svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

"พิช วิชญ์วิสิฐ" คว้ารางวัลชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง

22 กุมภาพันธ์ 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง จัดงานประกาศผลและมอบรางวัลละครเวทีและนาฏศิลป์ร่วมสมัยของประเทศไทย ครั้งที่ 7 ประจำปี 2561 (IATC Thailand Dance and Theatre Awards 2018) เมื่อวันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีการมอบรางวัลให้กับผลงานการแสดงซึ่งเปิดแสดงครั้งแรกระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2560 ถึงเดือนธันวาคม 2561 ที่มีความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 10 สาขา เพื่อส่งเสริมพัฒนาการละครเวทีและนาฏศิลป์ร่วมสมัยของไทย สร้างเสริมวัฒนธรรมการวิจารณ์ รวมถึงสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างศิลปิน ผู้ชม ผู้สนับสนุนศิลปะ สื่อมวลชน และนักวิจารณ์

บรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างอบอุ่นด้วยศิลปินในวงการศิลปะการแสดง ผู้ชม และสื่อมวลชน โดยก่อนเริ่มงานประกาศผลรางวัลตัวแทนสมาชิกชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง ได้แก่ ผศ.ปวิตร มหาสารินันทน์ ประธานชมรมฯ อมิธา อัมระนันทน์ รองประธานชมรมฯ และ คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง สมาชิกชมรมฯ ได้ร่วมพูดคุยถึงภาพรวมของละครเวทีและนาฏศิลป์ร่วมสมัยไทยในปี 2561 ว่าช่วงที่ผ่านมาได้มีสถานที่สำหรับการแสดงถูกปิดตัวลงไม่น้อย ขณะที่การแสดงหลายชุดได้ไปแสดงในสถานที่ที่ไม่ใช่โรงละคร เช่น หอศิลป์ และแกลอรี่ ซึ่งส่งผลให้ศิลปินปรับเปลี่ยนกระบวนการสร้างงานให้เข้ากับพื้นที่ จนทำให้ผลงานมีความเป็น Durationalperformance(การแสดงที่ต่อเนื่องยาวนาน)มากขึ้น


อีกปรากฏการณ์น่าสนใจของแวดวงศิลปะการแสดงในช่วงปีที่ผ่านมาคือการรวบรวมบทละครไทยร่วมสมัยในโปรเจกต์ Collective Thai Scripts กับหนังสือเล่มแรก Micro Politics ซึ่งได้นำบทละคร 4 เรื่องที่สะท้อนสภาพการเมือง มาตีพิมพ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ พร้อมบทสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เขียนบท  ช่วยให้ผู้ที่สนใจ นักเรียน และนักศึกษาด้านศิลปะการแสดง สามารถเรียนรู้กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานได้เป็นอย่างดี


นอกจากนี้ยังมีการสะท้อนถึงพื้นที่การวิจารณ์ศิลปะการแสดงที่น้อยลงสำหรับนักวิจารณ์มืออาชีพ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการลดจำนวนลงของสื่อในช่วงปีที่ผ่านมาและสื่อมวลชนส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสนใจด้านศิลปะการแสดงมากนักรวมถึงวัฒนธรรมการวิจารณ์ยังไม่แข็งแรงในไทย แต่ถือเป็นเรื่องดีที่มีผู้ชมจำนวนไม่น้อยเขียนถึงการแสดงที่ได้ชมและโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย


"พิช วิชญ์วิสิฐ" คว้ารางวัลชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง


การประกาศผลและมอบรางวัลละครเวทีและนาฏศิลป์ร่วมสมัยของประเทศไทยประจำปี 2561 ได้มีการมอบรางวัลผู้มีคุณูปการแก่ละครเวทีและนาฏศิลป์ร่วมสมัย (Lifetime Achievement Award) ประจำปี 2561 ให้กับ รศ.กฤษรา วริศราภูริชา อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบฉาก การสร้างฉาก การจัดแสงและประกอบงานด้านเทคนิคสำหรับการแสดง และเป็นที่ปรึกษาโครงงานต่างๆ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2521 เช่น โครงการสยามนิรมิต ซึ่งเป็นโรงละครที่มีขนาดใหญ่ระดับโลก นอกจากนั้นยังเขียนตำรา งานฉากละคร 1, 2 และ 3 การออกแบบฉาก และการจัดแสงสำหรับเวที


"พิช วิชญ์วิสิฐ" คว้ารางวัลชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง


