svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

(คลิปข่าว) ย้อนคดียุบกับ "9 อรหันต์" ศาล รธน.

07 มีนาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไปย้อนดูคดียุบพรรคการเมืองในประเทศไทย เริ่มครั้งแรก โดยมีจุดเริ่มต้นจากที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ร้องเรียนต่อ กกต. ว่า พรรคไทยรักไทย ได้จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อหนีเกณฑ์ 20 % นอกจากนี้ยังได้ปลอมแปลงเอกสารฐานข้อมูลสมาชิกพรรค ต่อมา กกต. มีความเห็นว่าเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 66 ของ พ.ร.ป. ว่าด้วยรรคการเมือง พ.ศ. 2541 และได้ส่งสำนวนต่ออัยการสูงสุดเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง

คดียุบพรรคไทยรักไทย 2550พรรคไทยรักไทย (ทรท.) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541 ลงสนามเลือกตั้งครั้งแรก พ.ศ. 2544 ได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่งได้เป็นแกนจัดตั้งรัฐบาลโดยมี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น) เป็นนายกรัฐมนตรี หลังครบวาระรัฐบาล 4 ปี ทรท. ได้ลงแข่งขันในการเลือกตั้ง 2548 และชนะถล่มทลาย ได้เป็นรัฐบาลพรรคเดียว ทักษิณ ได้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ก่อนจะถูกชุมนุมกดดันทางการเมืองและนำไปสู่การยุบสภาในเดือน ก.พ. 2549

พรรคฝ่ายค้านนำโดยประชาธิปัตย์เวลานั้น ประท้วงไม่ส่งผู้สมัครลงแข่งขันในการเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. 2549 ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญว่าการเลือกดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หนึ่งในประเด็นสำคัญคือเรื่องการจัดคูหาเลือกตั้งที่ทำให้ไม่เป็นการลงคะแนนโดยลับ และเตรียมจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่เกิดการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมี พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ ทำการรัฐประหาร ในวันที่ 19 ก.ย. 2549 เสียก่อน

คดียุบ ทรท. มีจุดเริ่มต้นจากที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ร้องเรียนต่อ กกต. ว่า ทรท. ได้จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อหนีเกณฑ์ 20 % นอกจากนี้ยังได้ปลอมแปลงเอกสารฐานข้อมูลสมาชิกพรรค ต่อมา กกต. มีความเห็นว่าเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 66 ของ พ.ร.ป. ว่าด้วยรรคการเมือง พ.ศ. 2541 และได้ส่งสำนวนต่ออัยการสูงสุดเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง

มาตรา 66 ระบุว่า เมื่อพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมืองกระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญกระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ในคำร้องระบุว่า พล.อ. ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รองเลขาธิการพรรคไทยรักไทย ร่วมกันให้เงินสนับสนุนแก่พรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ลงแข่งขันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยเพื่อหลีกเลี่ยงการที่จะต้องมีคะแนนเสียงถึง 20% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น และร่วมกันสนับสนุนให้มีการตัดต่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลการเป็นสมาชิกของพรรคพัฒนาชาติไทย ที่เป็นสมาชิกไม่ครบ 90 วัน ให้ครบ 90 วัน

กระทั่ง 30 พ.ค. 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 9 เสียง วินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย และ มีมติ 6 ต่อ 3 เสียง เพิกถอนสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 111 คน เป็นระยะเวลา 5 ปี

(คลิปข่าว) ย้อนคดียุบกับ "9 อรหันต์" ศาล รธน.


คดียุบพรรคพลังประชาชน 2551พรรคพลังประชาชน (พปช.) ก่อตั้งเมื่อ 9 พ.ย. 2541 มี พ.ต.ท. กานต์ เทียนแก้ว เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก จนกระทั่งหลังเหตุการณ์ยุบพรรคไทยรักไทย สมาชิกจำนวนหนึ่งได้ย้ายมายัง พปช. ในปี 2550 โดย มีนายสมัคร สุนทรเวช รับตำแหน่งหัวหน้าพรรค ต่อมาวันที่ 12 ก.ย. 2551 นายสมัครได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคพร้อมยุติบทบาททางการเมือง หลังถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการจัดรายการโทรทัศน์ทำให้ขัดคุณสมบัติเป็นนายกรัฐมนตรี โดย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป และ นพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นเลขาธิการพรรค

เมื่อ 26 ก.พ. 2551 กกต. มีมติด้วยเสียงข้างมาก 3 ใน 5 งดออกเสียง 1 เสียง ให้ใบแดงและส่งความเห็นไปยังศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง เพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้า พปช. ส.ส. แบบสัดส่วน และประธานรัฐสภา เนื่องจากพบว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งที่ จ. เชียงรายสุดท้ายคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในวันที่ 2 ธ.ค. 2551 ให้ยุบพรรค รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อกรรมการบริหารพรรค จำนวน 37 คน

logoline