svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ต้อนรับสมาชิกใหม่ ""น้องส่งบุญ" ลูกเลียงผาล่าสุด

11 กุมภาพันธ์ 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ระบุ เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้สมาชิกใหม่เพิ่ม 1 ตัว เป็นลูกเลียงผา เพศเมีย


11 ก.พ. 62 - นายตรศักดิ์ นิภานันท์ หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เปิดเผยว่า เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้สมาชิกใหม่เพิ่ม 1 ตัว เป็นลูกเลียงผา เพศเมีย โดยทางสถานีฯ ได้ตั้งชื่อว่า "น้องส่งบุญ" เพื่อรำลึกถึงคุณหมอบุญส่ง เลขะกุล ผู้ริเริ่มงานอนุรักษ์สัตว์ป่าของไทย ส่วนแม่ของบุญส่ง ชื่อ แม่แพรว มีอายุ 4 ปี ซึ่งกว่าเเม่เเพรว แม่พันธุ์ตัวนี้จะยอมท้อง ต้องรอจนอายุ 3 ปี เลยทีเดียว


สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ต้อนรับสมาชิกใหม่ ""น้องส่งบุญ" ลูกเลียงผาล่าสุด

เลียงผามีลักษณะคล้ายกับกวางผา ซึ่งเดิมก็เคยถูกจัดให้อยู่สกุลเดียวกันมา (ซึ่งบางข้อมูลยังจัดให้อยู่สกุลเดียวกัน[2]) แต่เลียงผามีขนาดใหญ่กว่า มีลักษณะคล้ายแพะแต่มีรูปหน้ายาวกว่า มีลำตัวสั้นแต่ขายาว ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขางอกยาวต่อเนื่องทุกปี ลักษณะของกะโหลกเมื่อเปรียบเทียบกับกวางผาที่มีกะโหลกโค้งเว้าแล้ว เลียงผามีกะโหลกแบน ขนตามลำตัวจะแปรเปลี่ยนไปตามอายุ, สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และชนิดพันธุ์ มีขนหยาบและไม่เป็น 2 ชั้นเหมือนกวางผา ใต้ตามีต่อมน้ำมันใช้สำหรับถูตามต้นไม้หรือโขดหินเพื่อประกาศอาณาเขต พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินโดนีเซีย จนถึงเอเชียตะวันออก เช่น จีน, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น โดยมักอยู่ตามหน้าผาหรือภูเขาสูง หรือตามเกาะต่าง ๆ กลางทะเล[3] มีความสามารถในการปีนป่ายที่สูงชันได้อย่างคล่องแคล่ว โดยสามารถทำความเร็วในการขึ้นที่สูงได้ถึง 1,000 เมตร ด้วยเวลาเพียง 15 นาที

เลียงผา ถือเป็นสัตว์ที่มีความเก่าแก่ที่สุดในวงศ์ย่อยนี้ โดยปรากฏมาตั้งแต่ยุคไพลโอซีนราว 2-7 ล้านปีมาแล้ว 


สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ต้อนรับสมาชิกใหม่ ""น้องส่งบุญ" ลูกเลียงผาล่าสุด

logoline