svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เงินเฟ้อจีนเดือนมกราคมพุ่ง ส่งผลธ.กลางหลายชาติลดแผนอัดฉีดเงิน

15 กุมภาพันธ์ 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เงินเฟ้อจีนในเดือนมกราคมพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีไล่ตามเงินเฟ้อเยอรมัน ส่งสัญญาณว่าในปี 2017 นี้ธนาคารกลางในประเทศต่างๆ อาจต้องถอดปลั๊กนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ PBOC เริ่มปรับลดเป้าหมายอัดฉีดทางการเงินลง หลังอัตราเร่งเกิดขึ้นทั้งจากการบริโภคและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะดัชนีผู้ผลิตที่ถูกผลักดันสูงขึ้นถึง 6.9%

เจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณคุมเข้ม เตือนเฟดเตรียมถกในเร็วๆ นี้ ที่จะปรับลดฐานะงบการเงินจากที่เคยอัดฉีดเงิน QE จนบานปลายถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ โดยที่เฟดจะไม่รอเวลาจนเนิ่นนานต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ย หากเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นจนเข้าใกล้จุดเป้าหมาย 2%
จีนเผยตัวเลขจีดีพีของ 11 เขตเศรษฐกิจร้อนแรง พุ่งทะลุหลัก 1 ล้านล้านหยวน โดยที่เซี่ยงไฮ้และปักกิ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งและสองมีมูลค่าในแต่ละเมืองมากกว่า 2.5 ล้านล้านหยวน ตามมาด้วยกวางโจวและเสิ่นเจิ้นเป็นอันดับสามและสี่มีขนาดมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านหยวน ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนที่หันมาเน้นการเติบโตภายในประเทศแทนการพึ่งพาส่งออก โดยเฉพาะการพึ่งภาคบริการที่ทำให้รายได้ของคนจีนเพิ่มสูงขึ้น
1.จีนรายงานตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมกราคมทะยานขึ้นทั้งด้านการบริโภคและการผลิต โดยที่ดัชนีผู้ผลิตที่พุ่งขึ้นสูงสุดถึง 6.9% เป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีนับจากเดือนสิงหาคม 2011 ส่วนดัชนีผู้บริโภคพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันในรอบเกือบ 4 ปีนับตั้งแต่ปี 2013 ทะลุระดับ 2.3% โดยเฉพาะในหมวดอาหารที่มีราคาแพงเนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นนั่นเอง
สัญญาณเงินเฟ้อของจีนที่พุ่งขึ้นนี้เป็นการปรับตัวไล่หลังตามเงินเฟ้อในเยอรมันที่พุ่งขึ้นก่อนหน้านี้ ทำให้ธนาคารกลางหลายประเทศกำลังทบทวนเป้าหมายในการดำเนินยโยบายการเงินในอนาคต หลังจากที่ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินสหรัฐปี 2008 เป็นต้นมา
2.ขณะที่ธนาคารกลางจีน (PBOC) เริ่มซื้อคืนบอนด์กลับเพื่อคุมปริมาณเงินที่ปล่อยออกไปถึงเดือนละ 1.05 ล้านล้านหยวนในช่วงก่อนเทศกาลตรุษจีน ปรับลดลงให้อยู่ในระดับ 9 แสนล้านหยวนต่อเดือน เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงินภายในประเทศ หลังจากที่จีนต้องอัดฉีดสภาพคล่องเงินหยวนในประเทศเพื่อประคองเศรษฐกิจ สลับกับการออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลออกในปีที่ผ่านมา
ขณะที่ PBOC เริ่มเจอโจทย์ใหม่จากการที่เงินเฟ้อในประเทศปรับตัวขึ้นรุนแรง ทั้งด้านอัตราการบริโภคและต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้น
