svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ธนาคารสหรัฐ 17 แห่ง ประกาศขึ้นไพร์มเรททันที ตอบสนองเฟดขึ้นดอกเบี้ย

17 มีนาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ธนาคารพาณิชย์สหรัฐ 17 แห่งเดินหน้าตอบสนองสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีการประกาศขึ้นไพรม์เรทจาก 3.75% เป็น 4% ในทันที ทั้งที่มียอดคงค้างเงินทุนสำรองส่วนเกินเหลืออยู่ 2.13 ล้านล้านดอลลาร์ และสวนทางจีดีพีที่อ่อนแรงเติบโตเพียง 0.9% ในไตรมาสแรกนี้ตามการคาดการณ์ล่าสุดของเฟดสาขาแอตแลนตา

นอกจากนี้ ปฏิกิริยาของธนาคารกลางจีน (PBOC) ส่งสัญาณเข้มงวดนโยบายการเงินเหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะสั้นของจีนอีก 0.1% สำหรับระยะตั้งแต่ 7 วัน กับระยะปานปลาง 6-12 เดือน เป็นการตอบสนองภายใน 10 ชั่วโมงตามทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
ขณะที่เฟดถูกมองว่าล้มเหลวสื่อสารตลาดในการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ต้องการชะลอตลาดหุ้นร้อน แต่ปฏิกิริยานักลงทุนตีความว่าจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในครั้งต่อไป ท่ามกลางข้อสงสัยนักวิเคราะห์คาดเฟดกำลังเผชิญนโยบายการเงินที่เป็นทาง 2 แพร่ง หลังจีดีพีระยะสั้นและระยะยาวมีสัญญาณอ่อนแรงลง โดยที่เฟดคาดเศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงขยายตัวดีระยะปานกลางช่วงปี 2017-2018 ก่อนที่จะชะลอตัวลงในปี 2019


1.ธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐ 17 แห่งพากันตอบสนองสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมาจาก จาก 0.75% เป็น 1% โดยมีการประกาศขึ้นไพรม์เรทในสัดส่วนเดียวกันจาก 3.75% เป็น 4% ในทันที ทั้งที่ธนาคารพาณิชย์สหรัฐมียอดคงค้างเงินทุนสำรองส่วนเกินเหลืออยู่ถึง 2.13 ล้านล้านดอลลาร์ และสวนทางจีดีพีที่อ่อนแรงเติบโตเพียง 0.9% ในไตรมาสแรกนี้ตามการคาดการณ์ล่าสุดของเฟดสาขาแอตแลนตา
โดยที่เฟดยังจะต้องจ่ายดอกเบี้ยถึง 1% ให้กับสภาพคล่องส่วนเกินที่บรรดาธนาคารพาณิชย์นำมาฝากไว้
ส่วนธนาคารพาณิชยาหรัฐทั้ง 17 แห่งที่ประกาศขึ้นดอกเบี้ยประกอบด้วย Bank of America, BBVA Compass, BB&T, BMO Harris Bank, BNY Mellon, Citibank, Citizens Financial, Fifth-Third Bancorp, JPMorgan Chase, KeyCorp, M&T Bank, PNC Bank, Regions Bank, SunTrust, US Bank, Webster Bank, และ Wells Fargo
2.ส่วนท่าทีของธนาคารกลางจีน (PBOC) เป็นแห่งแรกที่ตอบสนองทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่เกิดขึ้นครั้งที่สามในรอบ 11 ปี เพียงแค่ 10 ชั่วโมงผ่านไป มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดซื้อคืนพันธบัตร หรือ repo rate อีก 0.1% สำหรับระยะ 7 วัน 14 วัน และ 28 วัน โดยปรับขึ้นเป็น 2.45%, 2.60% และ 2.75% ตามลำดับ พร้อมกับการออกพันธบัตรเงินหยวน 3.03 แสนล้านหยวนระยะ 6 เดือนมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนจาก 2.95% เป็น 3.05% กับระยะ 1 ปีปรับขึ้นจาก 3.10% เป็น 3.20%
โดยการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของ PBOC ครั้งนี้อยู่เหนือความคาดหมายของตลาด เนื่องจากนักวิ้คราะห์คาดการณ์ว่าจีดีพีของจีนในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้จะชะลอตัวค่อนข้างมาก หลังจากที่รัฐบาลกลางมีการประกาศลดเป้าหมายจีดีพีปีนี้ทั้งปีอยูที่ 6.5% ลดลงจาดปีก่อนที่โตระดับ 6.7%

