svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ECB-BOJ-BOE ลุยอัดฉีด QE เข้าระบบการเงินโลก 2 แสนล้านดอลล์/เดือน สวนทางนโยบายเฟด

10 มีนาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ECB-BOJ-BOE ลุยอัดฉีด QE เข้าสู่ระบบการเงินโลกสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือน ทั้งที่เวลาได้ล่วงเลยมานานถึง 8 ปีนับจากวิกฤติการเงินโลกปี 2008-2009 ดอยช์แบงก์เตือนอาจจะส่งผลธนาคารกลางขนาดใหญ่สูญเสียศักยภาพในการควบคุมปริมาณเงินที่ทะลักเข้ามาสู่ระบบการเงินโลกจำนวนมหาศาล แต่ "มาริโอ ดรากี้" ยังยืนยันผ่อนคลายการเงินต่อเนื่อง แม้ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่ยังคงวงเงินอัดฉีดผ่าน QE ตามแผนการเดิมเดือนละ 8 หมื่นล้านยูโรจนถึงสิ้นเดือนเมษายน แล้วค่อยๆปรับลดลงที่เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโรจนถึงธันวาคมปีนี้ สวนทางนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของเฟดที่คาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในสัปดาห์หน้านี้

ท่ามกลางความผันผวนหนักของตลาดบอนด์ที่มีราคาดิ่งลงสวนทางบอนด์ยีลด์ 10 ปีที่พุ่งขึ้นแตะ 2.59% และ Dollar Index พุ่งขึ้นยืนเหนือระดับ 102.21 อีกครั้ง ขณะที่น้ำมันร่วงลงต่อแตะ 49.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และราคาทองที่ร่วงหลุด 1,200 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนหุ้นสหรัฐและยุโรปอยู่ในภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตรงข้ามเงินหยวนอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วโดยออฟชอร์หยวนดิ่งลงแตะ 7 หยวนต่อดอลลาร์อีกครั้งหนึ่ง หลังตลาดการเงินระยะสั้นของจีนเกิดภาวะตึงตัวอย่างรุนแรง ขณะที่เงินเยนร่วงลงแตะ 115 ต่อดอลลาร์แล้วเช่นกัน

ด้านประธานที่ปรึกษาเศรษฐกิจด้านการค้าของทรัมป์ ยืนยันพร้อมกดดันญี่ปุ่น เยอรมัน และประเทศอื่นๆ ที่ได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐ ต้องหันมาซื้อสินค้าอเมริกันมากขึ้นภายใต้การเจรจาทวิภาค้าที่กำลังจะมีขึ้นในเร็ววันนี้
1.ธนาคารกลางขนาดใหญ่ที่ได้ชื่อว่าเป็นเสาหลักของระบบการเงินโลก ทั้งธนาคารกลางยุโรป (ECB) ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ยังคงใช้นโยบายการเงินที่เน้นการอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านเม็ดเงิน QE เพื่อซื้อสินทรัพย์ทางการเงินของภาครัฐบาลและเอกชน เป็นวงเงินมากถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือน ทั้งที่เวลาได้ล่วงเลยผ่านมานานถึง 8 ปีนับจากวิกฤติการเงินโลกที่เกิดขึ้นในปี 2008-2009
จากรายงานของดอยช์แบงก์ออกมาเตือนว่า ธนาคารกลางขนาดใหญ่ของโลกอาจจะเสียสูญในการควบคุมปริมาณเงินที่ทะลักเข้าสู่ระบบการเงินโลกจำนนวนมหาศาล โดยระบุว่า ECB ยังคงอัดฉีด QE เดือนละ 8 หมื่นล้านยูโร เพื่อซื้อสินทรัพย์ในตลาดการเงินยุโรปอย่างต่อเนื่อง ส่วน BOJ ใช้เงิน QE ราว 7 หมื่นล้านดอลลาร์ ถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ซื้อบอนด์รัฐบาลญี่ปุ่นทุกๆ เดือน และ BOE อัดฉีดเงิน QE ต่อเนื่องเป็น 3 ระยะช่วงปี 2010-2011 และปี 2013-2014 โดยล่าสุดเกิดขึ้นอีกหลัง Brexit จนถึงต้นปีนี้เดือนละเดือบ 2 หมื่นล้านดอลลาร์
ขณะที่เฟดอัดฉีด QE มากกว่าเดือนละ 1 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงปี 2009-2014 ก่อนที่จะหยุดการอักฉีดเม็ดเงินใหม่ตั้งแต่ปี 2015 โดยยังคงมรเม็ดเงิน QE คงค้างในงบดุลของเฟดสูงถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ จนถึงปัจจุบันนี้
ดอยช์แบงก์ยังชี้ว่า จีนเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ต้องจับตามองจากการแทนกแซงเงินหยวนที่จะให้ภาวะหนี้ในระบบการเงินของจีนมีภาระเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา จากหนี้ที่มีอยู่เดิม 20 ล้านล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นเป็น 160 ล้านล้านหยวนในขณะนี้

