svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ทิศทางทีวีดิจิทัลจะเป็นอย่างไร หลัง กสทช. เปิดโอกาสคืนใบอนุญาต?

19 เมษายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในเดือนมกราคม 2019 กสทช. มีมติเรียกคืนคลื่นความถี่ช่วง 700MHz ที่ปัจจุบันใช้ในกิจการทีวีดิจิทัลซึ่งถือเป็นกระบวนการสำคัญสู่การพัฒนา 5G ในกิจการโทรคมนาคม โดยเสนอให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลย้ายไปดำเนินการที่ช่วงคลื่น 470MHz หรือยุติการดำเนินการโดยการคืนใบอนุญาต

จากการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านกลยุทธ์ ความสามารถในการแข่งขัน และเสถียรภาพทางการเงินของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล อีไอซีประเมินว่า จะมีผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลประมาณ 4 รายที่มีแนวโน้มคืนใบอนุญาต ซึ่งจะไม่ส่งผลต่อภาพรวมอุตสาหกรรมและผู้บริโภคมากนัก เนื่องจากรายได้จากการโฆษณาของทั้ง 4 ช่อง คิดเป็นเพียง 2% ของรายได้โฆษณาทีวีดิจิทัลทั้งหมด ส่วนผู้บริโภคยังมีทางเลือกอื่นในการรับชมโทรทัศน์ทดแทนช่องที่ปิดตัว นอกจากนี้ ผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิทัลจะสูญเสียรายได้เพียงเล็กน้อย ขณะที่ กสทช. จะมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนช่วงคลื่นทั้งหมดราว 2-2.5 หมื่นล้านบาทอย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่อยู่ในอุตสาหกรรมยังคงเผชิญกับความท้าทายจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ นโยบาย กฎระเบียบและการควบคุมของ กสทช. รวมถึงแนวโน้มพฤติกรรมและความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ต้องปรับตัวให้ทันต่อสภาวะการแข่งขันในระยะข้างหน้า โดย Omni-Channel การขายลิขสิทธิ์รายการทีวี และ Home Shopping ถือเป็นเทรนด์ในการสร้างรายได้และเพิ่มขีดความสามารถการทำธุรกิจที่เริ่มเห็นแล้วในปัจจุบันอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลกำลังเผชิญกับแรงกดดันทางด้านรายได้และต้นทุนส่งผลให้อัตรากำไรจากการดำเนินงานของผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะลดลงต่อเนื่อง ในปัจจุบันอุตสาหกรรมโทรทัศน์มีการออกอากาศในระบบดิจิทัล จำนวนทั้งหมด 22 ช่อง โดยแบ่งเป็น 4 หมวด ได้แก่ 1.เด็กและครอบครัว 2.ข่าว 3.Standard Definition (SD) และ 4.High Definition (HD) โดยช่องทีวีดิจิทัลมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการโฆษณา อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดทีวีดิจิทัลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมายังอยู่ในสภาวะไม่ดีนักสะท้อนได้จากรายได้รวมมีการหดตัวลงจาก 1.24 แสนล้านบาท ในปี 2014 มาอยู่ที่ 1.19 แสนล้านบาท ในปี 2018 (-6

logoline