3.SocGen ยกประเด็มการวิเคราะห์ของทั้งโกลด์แมน แซคส์ และ RBC (Royal Bank Of Canada) ที่มองว่าเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ล้มเหลวในการที่จะอธิบายเหตุผลการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็น 1% เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยที่ตลาดหุ้นสหรัฐยังคงเดินหน้าปรับตัวสูงขึ้น
ขณะที่เฟดมีเหตุผลในการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อต้องการชะลอตลาดหุ้นที่ร้อนแรง แต่ปฏิกิริยานักลงทุนตีความว่าจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในครั้งต่อไป ท่ามกลางข้อสงสัยนักวิเคราะห์คาดเฟดกำลังเผชิญนโยบายการเงินที่เป็นทาง 2 แพร่ง หลังจีดีพีระยะสั้นและระยะยาวมีสัญญาณอ่อนแรงลง โดยที่เฟดคาดเศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงขยายตัวดีระยะปานกลางช่วงปี 2017-2018 ก่อนที่จะชะลอตัวลงในปี 2019
หลังจากที่จีดีพีสหรัฐในระยะสั้นที่อ่อนแรงเติบโตเพียง 0.9% ในไตรมาสแรกนี้ตามการคาดการณ์ล่าสุดของเฟดสาขาแอตแลนตา สวนทางกับสิ่งที่โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการจะเห็นเศรษฐกิจสหรัฐดติบโตในระดับ 3.5-4% ต่อปีในช่วงที่เข้ามาเป็นประธานาธิบดี

4.โดยมีการสำรวจพบว่า ผลพวงจากการใช้นโยบสยอัดฉีดเงินผ่าน QE จำนวนถึง 12 ล้านล้านดอลลาร์จากธนาคารกลางขนาดใหญ่ที่เป็นเสาหลักของโลกนับจากเกิดวิกฤติการเงินปี 2008 นั้น ยังคงส่งผลในทางตนงกันข้ามระหว่างผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นในตลาดการเงินกับภาคเซรษฐกิจที่แท้จริง
เพราะขณะที่ผลตอบแทนที่พุ่งขึ้นมากที่สุดถึง 250% ป็นการลงทุนในบอนด์ที่มีความเสี่ยงสูง หรือ High yield bonds ของยุโรป ขณะที่ผลตอบแทนในหุ้น S&P 500 ซึ่งเป็นตลาดหุ้นขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐให้ผลตอบแทนสูงถึง 200% ตามด้วย High yield bonds ของสหรัฐให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 175% หุ้นยุโรปsinv Euro Stoxx 600 ให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 130% บอนด์รัฐบาลยุโรปให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 40% ทองคำให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 30% บอนด์รัฐบาลสหรัให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 20% บอนด์รับบาลญี่ปุ่นให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 16%
ขณะที่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงเมื่อวัดจากอัตราค่าจ้างในสหรัฐเพิ่มขึ้นราว 22% ค่าจ้างในยุโรปเพิ่มขึ้น 15% อัตราการบริโภคในสรัฐเพิ่มขึ้น 16% ในยุโรปเพิ่มขึ้น 10% ราคาบ้านในสหรัฐเพิ่มขึ้น 3% ในยุโรปเพิ่มขึ้น 7% นอกจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงให้ผลตอบแทนที่ติดลบมากที่สุดกว่า 35%

5.ถึงแม้ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) คงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.25% ในการประชุมเมื่อวันพฤหัสฯ แต่มีการส่งสัญญาณว่าอาจจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอีกไม่นานนัก โดยก่อนหน้านี้ BOE อ้างว่าไม่ขึ้นดอกเบี้ยเพราะผลกระทบจาก Brexit
ส่วนท่าทีธนาคารกลางยุโรป (ECB) นั้น มาริโอ ดรากี้ ยืนยันจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าเศรษฐกิจยุโรปจะดีขึ้น ซึ่งตลาดคาดว่ายุโรปจะไม่มีการปรับขึ้นดอกเบี้นจนกว่าจะถึงกลางปี 2019 ที่เป็นวาระครบเทอมของมาริโอ ดรากี้ ที่จะอยู่ในตำแหน่งประธาน ECB ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังไม่ได้ส่งสัญญาณใดๆ ที่ชัดเจน

logoline