svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รักโลก by วชิรวิทย์ | ทางออกหมอกควัน

02 พฤษภาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอกควันที่ปกคลุมเมืองเชียงใหม่ และจังหวังหวัดต่างๆในภาคเหนือ กินเวลายาวนานกว่าทุกปี ในโรงพยาบาลมีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นจากภาวะอากาศที่ย่ำแย่ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่การประกาศเขตภัยพิบัติทางธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหลังจากที่นายกรัฐมนตรีลงพื้นที่คือการขีดเส้นให้ปัญหาหมอกควันจบภายใน 7 วัน น่าสังเกตว่านี่อาจไม่ใช่ภัยธรรมชาติ แต่เป็นความล้มเหลวในบริหารจัดการพื้นที่


นี่คือภาพทะเลเพลิง บนดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่ถูกบันทึกไว้เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา มันถูกส่งต่อในโซเชียลมีเดียออกไปอย่างกว้างขวาง ขณะที่คนเริ่มตระหนักว่าปัญหาหมอกควันภาคเหนือที่หนักหน่วงในปีนี้ เกิดจากการเผาป่าที่กินบริเวณกว้างหลายล้านไร่
ปฏิเสธไม่ได้ว่าไฟป่าส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของป่าและสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่าที่ถูกไฟคลอกตาย ทำให้เห็นภาพของความสูญเสียที่ชัดเจนมากขึ้น มากไปกว่านั้น ควันที่เกิดจากไฟป่ายังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปกคลุมชั้นบรรยากาศ ซ้ำเติมปัญหาโลกร้อนไม่ต่างจากภาคอุตสาหกรรม
ถ้าไฟป่าเกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ การจัดการไฟป่า ก็ถือเป็นการจัดสรรทรัพยากรอย่างหนึ่งระหว่างรัฐกับประชาชน // กรีนพีซมองว่าปัญหาเกิดจาก พื้นที่ซับซ้อนระหว่างชุมชนกับเขตป่า จนอาจทำให้เกิดความโกรธแค้น ในการแบ่งปันทรัพยากรที่ไม่ลงตัว
ความขัดแย้งในพื้นที่หลังเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ รื้อรีสอร์ทบนดอยหลวงเชียงดาว ของชาวเขาเผ่าลีซูอทำให้เราเดินทางมาที่นี่
ผู้ชายคนนี้ คือเจ้าของระเบียงดาวรีสอร์ท เป็นรีสอร์ทแห่งแรกบนดอยหลวงเชียงดาว ก่อนที่ชาวเขาเผ่าลีซอจะเริ่มสร้างรีสอร์ทเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวขึ้นอีกหลายหลัง
นิคม วงษ์สุข ไม่ใช่ชาวเขาเผ่าลีซอ แต่เขาแต่งงานกับหญิงชาวเขาเผ่าลีซอ และขึ้นมาทำธุรกิจรีสอร์ท บนนี้ เมื่อ 10 ปีก่อน
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความสวยงามของดอยหลวงเชียงดาว ดอยที่สูงสุดเป็นอัน 3 ในประเทศไทย ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาที่นี่ สร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเขาเผ่าลีซอได้ไม่น้อย และมากไปกว่าการสร้างรายได้ คือการที่ชาวเขาไม่ต้องแพ้วถางพื้นที่ป่า เพื่อทำไร่ออกไปอีก แม้ว่าบรรพบุรุษจะใช้ชีวิตสืบต่อกันมานาน ก่อนที่ทั้งหมู่บ้าน จะถูกประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวแต่ทุกอย่างสะดุดลง หลังจากที่ เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ รื้อสอร์ทของชาวบ้านและตั้งกติกาให้ 1 ครอบครัวทะเบียนบ้าน สร้างรีสอร์ทได้เพียง 2 หลัง เท่านั้น
