svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รักโลก by วชิรวิทย์ | บูรณะเพนียด 4.0

03 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไม่มีใครเคยเห็นเพนียดคล้องช้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่แท้จริงว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร นี่เป็นโบราณสถานที่ได้รับการบูรณะมาหลายยุคหลายสมัย แต่การบูรณะครั้งล่าสุด กำลังเป็นที่ถกเถียงว่า เสาไม้ล้อมเพนียดสีแดง ที่เรียกว่าเสาตะลุง มียอดเป็นดอกบัวหรือไม่

เสียงโห่ร้องจากชาวบ้านในละแวกเพนียดคล้องช้าง ขับไล่เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ที่เข้ามาบูรณะโบราณสถานแห่งนี้ เสียงโห่ฮาของชาวบ้าน มีขึ้นในระหว่างที่ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กำลังให้สัมภาษณ์กับเรา
ความเดือดดาลของชาวบ้าน เกิดจากแบบในการบูรณะเพนียดคล้องช้างมีความผิดแผลกแตกต่างไปจากในอดีต
เสาไม้สีแดงสด ปักแถวเป็นแนวลอบล้อมเพนียดคล้องช้างชั้นนอก หรือที่เรียกว่า ปีกกา ภายหลังการบูรณะครั้งล่าสุด จากกรมศิลปากร มีสภาพเป็นอย่างที่เห็น ยอดเสาหัวมนกลม คล้ายดอกบัวตูม ถูกตัดออกไปไม่นานเกินรอ กลุ่มชาวบ้านยี่สิบกว่าคน พากันจุดธูปสาบแช่งกรมศิลปากร ควันจากธูปดอกเดียว หลายดอกฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ เป็นสื่อบอกกล่าวกับสิ่งที่มองไม่เห็น ว่าลูกหลานคนอยุธยา หมดความอดทนกับการบูรณะโบราณสถานท้องถิ่นที่ขาดการมีส่วนร่วม มากไปกว่าการไม่เกียรติคนในพื้นที่แล้ว คือการลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ชาวบ้านที่นี่เชื่อเหลือเกินว่าการบูรณะที่ผิดหูผิดตาไปจากที่เคยเห็นมาตั้งแต่เกิด ไม่เป็นผลดีต่อเจ้าของโครงการที่เข้ามาบูรณะ
แน่นนอนว่า ตลอดชีวิตการทำงานของ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา คนนี้ ยังไม่เคยเผชิญหน้ากับแรงดันจากชาวบ้าน ไม่มีการทำงานครั้งไหนที่ทำให้ สุกัญญา เบาเนิด รู้สึกหวั่นไหวเท่ากับครั้งนี้
เธอยืนยันว่าสิ่งที่ทำเป็นการอนุรักษ์ เพนียดคล้องช้าง ตามหลักฐานภาพถ่ายที่เก่าแก่ที่สุด ในสมัยรัชกาลที่ 4 ปรากฎภาพ เสาตะลุงรอบนอกพระที่นั่ง ไม่มียอดเป็นดอกบัว ซึ่งคาดว่าเสาตะลุงรอบนอกที่มียอดเป็นดอกบัว มาเพิ่มเติมจากการบูรณะในภายหลัง
เพนียดคล้องช้าง สำคัญอย่างไร
เพนียดคล้องช้าง คือสถานที่สำหรับการจับช้างหน้าพระที่นั่ง แต่เดิมเคยใช้พื้นที่ข้างพระราชวังจันทรเกษม จนถึงสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ.2123 จึงย้ายมาที่ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช้าง เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญสูงมาก เนื่องเป็นพาหนะของชนชั้น สูงสำหรับพระราชดำเนินทางบก และเป็นเหมือนรถถัง หรือเครื่องมือสำคัญในการนำลี้พล เข้าต่อสู้กับข้าสึก
พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะเสด็จมาทอดพระเนตรการคล้องช้างด้วยเสมอ เพราะนอกจากจะเป็นขั้นตอนในการคัดเลือกช้างแล้ว ยังเป็นมหรสพชนิดหนึ่ง
สำหรับการบูรณะเพนียดคล้องช้าง ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีมาอย่างต่อเนื่อง
ไล่เรียงไทม์ไลน์บูรณะเพนียด
ปี พ.ศ.2441 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการบูรณะเพนียด โดยรัชกาลที่ 5 เสด็จมาทอดพระเนตรการบูรณะ เมื่อวันที่ 30 ม.ค.และในช่วงวันที่ 9-12 ก.พ. ทรงโปรดให้มีพิธีคล้องช้าง รูปแบบหัวเสา
จากภาพถ่ายเก่ายังเป็นรูปแบบหัวเสาด้านในเชิงเทินเป็นเสาหัวมน ด้านนอกเชิงเทินเป็นหัวเสาตัดตรง เหมือนก่อนการบูรณะ
ต่อมา พ.ศ.2500 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงโปรดให้ซ่อมเพนียด
ปรากฏภาพถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2505 รูปแบบหัวเสาในครั้งนี้ถูกเปลี่ยนไป โดยรูปแบบเสาทั้งด้านในและนอกเชิงเทินเป็นเสาหัวมน ที่ใต้ส่วนยอดมีการเซาะร่อง เพียงร่องเดียว คาดว่าเป็นการบูรณะโดยการเปลี่ยนเสาใหม่ทั้งหมด
พ.ศ.2530 และ พ.ศ.2550 มีการบูรณะเพนียด รูปแบบหัวเสายังคงยึดตามแบบการบูรณะในปี พ.ศ.2500
และในปี พ.ศ. 2561-2562 กรมศิลปากรได้บูรณะเพนียดอีกครั้งตามรูปแบบดั้งเดิมตามหลักฐานจากภาพถ่ายเก่าในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5

