกล้สะพานเวสต์มินสเตอร์ และอาคารรัฐสภาของอังกฤษ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 5 รายซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นผู้ก่อการร้ายรวมอยู่ด้วย โดยมีผู้บาดเจ็บกว่า 40 ราย
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นเหตุก่อการร้ายซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในอังกฤษ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าเกิดเหตุจากผู้ก่อการร้ายตัวจริงจากกลุ่ม ISIS หรือมาจากความไม่พอใจในปมปัญหาการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษประกาศว่าจะยื่นการถอนตัวออกจากอียูอย่างเป็นทางกรในวันที่ 29 มีนาคมนี้
นอกจากนี้เป็นที่น่าสนใจว่าเหตุก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในอังกฤษเมื่อวันพุธที่ 22 มีนาคมนั้น ตรงกับวันครบรอบ 1 ปีเหตุก่การร้ายโจมตีในเบลเยียมเมื่อปีที่แล้วจนมีผู้เสียชีวิตถึง 32 คน และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียง 1 วันหลังจากที่อังกฤษประกาศแบนการนำเครื่องมือสื่อสารที่มีขนาดใหญ่กว่าโทรศัพท์มือถือขึ้นเครื่องเข้าสู่อังกฤษจาก 6 ประเทศจากตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ตามรอยสหรัฐ

2.แรงกระหน่ำขายหุ้นทั่วโลกเมื่อวันพุธ เมื่อจิตวิทยานักลงทุนเกิดความหวาดหวั่น หลังจากมีจุดเริ่มต้นจากการขายอย่างต่อเนื่องมา 3 วันในตลาดหุ้นสหรัฐโดยที่ดัชนีราคาหุ้นสหรัฐร่วงลง 1-2% ถึงแม้ว่าจะมีภาพผสมผสานขึ้นและลงในการซื้อขายเมื่อวานนี้ก็ตาม ประกอบกับอาการเมาค้างของประธาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เนื่องจากฤทธิ์หมัดทางการเมืองทั้งในเรื่องการถูกกดดันให้มีการถอดถอนตำแหน่ง เพราะความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัสเซียที่เข้าแทรกแซงการเมืองภายใน จนนำมาสู่ชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนปีที่แล้ว
รวมทั้งการนำเสนอนโยบายการบริหารประเทศต้องเผชิญอุปสรรคอย่างหนักโดยนโยบายประกันสุขภาพ Trumpcare ที่จะนำมาใช้แทน Obamacare ที่เข้าสู่การประชุมของสภาในขณะนี้กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทรัมป์ต้องถูกทดสอบในพลังอำนาจของฝ่ายบริหารจะยังแข็งแกร่งอยู่หรือไม่

3.นักลงทุนกำลังหวาดหวั่นภาพการเทขายหุ้นหลังจากที่เกิดภาวะราคาหุ้นร้อนแรง หรือ Overvalue จนต้องมีการปรับพอร์ตครั้งใหญ่ จะซ้ำรอยเหตุการณ์การตื่นขายหุ้นของนักลงทุนเหมือนในช่วงปี 1987 หรือไม่ เพราะหลังจากการขายหุ้นอย่างหนักจนทำให้ดัชนีราคาหุ้นทั้งดาวโจนส์ และ S&P 500 มากกว่า 1% รวมทั้ง Nasdaq ที่ร่วงลงเกือบ 2% เมื่อวันพุธ ส่งผลให้ดัชนี S&P 500 Future ดิ่งลงถึง 3% และดัชนี Stoxx 600 ในยุโรปร่วงลงหนักสุดในรอบ 1 เดือนถึง 0.8%
ในขณะที่ดัชนี MSCI ของตลาดเอเชีย-แปซิฟิกร่วงลง 1.4% ในวันพุธ โดยเฉพาะการดิ่งลงของหุ้น Topix ดิ่งลง 2.1% และ Nikkei ญี่ปุ่นร่วงลง 1.4% หั่งเส็งฮ่องกงดิ่งลง 1.8% เซี่ยงไฮ้คอมโพสิตร่วงลง 0.5% ขณะที่ MSCI ในตลาดเกิดใหม่ร่วงลง 1% โดยเฉลี่ย

4.ขณะที่เกิดภาวะเงินตึงตัวอย่างหนักในตลาดเงินกู้ระหว่างธนาคาร หรือ Interbank ของจีน โดยมีอัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้นที่ 5.5% เทียบกับสัปดาห์ก่อนอยู่ที่ 3.75% ส่งผลให้ธนาคารกลางจีน (PBOC) ต้องเข้ามาอัดฉีดสภาพคล่องนับแสนล้านหยวน หลังจากที่ผู้กู้รายย่อยถูกกีดกันในการเข้ามาขอกู้ยืมจากตลาดนี้จนเกือบจะผิดนัดชำระหนี้
ทั้งนี้ PBOC พยายามที่จะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น โดยลดเป้าหมายปริมาณเงินในระบบจากที่เคยขยายตัว 13% ต่อปี ลงมาอยู่ที่ 12% ต่อปี ทำให่ภาวะการเงินระยะสั้นเกิดตึงตัวมากขึ้นคล้ายกับช่วงปี 2015 ซึ่งส่งผลให้ตลาดการเงินภายในจีนเกิดความผันผวนอย่างมาก และดัชนีราคาหุ้นตกต่ำลงอย่างรุนแรง จนต้องมีการเข้ามาประคับประคองในที่สุด

5.แต่ดูเหมือนว่าการลงทุนในทองคำจะแทรกตัวเข้ามาเป็น Safe Haven อีกครั้ง ท่ามกลางหุ้นที่เสี่ยงขาลง ราคาทองในนิวยอร์คมีการปรับตัวขึ้นไปต่อเนื่องเมื่อวันพุธที่ 1,249 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนที่จะอ่อนตัวลงมาปิดที่ 1,246 ดอลลาร์ โดยที่นักวิเคราะห์มองว่า การลงทุนในทองเริ่มกลับมามีความน่าสนใจมากขึ้น จากความต้องการทองยังมีความต่อเนื่อง ขณะเดียวกันแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตทองป้อนตลาดโลกมีการลดปริมาณกาผลิตลงมากขึ้นจากที่เคยผลิจมากกว่า 1,000 ตันค่อปี ปัจจุบันลดลงเหลือแ 250 ตันต่อปี
ส่วนจีนที่เคยผลิตในปริมาณมากช่วง 2-3 ปีก่อนก็เริ่มผลิตน้อยลง โดยที่จีนยังคงเป็นผู้ซื้อร่ยใหญ่ เช่นเดียวกับรัสเซียที่มีความต้องการซื้อทอง รวมทั้งในอินเดียถึงแม้ว่ารัฐบาลจะเพิ่มความเข้มงวกในการนำเข้าทองก็ตาม
รวมถึงปัจจัยการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐที่ต้องการสกัดเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมาย 2% และควบคุมราคาหุ้นที่ร้อนแรงเนื่องจากเข้ามาลงทุนของนักลงทุนรายย่อยพากันใส่เงินเข้าสู่ตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา

logoline