นิคม พาเราดูเศษซากรีสอร์ทที่ถือถูกรื้อ ซากรีสอร์ทที่เหลืออยู่แหลมคม บาดลึกลงไปในจิตใจของชาวบ้าน เราเดินลงจากเนินเขาเล็กๆ ที่เคยหนาแน่ไปด้วยรีสอร์ท แล้วก็ได้พบกับชาวเขาเผ่าลีซออีกคน ที่หวังทำธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อยกระดับชีวิตครอบครัวของตัวเอง
อาทิตย์ นิภัทร์โภคา ยอมรับว่า ไม่พอใจที่เจ้าหน้าที่รื้อรีสอร์ท แต่ความโกรธครั้งนี้ ก็ไม่ใช่แรงจูงใจที่จะทำให้พวกเขา ลุกขึ้นมาเผาป่าเพื่อกลั่นแกล้งเช่นกัน.. เพราะจริงๆ แล้วก็ไม่อยากให้มีไฟเกิดขึ้น เนื่องจากกระทบ กับการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของหมู่บ้าน
แต่ข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ ที่ผ่านมา ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่จะร่วมมือกันป้องกันไฟป่า แต่หลังจากที่ มีการตั้งชุดเฉพาะกิจเพื่อดับไฟป่าขึ้นมาโดยเฉพาะ หรือ ที่เรียกว่าชุดเสือไฟ เจ้าหน้าที่ก็ไม่ขอความร่วมมือจากชาวบ้านอีกต่อไป
เวลาเกิดไฟป่าพวกเขาได้แต่นั่งดูไฟลุกลามไหม้ไปเรื่อยๆ และปล่อยให้เจ้าหน้าที่ชุดเสือไฟ ดับไฟกันเอง ชาวบ้านไม่กล้าสันนิษฐานหรืออยากล่าวโทษใคร เพียงแต่การให้สัมภาษณ์ครั้งล่าสุดของอธิบดีกรมป่าไม้นั้น มีนักข่าวถามถึง การเผาป่าเพื่อของบของกลุ่มเจ้าหน้าที่ซึ่งอธิบดีปฏิเสธ
หลังสัมภาษณ์ชาวบ้านบนดอยหลวงเชียงดาวเสร็จแล้ว ไม่นานนักกลุ่มควันกลุ่มใหญ่ก็โพยพุ่งขึ้นกลางป่า ไม่มีใครรู้ว่า ไฟป่าที่ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดจากอะไร เกิดจากไฟป่าเดิมที่ยังเผาไหม้ไม่หมด หรือ มีคนจุดไฟซ้ำ
บนเนินที่สูงที่สุดของหมู่บ้าน เราได้พบกับผู้ใหญ่บ้าน ม.10 ต.เชียงดาว เขากับลูกบ้านจำนวนหนึ่ง มารวมตัวกันที่นี่เพื่อเฝ้าระวังไฟป่า และในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ตรงหน้า เขามีบางอย่างที่จะพูดกับเรา
ไม่นานเกินรอ วีระวัฒน์ เลาหมี่ ก็โทรเรียกเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ให้ขึ้นมาช่วยกัน และทีมข่าวของเราจะตามพวกเขาไปดับไฟ
ด้วยความชำนาญทาง กลุ่มชาวบ้านล่วงหน้าไปก่อน ส่วนเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ตามมาทีหลัง การเดินเท้าเข้าไปในป่าเพื่อดับไฟ ไม่ใช่เรื่องสนุก เราและเจ้าหน้าที่เดินขึ้นลงเนิน บางจุดต้องไปลงในห้วย สลับกันไปอย่านั้น เป็นระยะทาง 2 3 กิโลเมตร
เมื่อเรามาถึง ชาวบ้านที่มาถึงก่อนก็ดับไฟได้หมดแล้ว เหลือแต่ควันที่คละคลุ้ง แต่อย่างน้อยเราก็ได้เห็นความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้าน ที่ลึกๆอาจมีความขัดแย้งกันอยู่บ้าง แต่ก็ยังหันหน้าคุยกันได้