3.หลังจากช่วง 2 สัปดาห์ก่อนที่ดัชนีผู้บริโภคของเยอรมันพุ่งขึ้นถึง 1.9% สูงสุดนับจากเดือนกรกฎาคม 2013 ล่าสุดในเดือนมกราคมดัชนีค้าส่งพุ่งขึ้นตามมามากกว่า 4.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้านั้น โดยถือเป็นอัตราการพุ่งขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2011 ขณะที่ช่วงก่อนหน้านี้การเพิ่มขึ้นของทั้งดัชนีผู้บริโภคและค้าส่งอยู่ใกล้เคียง 0% มานานปลายปี
ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์เริ่มประเมินแล้วว่า แนวโน้มของเงินเฟ้อในเยอรมัน ซึ่งเป็นอัตราเร่งตัวรุนแรงจะเกิดขึ้นต่อเนื่องในปี 2017 นี้ โดยจะส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรปต้องเร่งทบทวนเป้าหมายอัดฉีดเงินผ่าน QE นับจากนี้ไป หลังจากที่ยุโรปเคยมีประสบการณ์เงินเฟ้อที่รุนแรงในช่วงหลังสงครามโลกมาแล้ว
4.จากแนวนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจจีนที่มียุทธศาสตร์ในการยกระดับการพัฒนาภายในประเทศ แทนการพึ่งพาส่งออก ส่งผลให้ภาคบริการสร้างรายได้ให้กับระบบเศรษฐกิจมากขึ้น โดยที่ชาวจีนสามารถสร้างรายได้จากภาคบริการเพิ่มขึ้นมีสัดส่วนมากกว่า 51.6% ของจีดีพีนับตั้งแต่ปี 2015 กลายเป็นสัดส่วน 54.7% ในปี 2016
โดยที่ทางการจีนเปิดเผยตัวเลขจีดีพีของ 11 เขตเศรษฐกิจร้อนแรง พุ่งทะลุหลัก 1 ล้านล้านหยวน โดยที่เซี่ยงไฮ้และปักกิ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งและสองมีมูลค่าในแต่ละเมืองมากกว่า 2.5 ล้านล้านหยวน ตามมาด้วยกวางโจวและเสิ่นเจิ้นเป็นอันดับสามและสี่มีขนาดมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านหยวน ส่วนอันดับห้า และอันดับหก ไล่มาติดๆ โดยเทียนจิน และฉงชิ่ง มีขนาดจีดีพีมูลค่า 1.8 และ 1.7 ล้านล้านหยวนตามลำดับ ตามติดด้วยซูโจวมีมูลค่าจีดีพี 1.6 ล้านล้านหยวนส่วน 4 อันดับที่เหลือคือ เชงจู หาวโจว นานจิง และชิงเต่า มีขนาดจีดีพีอยู่ที่ 1.3, 1.2, 1.1 และที่ 1 ล้านล้านหยวนตามลำดับ
5.เจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณคุมเข้มมากขึ้น เตือนเฟดเตรียมถกในเร็วๆ นี้ ที่จะปรับลดฐานะงบการเงินจากที่เคยอัดฉีดเงิน QE จนบานปลายถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ โดยที่เฟดจะไม่รอเวลาจนเนิ่นนานต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ย หลังจากที่เงินเฟ้อเดือนล่าสุดขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 1.6% ซึ่งใกล้จุดเป้าหมาย 2% ขณะที่เศรษฐกิจยังคงมีการขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงภาวะตลาดการเงินสหรัฐที่ยังมีความแข็งแกร่ง แต่ยังคงต้องเพิ่มความระมัดระวังเกี่ยวกับปัจจัยที่จะส่งผลประกาศไลต่อการปรับตัวของราคาสินทรัพย์ที่สูงขึ้นในช่วงเวลานับจากนี้ไป
ทั้งนี้ ตามแผนการที่เฟดประกาศไว้ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า จะทำการปรับขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2017 นี้ โดยหลังจากคำแถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของเจเน็ต เยลเลน ซึ่งตลาดเริ่มให้น้ำหนักการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมสามครั้งในครึ่งแรกปีนี้ คือเดือนมีนาคมมีน้ำหนักปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ 36% เดือนพฤษภาคมที่ 53% และเดือนมิถุนายนที่ 75% โดยน้ำหนัก 79-95% อยู่ที่การประชุม 5 ครั้งในช่วงครึ่งปีหลัง

logoline