svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

'พังคี' รากแก้ท้องอืด

20 สิงหาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พูดถึง "พังคี" นับเป็นพรรณไม้โอสถที่มีสรรพคุณทางสมุนไพรมาก คือราก สามารถนำไปผสมกับสมุนไพรอื่นได้กว่า 30 ชนิด อาทิ ผสมกับรากส่องฟ้าดง ต้มน้ำดื่ม แก้จุกเสียด แก้ท้องอืด แก้ไข้เป็นต้น พบมากแถวภาคอีสาน ปลูกได้ทุกสภาพพื้นดิน ความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน

เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ในวงศ์ EUPHORBIACEAE ลำต้นตรงสูงราว  20-40 ซม. เปลือกต้นสีเทา                          ใบ เป็นใบเดี่ยว ทรงรี ขึ้นเรียงตรงข้ามกันตามกิ่ง ก้านใบยาว 2-3 ซม. สีเหลือง ผืนใบสาก กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-9 ซม. โคนใบมนเว้าเล็กน้อย ปลายแหลม ขอบใบจักตื้น มีเส้นแขนงใบ 3-5 คู่                         ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แยกเพศอยู่บนช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้ขนาด 8 มม. มีเกสรผู้ 15-25 อัน ดอกเพศเมียกลีบจะสั้นกว่า มีก้านชูเกสรยาวเรียว เวลาบานสีขาวนวล มี 2 กลีบ                          ผล ทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 1 เซนติเมตร เปลือกผลมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แตกเป็น 3 พู ด้านในมีเมล็ดกลมรี                          ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด  

logoline