ยิ่งหาคำตอบว่าไฟป่าเกิดจากอะไร ก็ยิ่งเจอคำถามเพิ่มขึ้น ภาพที่เห็นนี่คืออะไร ไม้ขีดไฟมัดกับธูป ระเบิดปิงปอง และมัดธูปกำใหญ่ ที่ตั้งใจก่อให้เกิดประกายไฟ ในพื้นที่ดอยหลวงเชียงดาว
ประเด็นเหล่านี้ถูกโยงเข้ากับเรื่องการเมืองทันที เมื่อรองแม่ทัพภาคที่ 3 บอกในไลน์กลุ่มนักข่าว ว่าการเผาป่า เป็นการเผาแบบมีนัยยะทางการเมือง
เราต้องการคำอธิบายเรื่องนี้ เราได้พยายามติดต่อไปที่รองแม่ทัพภาคที่ 3 เพื่อขอสัมภาษณ์ แต่ไม่ได้รับการตอบรับ เราจึงถามเรื่องนี้ กับผู้ว่าราชการเชียงใหม่วันเดียวกันมีเวทีเสวนา การแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าอย่างยั่งยืน ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าปัญหาเกิดจากไฟป่า แต่มากไปกว่านั้น การปลูกพืชเชิงเดียวโดยเฉพาะไร่ข้าวโพด เป็นอีกสาเหตุสำคัญ หน่วยราชการต่างๆ นั่งคุยกันไม่ถึงครึ่งวัน เวทีก็จบลงอย่างดื้อๆ ทิ้งคำตอบไว้บนแผ่นกระดาษ กับคำถามว่า ไฟป่าและการเผาไร่จะแก้ไขอย่างไรถ้าการเผาไร่ข้าวโพดในป่า หรือไร่กลางแจ้งอื่นๆ เป็นสาเหตุของควัน มีพืชอะไรอีกบ้างที่จะปลูกทดแทน และให้ผลตอบแทนได้ไม่ต่างกัน โดยไม่ต้องเผา
คนที่จะให้คำตอบนี้ได้ดีที่สุด เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่อำเภอเชียงดาว พวกเขาเรียกตัวเองว่ากลุ่มม่วนใจ๋ ในช่วงภาวะหมอกควันวิกฤต พวกเขามีบทบาทสำคัญในการขอรับบริจาค หน้ากาก N95 เพื่อแจกจ่ายชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ดับไฟ
วันนี้เรามีนัดกับ พงศ์พัฒน์ โล่สุวรรณ และชลธิชา ชูจิตร 2 สามีภรรยาหนึ่งในสมาชิกกลุ่มม๋วนใจ ที่มีแนวคิดเปลี่ยนไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นแปลงกุหลาบอินทรีย์ แปรรูป
บนพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน พื้นที่จำนวนเพียง 2 งาน ถูกแบ่งเป็นแปลงกุหลาบ 135 ต้น 10,000 บาท ต่อเดือน คือผลตอบแทนที่พวกเขาได้รับ ในเช้าวันที่อากาศขมุกขมัว อย่างเช่นวันนี้ พงศ์พัฒน์ กำลังหักดอกกุหลาบทีละดอก เพื่อนำไปแปรรูปเป็นชาแปลงกุหลาบแปลงนี้ เป็น 1 ใน 3 แปลงทดลอง ของกลุ่มม่วนใจ๋ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ที่มีเครื่อข่ายเป็นชาวบ้าน 500 ครอบครัว ในอำเภอเชียงดาว พวกเขา ตั้งเป้าปีว่า 2563 จะพลิกเชียวดาวเป็นเมืองกุหลาบอินทรีย์
เม็ดเงินมหาศาลจากการแปรรูปกุหลาบ ตกดอกละ 1 บาท 50 สตางค์ แล้วไหนจะเงินจากการต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่จะมาชมความสวยงามของแปลงกุหลาบ อาจ มากพอที่จะสร้างฐานะใหม่ให้คนเชียงดาว
นี่อาจเป็นคำตอบของการแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือในระยะยาว และ มันเป็นคำตอบที่เราหาไม่ได้ จากการเสวนาในห้องสี่เหลี่ยม ที่รวมเอาหน่วยราชการมานั่งถกกัน อย่างเมื่อวันก่อน

logoline