งบประมาณบูรณะและเบื้องหลังชาวบ้านแม้การบูรณะครั้งล่าสุด นโยบายของกรมศิลปากรจะให้บูรณะตาม แบบที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยปรากฎภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่ประธานสภาวัฒนธรรม พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นหญิงชราใน วัย 80 ปี คนนี้ ก็เห็นพ้องกับชาวบ้านในพื้นที่ว่าควรบูรณะตามแบบยุคปัจจุบัน เพราะมีความสวยงามมากกว่า และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวมากกว่า
ถ้าไม่นับรวมเรื่องการบูรณะเพนียดคล้องช้างว่าแบบไหนถึงเรียกว่าการอนุรักษ์ ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่ซับซ้อนไปมากกว่านั้น
ไม่ว่าจะเป็นการใช้งบประมาณในการบูรณะกว่า 30 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าการบูรณะเมื่อ 10 ปีที่แล้ว กว่า 1 เท่าตัว และเบื้องหลังของชาวบ้านที่ออกมาโห่ฮา นอกจากความหวงแหนสถานโบราณสถานแล้ว ไม่มีใครรู้ว่ามีเบื้องลึกเบื้องหลังไปมากกว่านี้ อีกหรือไม่
บนผืนดินศักดิ์สิทธิ์ โบราณ ในยุคที่ช้างกลายเป็นสัตว์เลี้ยง ที่ให้ผลประโยชน์ได้ ยังมีเรื่องราวของการใช้ประโยชน์ที่ดินเพนียดคล้องช้าง ที่ทับซ้อนกับที่ดินโบราณสถานที่กรมศิลปากรถือกรรมสิทธิ์ และกำลังต้องการจัดระเบียบกับเอกชน ที่เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่
การบูรณะเพนียดคล้องช้าง มีความคืบหน้าไปกว่า ร้อยละ 80 แล้ว ผู้รับเหมากำลังจะส่งมอบงาน ให้กับกรมศิลปากร ได้ภายในกลางเดือนมิถุนายนนี้ แต่ความอึมครึมในพื้นที่ไม่มีทีท้าว่าจะจบลงอย่างง่ายๆ .

ชมคลิปเต็ม

logoline