2.หลังจากการะชุมของ ECB เมื่อวันพฤหัสฯ "มาริโอ ดรากี้" ยังยืนยันผ่อนคลายการเงินต่อเนื่อง ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยและคงวงเงินอัดฉีดผ่าน QE ตามแผนการเดิมเดือนละ 8 หมื่นล้านยูโรจนถึงสิ้นเดือนเมษายน ก่อนปรับลดลงที่เดือนละ 6 หมื่นล้านยูโรจนถึงธันวาคมปีนี้ สวนทางนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของเฟดที่คาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในสัปดาห์หน้า
ECB ยังคงยืยดอกเบี้ยเงินให้กู้เพื่อการรีไฟแนนซ์ที่ 0% ดอกเบี้ยเงินฝากที่อัตราติดลบ 0.4% และดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมทั่วไปที่ 0.25% เนื่องจากยังมองว่าเศรษฐกิจยุโรปมีความเสี่ยงขาลง โดยมีการทบทวนการเติบโตของจีดีพีใหม่ในปี 2017 จากอัตราเติบโตที่ 1.6% เป็น 1.7% ในปี 2018 จาก 1.6% เป็น 1.7% และในปี 2019 ทรงตัวที่อัตราการเติบโต 1.6%

3.ความผันผวนอย่างหนักของตลาดบอนด์ที่มีราคาดิ่งลงสวนทางบอนด์ยีลด์ 10 ปีที่พุ่งขึ้นแตะ 2.59% โดย Bill Gross ผู้บริหารกองทุนขาใหญ่ในตลาดบอนด์เตือนเสี่ยงพังทลายหากบอนด์ยีลด์ทะลุ 2.6% ในช่วงที่เฟดมีแผนการเข้าสู่ Normalization ที่มีความเข้มงวดในนโยบายการเงินมากขึ้นโดยส่งผลให้ Dollar Index พุ่งขึ้นยืนเหนือระดับ 102.21 อีกครั้ง ขณะที่น้ำมันร่วงลงต่อแตะ 49.28 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และราคาทองที่ร่วงหลุด 1,200 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่วนหุ้นสหรัฐและยุโรปอยู่ในภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย

4.ตรงข้ามกับเงินหยวนปั่นป่วนหนักอีกครั้ง จากการอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว โดยออฟชอร์หยวนดิ่งลงทะลุระดับ 7 หยวนต่อดอลลาร์แล้วเมื่อเทียบกับตะกร้าเงินที่กำหนดค่าเงินหยวนในแต่ละวัน หลังตลาดการเงินจีนในระยะสั้นเกิดภาวะตึงตัวอย่างรุนแรง ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เป็นสกุลหยวนช่วงข้ามคืนพุ่งขึ้นจาก 2% เป็น 3.42% ส่งผลให้ออนชอร์หยวนร่วงลงอย่างรวดเร็วที่ 6.9277 ต่อดอลลาร์

5.ขณะประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจอห่งชาติ และเป็นที่ปรึกษาด้านการค้าของโดนัลด์ ทรัมป์ โดยปีเตอร์ นาวาโร เปิดฉากให้สัมภาษณ์ยืนยันอีก พร้อมจะกดดันอละเร่งรัดญี่ปุ่น เยอรมัน และประเทศอื่นๆ ที่ได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐ ต้องหันมาซื้อสินค้าและอาวุธยุทโธปกรณ์ของอเมริกันมากขึ้นภายใต้การเจรจาทวิภาค้าที่กำลังจะมีขึ้นในเร็ววันนี้
หลังจากที่สหรัฐต้องเจอกับภาวะการขาดดุลการค้าที่สูงถึงปีละ 5 แสนล้านดอลลาร์ขณะนี้ ซึ่งภาวะขาดดุลการค้าสูงนี้กเกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1990s-2000s



logoline