svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ลูกวางยาฆ่าแมลงในโอ่ง เหตุพ่อถอดปลั๊ก WiFi

18 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรณีเกิดเหตุลูกชายใส่ยาฆ่าแมลงในโอ่งน้ำ หวังฆ่าพ่อแม่ให้ตายทั้งบ้าน หลังไม่พอใจที่พ่อถอดปลั๊กสัญญาณ WiFi ไม่ให้เล่นเกมกลางดึก เนื่องจากส่งเพราะเสียงดังรบกวนเวลาพักผ่อนของพ่อแม่

เกิดเหตุลูกวางยาฆ่าแมลงในโอ่งน้ำ แม่เครียดเรื่องลูกชายคิดจะฆ่าคนในครอบครัว ไม่พอใจที่พ่อเลี้ยงถอดปลั๊กสัญญาณส่งไวไฟ ซึ่งลูกชายกำลังเล่นเกมส์มือถืออยู่ ทำให้ไม่พอใจเกิดบันดาลโทสะ นำยาฆ่าแมลงมาโรยลงในโอ่งน้ำ
โดยผู้เป็นแม่เล่าว่า ในช่วงคืนวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา เวลาประมาณเที่ยงคืน ลูกชายได้ดื่มสุราจนเมาและกลับมาเล่นเกมมือถือที่บ้านส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น ซึ่งเป็นช่วงเวลากลางคืนที่เงียบสงัด ทำให้พ่อเลี้ยงเกิดความรำคาญ จึงได้ไปถอดปลั๊กไฟสัญญาณส่งไวไฟออก ทำให้ลูกชาย เกิดความไม่พอใจ เกิดบันดาลโทสะได้ตะโกนด่าทอหลายครั้งและทุบกำแพงบ้าน
พ่อเลี้ยงจึงได้เข้าไปทำร้ายลูกเลี้ยง จึงสงบไป ต่อมาช่วงเวลาประมาณ ตี 2.15 นาที ตนได้ยินเสียงคนเดินมาทางหลังด้าน ตนจึงไปส่องดู พบว่าลูกชายได้โรยผงอะไรบ้างลงไปในโอ่งน้ำ ทั้ง 2 โอ่ง สักพักก็เทน้ำในโอ่งทิ้ง 1 โอ่ง ตนก็แปลกใจทำไมลูกชายถึงเทน้ำในโอ่งทิ้ง ตนจึงกลับเข้าไปนอนต่อ เวลา 05.30 น. ตนตื่นนอนก็ลงมาจะหุงข้าว ทำกับข้าว กำลังจะตักน้ำมาหุงข้าว ตนก็เห็นอะไรลอยอยู่ในโอ่ง จึงเอาไฟฉายมาส่องดู ตอนแรกคิดว่าเป็นทรายอะเบด แต่ไม่ใช่ พบว่าเป็น ยาฆ่าแมลงโพลีดาน ตนตกใจมากที่ลูกชายจะคิดฆ่าตนและพ่อเลี้ยง จึงได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบายความเครียดและให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือครอบครัวตนด้วย
ด้านลูกชาย เล่าว่าตนถูกพ่อเลี้ยงทำร้ายร่างกายก่อน จึงเกิดบันดาลโทสะ ด้วยความโมโหจึงเอายาฆ่าแมลงมาโรยลงในโอ่งน้ำหวังจะให้พ่อเลี้ยงกิน แต่มาคิดได้จึงเทน้ำในโอ่งทิ้ง แล้วกลับไปนอนตามปกติ
อย่างไรก็ดีแม่ยังบอกอีกว่า ลูกชายของตนมีอารมณ์รุนแรง โมโหง่าย ครั้งหนึ่งเคยเอามีดไล่แทงตน ตนจึงอย่างให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือตนและครอบครัว ให้ลูกชายของตนไปอยู่ที่อื่นก่อน เพราะกลัวว่าลูกชายจะถูกทำร้ายตนและครอบครัวอีก

จากเหตุการณ์ดังกล่าวผู้สื่อข่าวได้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการติดเกมส์ โดยได้ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิตโดยนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิตได้ให้รายละเอียดว่า ปัญหาพฤติกรรมเสพติดเกม เป็นปัญหาจิตเวชเด็กและวัยรุ่นที่พบบ่อยในอายุระหว่าง 6-18 ปี มีความสัมพันธ์กับชนิดของเกมประเภทต่อสู้ออนไลน์แบบมีผู้ลงแข่งเป็นทีมเป็นหลัก และเกิดโรคร่วมทางจิตเวช เช่น โรคสมาธิสั้น วิตกกังวล ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน โรคติดสารเสพติด โรคจิต และโรคลมชัก
โดยเฉลี่ยเด็กและวัยรุ่นจะใช้เวลาเล่นเกมนาน 5 ชั่วโมงต่อวันและเล่นเกมแข่งขันต่อสู้ออนไลน์ 1-4 เกมสลับกันไป ซึ่งเกินระดับความปลอดภัยในการเล่นเกม 9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เด็กมักแสดงอาการหงุดหงิด ก้าวร้าวเมื่อให้เลิกเล่น และมักไม่ทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตนเองซึ่งเกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ ปัญหาการเรียน สอบตก ไม่ยอมไปโรงเรียน ซ้ำชั้น เรียนไม่จบ จากการเล่นนานเกิน 4 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป พฤติกรรมเสี่ยงเรื่องเพศ ผ่านการแชทในห้องเกม ปัญหาการเติมเงิน การซื้อขายและการพนัน พฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจา เช่น การด่าทอด้วยภาษาหยาบคาย พฤติกรรมก้าวร้าวทางกาย เช่น การทุบตีคนอื่น อาละวาดทำลายของ คุกคามคนใกล้ชิด เป็นต้น

ลูกวางยาฆ่าแมลงในโอ่ง เหตุพ่อถอดปลั๊ก WiFi

ทั้งนี้ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้โรคติดเกม เป็นหนึ่งโรคทางจิตเวช เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาสมอง พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็กและยังเสนอแนะวิธีการการป้องกันการติดเกม ไว้ว่า ครอบครัวมีส่วนสำคัญในการวางกรอบกติการ่วมกัน กำหนดเวลา ลักษณะเกม และร่วมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว อีกทั้งผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้มีวินัยแนวทาง ไม่ปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เล่นไอแพด ไอโฟน แทนการเลี้ยงดูและการได้รับการกระตุ้นพัฒนาการจากพ่อแม่

logoline