สำหรับการแสดงที่ได้รับรางวัลละครเวทีและนาฏศิลป์ร่วมสมัยของประเทศไทยประจำปี 2561 ไปได้มากที่สุดจำนวน 3 รางวัล คือ Something Missing Vol. 3 ผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากความร่วมมือของ 2คณะฟิสิคัลเธียเตอร์ต่างสัญชาติอย่าง B-floor Theatre จากไทย และ Momggol Theatre จากเกาหลีใต้ เพื่อสะท้อนแนวความคิดของประสบการณ์ชีวิตที่มีบางสิ่งหายไป โดยสามารถคว้ารางวัลไปได้ในทุกสาขาที่เข้าชิง นั่นคือ สาขาการแสดงที่ใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายยอดเยี่ยม สาขาการแสดงยอดเยี่ยมโดยนักแสดงกลุ่ม และสาขาการออกแบบศิลป์ยอดเยี่ยม


รางวัลละครเวที(ละครพูด) ยอดเยี่ยม ตกเป็นของ ปรารถนา: ภาพเหมือนการเข้าสิง โดยคณะ chelfitsch จากญี่ปุ่น ซึ่งผู้กำกับ โทชิกิ โอกาดะ ได้สร้างสรรค์มาจากนวยายเรื่อง ร่างของปรารถนา ของอุทิศ เหมะมูล นักเขียนรางวัลซีไรต์ 


สำหรับรางวัลการแสดงยอดเยี่ยมโดยนักแสดงชาย ได้แก่ เจมส์เลเวอร์ (James Laver) จาก I Am My Own Wife ขณะที่สาขาการแสดงยอดเยี่ยมโดยนักแสดงหญิงตกเป็นของ อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์ จาก สวรรค์อาเขต


นพพันธ์บุญใหญ่ สามารถคว้าไปได้ 2 รางวัล โดยได้รางวัลในสาขาการกำกับการแสดงยอดเยี่ยมจากเรื่อง Siam Supernatural Tour และสาขาบทละครดั้งเดิมยอดเยี่ยมจาก แท็กซี่เรดิโอ(TAXIRADIO) 


ขณะที่รางวัลบทละครดัดแปลงยอดเยี่ยมตกเป็นของ{privateconversation}: A Farewell to Love of Siam โดยวิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบท มิวที่เคยแสดงในภาพยนตร์เรื่อง 'รักแห่งสยาม'


"พิช วิชญ์วิสิฐ" คว้ารางวัลชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง


สรุปผลรางวัล


IATCThailand Dance and Theatre Awards 2018


 IATCLifetime Achievement Award: รางวัลทรงเกียรติแด่ผู้ทรงคุณูปการต่อวงการศิลปะการแสดง

รศ.กฤษรา วริศราภูริชา


 BestPlay: ละครเวที (ละครพูด) ยอดเยี่ยม


ปรารถนา: ภาพเหมือนการเข้าสิง โดย chelfitsch


 BestMovement-based Performance: การแสดงที่ใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายยอดเยี่ยม


Something Missing Vol.3 โดย B-floorTheatre และ TheatreMomggol เกาหลีใต้


 BestOriginal Script of a Play or a Performance: บทละครดั้งเดิมยอดเยี่ยม


แท็กซี่เรดิโอ (TAXIRADIO)บทละครโดย นพพันธ์ บุญใหญ่


 BestAdapted Script of a Play or a Performance: บทละครดัดแปลงยอดเยี่ยม


{private conversation}: A Farewell to Love of Siam (จากบทภาพยนตร์เรื่อง 'รักแห่งสยาม'โดย ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล) โดย วิชญ์วิสิฐหิรัญวงษ์กุล


BestPerformance by a Male Artist: การแสดงยอดเยี่ยมโดยนักแสดงชาย


เจมส์ เลเวอร์ (JamesLaver) จาก IAm My Own Wife


BestPerformance by a Female Artist: การแสดงยอดเยี่ยมโดยนักแสดงหญิง


อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์ จาก สวรรค์อาเขต


BestPerformance by an Ensemble: การแสดงยอดเยี่ยมโดยนักแสดงกลุ่ม


คณะนักแสดงเรื่อง SomethingMissing Vol.3


BestDirection of a Play or a Performance: การกำกับการแสดงยอดเยี่ยม


นพพันธ์ บุญใหญ่ จาก SiamSupernatural Tour


 Best Art Direction of a Play or a Performance: การออกแบบศิลป์ยอดเยี่ยม


 คณะทำงานฝ่ายออกแบบจาก Something Missing Vol.3


"พิช วิชญ์วิสิฐ" คว้ารางวัลชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง


.


"พิช วิชญ์วิสิฐ" คว้ารางวัลชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง


.

"พิช วิชญ์วิสิฐ" คว้ารางวัลชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง


.


"พิช วิชญ์วิสิฐ" คว้ารางวัลชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง

logoline