svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

ผู้ว่าชลฯ สั่ง จับสถานประกอบการปล่อยน้ำเสีย

21 พฤษภาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้ว่าชลฯ สั่ง 7 หน่วยงาน บูรณการล้อมชุมชนนาจอมเทียน ตรวจจับสถานประกอบการปล่อยน้ำเสีย ดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งหมด นายกเล็ก "สมพงษ์" ลั่นกลางที่ประชุมภายใน 1 เดือน จะสยบ "ดราม่า" กับเหตุการณ์น้ำเน่า 1 ชม.ให้จงได้ ขณะชาวบ้านเรียกร้อง ซ่อม ระบบบำบัดน้ำเสีย ร้างใกล้หมดประกัน กลางเดือนหน้า

เมื่อวันที่21พ.ค.62 ที่ห้องประชุม เทศบาลตำบลนาจอมเทียนอ.สัตหีบ จ.ชลบุรี นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีมอบหมายให้นายอนุชา อินทศร นายอำเภอสัตหีบ เป็นประธานการประชุมร่วม 7 หน่วยงานวางมาตรการร่วมเข้าตรวจสอบบ่อบำบัดน้ำเสีย สถานประกอบการ โรงแรม รีสอร์ทคอนโดมิเนียม และร้านอาหาร ที่มีขนาดใหญ่ในพื้นที่นาจอมเทียน รวม 33 แห่งเพื่อวัดผลคุณภาพน้ำ ระบบ และตรวจสอบหาผู้กระทำผิดกฎหมายในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียไหลออกสู่ทะเล อย่างเร่งด่วนในวันจันทร์ที่ 28 พ.ค.มีห้วงเวลาดำเนินการ 1 เดือน

สืบเนื่องจากผลกระทบ เหตุการณ์น้ำเน่าดำมวลมหาศาลไหลออกจากปากท่อระบายน้ำทะลักออกทะเล บริเวณชายหาด ซอยนาจอมเทียน 8 ม.1ต.นาจอมเทียน จนกลายเป็นทะเลดำส่งกลิ่นเน่าเหม็นในพริบตา ทำให้มีนักท่องเที่ยวถ่ายรูปและคลิปวีดีโอ นำไปเผยแพร่ในสื่อโซเชียลอย่างกว้างกว้างส่งผลกระทบต่อสภาวะสิ่งแวดล้อมชายหาด และภาพลักษณ์การท่องเที่ยวอย่างมากเมื่อช่วงบ่ายของวันเสาร์ที่ 18 พ.ค.62


ผู้ว่าชลฯ สั่ง จับสถานประกอบการปล่อยน้ำเสีย



ผู้ว่าชลฯ สั่ง จับสถานประกอบการปล่อยน้ำเสีย


ผู้ว่าชลฯ สั่ง จับสถานประกอบการปล่อยน้ำเสีย


ผู้ว่าชลฯ สั่ง จับสถานประกอบการปล่อยน้ำเสีย



ในที่ประชุม นายสมพงษ์ สายนภา นายกเทศมนตรีตำบลนาจอมเทียนได้ชี้แจ้งรายงานสถานการณ์ และผลดำเนินการแก้ไขล่าสุด โดยมี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชลบุรี ร้อยรักษาความสงบเรียบร้อยกองทัพเรือสภ.นาจอมเทียน ฝ่ายปกครอง สาธารณสุขอำเภอสัตหีบ และคณะทำงานเทศบาลฯร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

นายอนุชา อินทรศร นายอำเภอสัตหีบ กล่าวว่า จากเหตุการณ์น้ำเน่าเสียไหลออกสู่ทะเลทางผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมากพร้อมให้เร่งดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือนซึ่งภายหลังการประชุมได้ข้อสรุปถึงสาเหตุ เกิดจากระบบระบายน้ำเสียของทางเทศบาลฯขัดข้องไม่สามารถใช้การได้ ทำให้น้ำเสียค้างท่อระบายน้ำก่อนจะมีปริมาณมากจนล้นทะลักออกสู่ประตูระบายน้ำทางทะเล

ซึ่งในเรื่องนี้ นายสมพงษ์ สายนภา นายกเทศมตรีตำบลนาจอมเทียน ได้กล่าวให้คำมั่นในที่ประชุม ถึงการแก้ไขปัญหาน้ำเสียให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน เพื่อสยบความ "ดราม่า" กับปัญหาเพียงแค่ 1 ชั่วโมง ที่ส่งผลกระทบภาพลักษณ์การท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อม ให้ได้อย่างแน่นอน

โดยมีมาตรการแก้ไขหลัก คือ ซ่อมแซมระบบระบายน้ำให้ใช้การได้ พร้อมร่วมMOUกับเมืองพัทยา ในการร่วมแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ผลักดันน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัด ระหว่างรอดำเนินการจะทำการใช้รถดูดน้ำเสียออกจากท่อ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เพื่อแก้ไขปัญหาระยะสั้นไปก่อน พร้อมกับนำถุงทรายไปปิดบริเวณปากท่อระบายที่ไหลออกสู่ทะเลทั้ง 12 แห่ง เพื่อป้องกันน้ำเสียไหลทะลักออกสู่ทะเล


ผู้ว่าชลฯ สั่ง จับสถานประกอบการปล่อยน้ำเสีย

ผู้ว่าชลฯ สั่ง จับสถานประกอบการปล่อยน้ำเสีย



ผู้ว่าชลฯ สั่ง จับสถานประกอบการปล่อยน้ำเสีย


ผู้ว่าชลฯ สั่ง จับสถานประกอบการปล่อยน้ำเสีย

นอกจากนี้ ได้มีมาตรการเร่งด่วน ในการตรวจสอบสถานประกอบการขนาดใหญ่ ที่มีบ่อบำบัดน้ำเสีย เพื่อวัดมาตรฐาน และตรวจสอบผู้ไม่ดำเนินตามระเบียบ ลักลอบปล่อยน้ำเสียออกสู่ท่อระบายน้ำ ซึ่งหากมีการตรวจพบ จะทำการจับกุม ดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างไม่มีข้อยกเว้น

สำหรับ ระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย ที่ทางเทศบาลฯได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ภายใต้แผนปฏิบัติการ เพื่อจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม จากสำนักงบประมาณ จำนวน 124,860,000 บาท และเทศบาลฯสมทบอีก 12,486,000 บาท รวม137,346,000 บาท ดำเนินการก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย ประกอบด้วย ก่อสร้างระบบระบายน้ำ ท่อระบายน้ำพร้อมบ่อพัก นอกจากนี้ ยังก่อสร้างสถานีสูบน้ำเสีย 12 แห่ง พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 36 เครื่อง บ่อดักน้ำเสีย 12 บ่อ อาคารระบายน้ำ 9 แห่ง และต่อเชื่อมท่อแรงดันเข้ากับระบบบำบัดน้ำเสียของเมืองพัทยา ที่ซอยวัดบุณย์-กัญจนาราม การก่อสร้างแล้วเสร็จใช้งานในปี 2560 โดยบริษัทผู้รับเหมาจัดสร้าง เริ่มต้นรับประกันตั้งแต่ วันที่ 16 มิ.ย.60 สิ้นสุดวันรับประกัน 16 มิ.ย.62 ซึ่งเหลือเวลาเพียง 1 เดือนสุดท้าย ปัจจุบันระบบ และเครื่องสูบน้ำเกือบทั้งหมดใช้การไม่ได้ ถูกปล่อยทิ้งร้าง

logoline