svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หรือคำเตือนโลกร้อน จะเป็นเพียงนิทานหลอกเด็ก?​.. กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินแก้

16 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไม่ใช่คำเตือนที่มีลักษณะนับถอยหลังวันสิ้นโลกครั้งแรก ก่อนหน้านี้ก็มักมีคำเตือนทำนองนี้อยู่เนืองๆ ว่าโลกวิกฤตแล้ว แต่คำถามก็คือ มีใครลดละหรือพยายามทำอะไรให้ดีขึ้น อย่างชนิดที่เรียกว่าพลิกหน้ามือเป็นหลังมือหรือไม่ หากวิกฤตอยู่ไม่ไกลแค่เอื้อม

อีก 11 ปี หายนะของโลกมาเยือน เพราะก๊าซเรือนกระจก ทะลุ 400 ppm นี่เป็นคำเตือนล่าสุดจากนักวิทยาศาสตร์ที่ติดตามปัญหาสภาวะโลกร้อน ที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ แต่นี่ก็ไม่ใช่คำเตือนที่มีลักษณะนับถอยหลังวันสิ้นโลกครั้งแรก ก่อนหน้านี้ก็มักมีคำเตือนทำนองนี้อยู่เนืองๆ ว่าโลกวิกฤตแล้ว แต่คำถามก็คือ มีใครลดละหรือพยายามทำอะไรให้ดีขึ้น อย่างชนิดที่เรียกว่าพลิกหน้ามือเป็นหลังมือหรือไม่ หากวิกฤตอยู่ไม่ไกลแค่เอื้อม

นิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟิก กล่าวถึงงานวิจัยชิ้นใหม่ ระบุโลกต้องปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวนมาก เพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ตามที่ตั้งเป้าไว้ ไม่เพียงแต่ต้องยุติการสร้างโครงสร้างพื้นฐานใดๆ ที่มีการใช้ พลังงานฟอสซิล เท่านั้น โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานฟอสซิลที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้จำเป็นต้องปิดลงโดยเร็ว แต่ปัจจุบันยังมีแผนหรือการดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลอยู่อีกมากมาย

กลับมาดูที่ประเทศไทย ปัจจุบันผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติถึง 58% รองลงมาเป็นถ่านหิน 18% ทั้งสองเชื้อเพลิงหลักล้วนเป็นพลังงานงานจากฟอสซิล และท่ามกลางการต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้แผน PDP 2018 ยังคงพึ่งพาโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซ และการเพิ่มขึ้นอย่างมากมายของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ที่เพิ่มขึ้นถึง 10,000 MW กับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์โซลาร์ภาคประชาชนอีกปีละ 100 MW รวม 10 ปีหรือ 1,000 MW

ในแผน PDP 2018 มีการตัดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกจากแผนทั้งหมด (2,000 MW) เพิ่มสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (AEDP) เพิ่มขึ้นถึง 18,176 MW ส่วนกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา (2,800 MW) ยังไม่ได้ระบุสถานะว่าจะดำเนินการต่อหรือยกเลิกไว้ในแผน

แต่การใช้ก๊าซ รวมทั้งแผงโซล่าเซลล์ ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ปฏิเสธไม่ได้ว่าทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น และต้องจับตาว่าค่าไฟฟ้าจะปรับเพิ่มขึ้นในอนาคตหรือไม่ แต่อย่างน้อยการลดใช้พลังงานจากถ่านหิน ก็น่าจะเพิ่มต้นทุนทางสังคมที่จะช่วยเหลือธรรมชาติของโลกใบนี้

ทว่า การปลดระวาง หรือไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่ม ก็ไม่ใช่ที่สุดของการลดก๊าซเรือนกระจก เพราะ ยังไม่ได้กล่าวถึงปัจจัยจากการทำเกษตรกรรม การทำลายป่าไม้ และการใช้ประโยชน์จากที่ดินในแบบอื่นๆ ซึ่งคิดเป็น 24% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปัจจุบัน

ย้อน 100 ปีก่อน ชั้นบรรยากาศของโลกมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 280 โมเลกุล ในทุกๆ 1 ล้านโมเลกุลของมวลอากาศ หรือ 280 ppm (parts per million) ต่อมา 10 ปีให้หลังชั้นบรรยากาศมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 380 ppm

นักวิทยาศาสตร์บอกว่า หากปริมาณก๊าซชนิดนี้เกิน 400 ppm โลกจะถึงคราววิกฤตด้านธรรมชาติ แต่ ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่วัดได้ล่าสุด มากกว่า 415 ppm ไปแล้ว นั่นหมายความว่าถึงจุดวิกฤตแล้ว มันเป็นวิกฤตที่เงียบมาก เงียบจนเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือ คำเตือนของนักวิทยาศาสตร์เป็นเพียงนิทานหลอกเด็ก หลอกไปจนกว่าเราจะสูญเสีย และกว่าจะรู้ว่ามันไม่ใช่เพียงนิทานแต่คือเรื่องจริง ถึงเวลานั้นก็สายไปเสียแล้ว

#วชิรวิทย์ #วชิรวิทย์รายวัน #Vajiravit #VajiravitDaily #Nation #NationTV

logoline